แกะรอยตามหา "ช้างป่าน้อย" ชาวบ้านเห็นสภาพผอมซูบ คาดหลงโขลง

แกะรอยตามหา "ช้างป่าน้อย" ชาวบ้านเห็นสภาพผอมซูบ คาดหลงโขลง

แกะรอยตามหา "ช้างป่าน้อย" ชาวบ้านเห็นสภาพผอมซูบ คาดหลงโขลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชาวบ้านเวทนา ชางป่าตัวน้อยหลงโขลง ร่างกายซูบผอม อดน้ำนมแม่มาหลายสัปดาห์ เจ้าหน้าที่เร่งแกะรอยตามหา หวังนำมาอนุบาลช่วยเหลือ แต่ยังไร้วี่แววหายเข้าไปในป่า

ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยว่า ที่บ้านหนองปรือกันยาง พื้นที่ ม.5 ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา มีชาวบ้านพบเห็นลูกช้างป่า อายุประมาณ 4 เดือน พลัดหลงจากโขลง เดินเร่ร่อนอยู่เพียงลำพังตัวเดียว สภาพอิดโรยผอมโซ จึงเชื่อว่าน่าจะอดนมแม่มานานหลายสัปดาห์แล้ว นายปัญญา วาจาดี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ต.ท่าตะเกียบ จะรายงานแจ้งให้แก่ นายฉันท์ แป้นเพ็ชร นายอำเภอท่าตะเกียบ ได้ทราบ

จากนั้นนายอำเภอท่าตะเกียบ จึงได้สั่งการให้ นายสุริยกมล ไวยหงส์ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง นำกำลังเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบ พบลูกช้างป่าเดินอยู่ในสวนยางพารา และสวนปาล์มของชาวบ้าน โดยคาดว่าลูกช้างป่าตัวดังกล่าวน่าจะพลัดหลงจากโขลงมานานไม่ต่ำกว่า 3 สัปดาห์

จากการสอบถาม นายวชิร วงศ์ษา พนักงานพิทักษ์ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน หัวหน้าจุดสกัดเขาวงศ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า พบลูกช้างป่าหลงโขลงอยู่ที่บริเวณสวนยางและป่ายูคาฯ บ้านหนองปลาซิว ม.8 ต.ท่าตะเกียบ จึงได้นำกำลังออกติดตามไปดู

จนกระทั่งพบว่ามีลูกช้างป่าหลงโขลงเดินอยู่เพียงลำพังตัวเดียวจริงในป่าสวนยางของชาวบ้าน สภาพยังแข็งแรงดี ไม่ซูบผอมหรือป่วยตามที่ได้รับแจ้งจากชาวบ้าน โดยยังเดินหากินอยู่ตามปกติ ลักษณะไม่ดุร้าย เพียงแต่หากเราเดินเข้าใกล้ เขาก็จะวิ่งเข้าหา หรือวิ่งหนีตามสัญชาตญาณของสัตว์ป่า จึงได้ทำการเฝ้าคอยดูแลติดตาม

แต่ต่อมาคลาดสายตาหายไปเมื่อช่วง 2 วันที่ผ่านมา หลังจากพบร่องรอยเท้าของโขลงช้างป่าขนาดใหญ่จำนวนไม่ต่ำกว่า 10 ตัวเดินผ่านเข้ามาในพื้นที่บริเวณบ้านหนองปรือกันยาง พื้นที่ ม.5 ต.ท่าตะเกียบ จึงอาจเป็นไปได้ว่าลูกช้างได้พบกับแม่ช้างป่า และเดินเข้าไปรวมกับโขลงแล้ว

ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่จะยังคงติดตามหาตัวลูกช้าง เพื่อดูว่าได้เข้าไปอยู่ในโขลงหรือพบกับแม่ช้างแล้วจริงหรือไม่ หรือว่ายังคงพลัดหลงอยู่แต่เพียงลำพังตัวเดียว ซึ่งหากลูกช้างเข้าไปในโขลงได้แล้วจะได้รู้ว่าเขาเข้าไปอยู่ในโขลงไหน หรือหากยังพลัดหลงอยู่จะได้หาทางเตรียมนำไปอนุบาลเพื่อรอให้แม่ช้างมารับตัวกลับเข้าโขลงต่อไป

โดยเจ้าหน้าที่จะเดินเท้าตามหา ตามทางเดินของโขลงช้างป่าที่เคยเดินผ่านอยู่เป็นประจำระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ซึ่งลูกช้างตัวดังกล่าวนี้ มีอายุประมาณ 7-8 เดือนแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook