นาซาเผยเสียง "ลมดาวอังคาร" ให้ชาวโลกฟังเป็นครั้งแรก หลังยานอินไซต์ลงจอด

นาซาเผยเสียง "ลมดาวอังคาร" ให้ชาวโลกฟังเป็นครั้งแรก หลังยานอินไซต์ลงจอด

นาซาเผยเสียง "ลมดาวอังคาร" ให้ชาวโลกฟังเป็นครั้งแรก หลังยานอินไซต์ลงจอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (นาซา) นำเสียงลมเสียงแรกๆ ที่บันทึกได้บนดาวอังคาร มาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้ฟัง ซึ่งคลิปเสียงเหล่านี้บันทึกได้จากยานสำรวจชื่อ InSight (อินไซต์) ที่ลงจอดบนดาวเคราะห์ดวงนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

>> ปฏิบัติการสะท้านจักรวาล ยาน InSight ใกล้ลงจอดบนดาวอังคาร

>>  นาซาเฮ! ยานสำรวจไร้คนขับ “InSight” ลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จ

บันทึกเสียงจากอุปกรณ์วัดแรงสั่นสะเทือน

ความน่าสนใจก็คือ เสียงเหล่านี้ไม่ได้ใช้ไมโครโฟนบันทึก แต่นาซาได้ติดตั้งเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สามารถวัดแรงสั่นสะเทือนของสิ่งต่างๆ บนดาวอังคาร อย่างเช่น แรงลม และคลื่นเสียงต่างๆ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับอวัยวะรับเสียงในหูของมนุษย์อย่างพวกเรา

(เสียงจากเครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือนบนยานอินไซต์)

ไม่ใช่แค่นั้น เซนเซอร์วัดความกดอากาศที่ติดตั้งอยู่ในยานอินไซต์ยังตรวจจับแรงสั่นสะเทือนได้ แต่ไม่ได้ไวต่อคลื่นความถี่สูงเหมือนอุปกรณ์แบบแรก จึงตรวจจับได้เป็นเสียงที่มีคลื่นความถี่ต่ำ ที่มีแต่ช้างและวาฬเท่านั้นที่ได้ยิน แต่นาซาได้เร่งความเร็ว 100 เท่า จนระดับเสียงเพิ่มขึ้น 6 อ็อกเทฟ

(เสียงจากเซนเซอร์วัดความกดอากาศบนยานอินไซต์)

การบันทึกเสียงเคยล้มเหลวมาก่อน

ก่อนหน้านี้ นาซาเคยบันทึกเสียงลมบนดาวอังคารได้แล้วจากยานไวกิ้งจำนวน 2 ลำ ที่ส่งไปยังดาวอังคารเมื่อปี 2519 แต่คลื่นเสียงที่จับได้ เป็นเสียงการเคลื่อนที่ของยานเกือบทั้งหมด

ความพยายามยังไม่จบลงเท่านั้น เมื่อนาซาติดตั้งไมโครโฟนกับไปยานมาร์ส โพลาร์ แลนเดอร์ และยานฟีนิกซ์ มาร์ส เมื่อปี 2542 แต่ชิ้นที่ติดกับยานแรกกระแทกพื้นเสียหายตอนลงจอด ส่วนที่ติดกับยานที่ 2 ต้องปิดเอาไว้ เพราะกลัวว่าจะเกิดปัญหากับยานระหว่างลงจอด

เตรียมติดไมโครโฟนยานลำใหม่

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จจากการนำยานอินไซต์ลงจอด และการที่บันทึกเสียงลมบนดาวอังคารได้ในครั้งนี้ ทำให้นาซามีแผนการติดตั้งไมโครโฟนไปกับยานสำรวจดาวอังคารลำใหม่ ที่มีกำหนดปล่อยในปