"ใส่ชุดไปรเวทไปเรียน" นโยบายสร้างความสุขสถานศึกษา ที่ต้องฟันฝ่าแรงต้านสังคม

"ใส่ชุดไปรเวทไปเรียน" นโยบายสร้างความสุขสถานศึกษา ที่ต้องฟันฝ่าแรงต้านสังคม

"ใส่ชุดไปรเวทไปเรียน" นโยบายสร้างความสุขสถานศึกษา ที่ต้องฟันฝ่าแรงต้านสังคม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข้อถกเถียงเรื่องความเหมาะสมระหว่างชุดไปรเวทกับชุดนักเรียนเป็นประเด็นคลาสสิกของสังคมไทย ที่มักจะถูกยกขึ้นมาพูดถึงอยู่เรื่อยๆ ทุกครั้งเวลาที่เกิดกระแสสังคมใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเสื้อผ้าหน้าผมของวัยรุ่นวันเรียน

ล่าสุดที่กลายเป็นข้อถกเถียงเป็นวงกว้าง เมื่อโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยออกนโยบายใหม่ โดยอนุญาตให้นักเรียนสามารถแต่งกายชุดไปรเวทมาเรียนได้ทุกวันอังคาร ซึ่งเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่เพิ่งผ่านไป เนื่องจากทางบุคลากรของโรงเรียนเชื่อว่า อ้างอิงจากงานวิจัยที่ทำในต่างประเทศ การผ่อนคลายกฎระเบียบเรื่องการแต่งตัวจะช่วยให้นักเรียนลดแรงกดดันและกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น

ผ่านไปยังไม่ทันข้ามวันดี โลกโซเชียลก็แตกออกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน สารพัดความเห็นทั้งที่สนับสนุนและต่อต้านกระจัดกระจายตามหน้าเพจสื่อออนไลน์ หากมองอย่างเป็นกลางที่สุด แน่นอนว่าทางเลือกทั้งสองทาง ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ใส่ชุดไปรเวทมาเรียน ย่อมจะส่งผลต่อการศึกษาของเด็กๆ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

ความเห็นที่ต่อต้านเรื่องชุดไปรเวทความเห็นที่ต่อต้านเรื่องชุดไปรเวท

วอนสังคมหายห่วงฟุ้งเฟ้อ เพราะใส่ชุดที่มีอยู่แล้ว 

อย่างไรก็ตาม นักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนกลับมองว่า ดีใจที่ได้รับสิทธิ์นี้ หลายคนบอกว่า การใส่ชุดไปรเวทไม่ได้ทำให้ฟุ้งเฟ้อ เพราะใส่ชุดที่มีอยู่แล้วแม้มีราคาสูงก็ตาม

ด.ช.นิโคลัส อาเลคเซเยพว บุญหนุน ที่บอกว่า วันนี้ได้ใส่เสื้อผ้าชุดไปรเวทก็ตื่นเต้น และรู้สึกดีที่ผู้ใหญ่ได้ให้เสรีทางความคิดผ่านการเลือกเครื่องแต่งกาย โดยเสื้อผ้าที่ตนใส่ ไม่จำเป็นต้องเป็นแบรนด์หรูอะไร ส่วนเรื่องการโอ้อวดกันในกลุ่มเพื่อนก็มองว่าช่วงนี้เป็นช่วงแรกก็เป็นธรรมดา ที่แต่ละคนจะเลือกเสื้อผ้าที่โดดเด่นมาใส่ แต่ต่อไปทุกคนก็คงจะชินไปเอง

ส่วน นายพศิน ปิยะทัต นักเรียนชั้น ม.5/13 บอกว่า เรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นผลกระทบอะไรกับตนเองอยู่แล้ว เพราะเสื้อผ้าที่ใส่ก็เป็นเสื้อผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เวลาอยู่บ้าน หรือไปเที่ยว ไม่ได้รู้สึกว่าจะต้องซีเรียสกับการแต่งตัวอะไรมาก ขอแค่ใส่แล้วสบาย ทำกิจกรรมกับโรงเรียนได้ก็พอ

ความเห็นที่สนับสนุนในเรื่องชุดไปรเวทความเห็นที่สนับสนุนในเรื่องชุดไปรเวท

ผอ.ลั่น "ชุดไปรเวท" ก้าวแรกสู่โรงเรียนแห่งความสุข

นายศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เปิดเผยถึงกรณีที่มีนโยบายให้นักเรียนใส่ชุดไปรเวทมาเรียน ทุกวันอังคารว่า กรณีดังกล่าวเป็นการทดลองเพื่อศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายนักเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข และมีการวางแผนแนวคิดนี้มานานกว่า 10 ปีแล้ว

ผอ.โรงเรียนเอกชนชื่อดังรายนี้ กล่าวต่อไปว่า กิจกรรมนี้จะเป็นการจำลองสังคมให้เด็กได้มีการเรียนรู้ และแสดงความเป็นตัวตน รวมทั้งการยอมรับจากสังคมผ่านการแต่งเครื่องแต่งกายต่างๆ โดยมีครูคอยให้คำแนะนำที่ถูกต้องอยู่เสมอ

>> แฮปปี้! “กรุงเทพคริสเตียน” ทดลองใส่ "ชุดไปรเวท" วันแรก นักเรียนบอกใส่ชุดที่มีอยู่แล้ว

>> นร.กรุงเทพคริสเตียน ดีใจใส่ชุดไปรเวทไปเรียน ย้ำแต่งตามกาลเทศะ รองเท้าแค่คู่ละหมื่น

>> เปิดมุมมอง "น้องนนท์ เด็กกรุงเทพคริสเตียน" กับชุดไปรเวทส่งผลต่อการเรียนหรือไม่

ไม่ใช่แค่ในไทยเท่านั้นที่ประเด็นเรื่องเสื้อผ้าหน้าผมของเด็กนักเรียนถูกยกขึ้นมาถกเถียงกันในวงกว้าง แม้แต่ในสังคมเสรีที่สังคมไทยมองว่าให้อิสระกับเด็กนักเรียนมากกว่า ก็ยังมีการพูดถึงเรื่องนี้เช่นกัน

ย้อนรอยงานวิจัยบอกข้อดี-ข้อเสียชุดนักเรียน

  • "School Discipline, School Uniforms and Academic Performance (วินัยโรงเรียน เครื่องแบบโรงเรียน และสมรรถภาพด้านการศึกษา)" โดย Chris  Baumann และ Hana Krskova

งานวิจัยชิ้นนี้ทำการศึกษาคะแนนผลการทดสอบและความประพฤติของนักเรียนในอเมริกา แคนาดา และอีก 37 ประเทศเพื่อสำรวจว่าชุดยูนิฟอร์มส่งผลต่อความประพฤติของเด็กนักเรียนหรือไม่ จากผลการวิจัยพบว่า ประเทศที่ให้นักเรียนใส่ชุดยูนิฟอร์ม เด็กนักเรียนจะตั้งใจฟังครูมากกว่า ทำเสียงดังในห้องน้อยกว่า อีกทั้งครูยังไม่ต้องรอให้นักเรียนพร้อม ทำให้สามารถเริ่มคลาสได้ตามเวลา

  • "Uniforms in the Middle School: Student Opinions, Discipline Data, and School Police Data (เครื่องแบบในโรงเรียนมัธยมต้น: ความเห็นของนักเรียน ข้อมูลวินัย และข้อมูลสารวัตรนักเรียน)" โดย Jafeth E Sanchez, Andrew Yoxsimer และ George C Hill

ผู้วิจัยทำการสำรวจโรงเรียนในรัฐเนวาดาของอเมริกา เมื่อถามความเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับประเด็นเรื่องชุดยูนิฟอร์มพบว่า แม้นักเรียนส่วนใหญ่จะไม่ชอบการใส่ชุดยูนิฟอร์ม อย่างไรก็ตาม หลายคนก็ยังมองว่าข้อบังคับนี้ก็ยังมีข้อดีอยู่ เช่น นักเรียนหญิงบางส่วนมองว่าการสวมใส่ชุดนักเรียนทำให้เพื่อนปฏิบัติต่อพวกเธอดีขึ้น

นอกจากนี้ จากการที่ Sanook! News ได้พูดคุยกับนายศุภณัฐ อเนกนําวงศ์ ตัวแทนนักเรียนจากกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท เขามองว่า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ยังมีข้อขัดแย้งอยู่มาก เหตุเพราะว่ามีปัจจัยอย่างอื่นอีกที่ไม่ได้ถูกนำมาพิจารณา

"ผมมองว่ามันมีปัจจัยเยอะมากในความรู้สึกผม การที่ผลงานวิจัยมันออกมาเป็นแบบนั้นก็เพราะชุดยูนิฟอร์มมันเหมือนช่วยกล่อมเกลาเด็กให้ยอมไปกับระบบด้วยในแง่หนึ่ง คือทำให้เขาสามารถปรับตัวให้ชินกับการอยู่ใต้ความคิดแบบอำนาจนิยมได้ง่ายขึ้น มีพฤติกรรมที่ดีขึ้นตามเกณฑ์วัดที่โรงเรียนใช้ ซึ่งมันก็เป็นมุมมองของโรงเรียนเท่านั้น"

เสื้อผ้าไม่ได้ทำให้เหลื่อมล้ำ แต่เป็นสังคมต่างหาก

ไม่ใช่แค่ในสังคมไทยเท่านั้นที่มองว่าชุดนักเรียนช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโรงเรียนได้ เพราะแม้แต่ในสังคมตะวันตกก็ยังมีงานวิจัยที่พูดถึงประเด็นนี้เช่นกัน ในฐานะที่ทำงานด้านการขับเคลื่อนสังคม นายศุภณัฐคิดว่า ความเหลื่อมล้ำแท้จริงนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากความแตกต่างหลากหลายของเสื้อผ้า ทว่ามันคือสิ่งที่คงอยู่ในสังคมนั้นๆ อยู่แล้ว ซึ่งการแต่งกายไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบไหน ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้อยู่ดี

"เอาจริงๆ ผมมองว่าชุดนักเรียนกับชุดไปรเวทมันไม่ต่างกันในแง่นี้ เพราะมันมีตัวแสดงความเหลื่อมล้ำได้หลายอย่าง คือคุณจะใส่อะไรก็มีค่าเท่ากัน ถ้าในสังคมนั้นมันเป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำแพร่หลายเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว อย่างโรงเรียนผมที่เป็นโรงเรียนรัฐ มันดูออกง่ายมากนะว่าใครรวย ใครจน แค่ดูจากกระเป๋าที่ใช้ สุดท้ายผมมองว่าการบังคับให้ใส่ชุดนักเรียนมันเป็นการเพิ่มภาระเรื่องค่าใช้จ่ายที่ยิบย่อยเกินไปในบางที"

นักวิชาการมองใส่ชุดไปรเวทเป็นเหรียญสองด้าน

ขณะที่ ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน นักวิชาการด้านการศึกษา เด็ก และเยาวชน โพสต์เฟซบุ๊กถึงกระแสที่เกิดขึ้นหลังจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนฯ อนุญาตให้นักเรียนใส่ชุดไปรเวททุกวันอังคารว่า เปรียบเหมือนเหรียญสองด้าน ซึ่งอันที่จริงประเด็นเรื่อง­การอนุญาตให้นักเรียนใ­ส่ชุดไปรเวทไปโรงเรียน­ได้ 1­ วัน ใน ­1­ สัปดาห์ ก็มีอยู่ไม่น้อย มีบางโรงเรียนก็ทำ­อยู่ ไม่ได้มีปัญหาใด­ๆ เพียงแต่ไม่ได้เป็นข่าวคราวฮือฮาเหมือนกรณีเช่นนี้ และไม่ได้มีสื่อมาจับจ้อง

นอกจากนั้น ประเด็นเรื่องเครื่องแบบนักเรียน­ก็มีการถกเถียงกันเป็น­ระลอกในสังคม ที่มีทั้­งต้องการให้ยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน และคนที่ไม่เห็นด้วย

กล่าวโดยสรุป ดร.สรวงมณฑ์ มองว่ามีอยู่ ­3 ­ประการที่มองเห็น­ได้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือ

1) นี่เป็นเพียงเปลือก มากกว่าเ­น้นที่แนวคิดทางการศึก­ษาของเด็กนักเรียน

2) แนวคิดนี้จำเป็นต้องปร­ะกาศจนกลายเป็น “สปอตไ­ลท์” หรือไม่ จนอาจเป็นกระแสทำให้เกิดการผิดเพี้ยนเ­บี่ยงเบน และ

3) การแต่งตัวที่อาจทำให้เด็กแต่งตัวแ­บบเกินความจำเป็น หรือใช้ของแบรนด์เนม ซึ่งอาจกลายเป็นความเหลื่อมล้ำที่ไม่­อาจมองข้าม

กฎกระทรวงเปิดช่องโรงเรียนกำหนดชุดแต่งกายเอง

อย่างไรก็ตาม ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนปี 2551 ในข้อที่ 15 ระบุว่า ทางโรงเรียนมีสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้นักเรียนสามารถแต่งกายอย่างไรก็ได้ตามที่ทางโรงเรียน "กำหนด" ในวันใดๆ ก็ตามของแต่ละสัปดาห์โดยไม่ต้องขออนุญาตกระทรวงก่อนฯ ด้วยเหตุนี้ ทำให้มีโรงเรียนหลายแห่งผ่อนปรนให้นักเรียนสามารถใส่ชุดไปรเวทมาเรียนได้สักพักแล้ว เพียงแต่เรื่องดังกล่าวเพิ่งจะถูกยกมาพูดถึงในวงกว้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนฯ เท่านั้นเอง

"ผมเข้าใจว่าที่จริงแล้ว โรงเรียนทุกโรงเรียนมีอำนาจตัดสินใจในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะรัฐหรือเอกชน ตามระเบียบของกระทรวงฯ คือสามารถใส่ชุดลำลองได้ แต่ต้องเป็นตามที่โรงเรียนกำหนด แต่แน่นอน เอกชนเขามีสิทธิขาดในเรื่องนี้ แต่ถ้าเป็นโรงเรียนรัฐ อำนาจการตัดสินใจจะอยู่ที่ผู้อำนวยการ แต่เพราะต้องขึ้นตรงกับกระทรวงศึกษาฯ มันก็เลยไม่ได้มีอิสระมากขนาดนั้น"  นายศุภณัฐ กล่าว

>> อเดีย "แต่งชุดไปรเวท" ไปเรียนหนังสือ จะแต่งทั้งทีต้องแต่งให้ดูดีและน่ามอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook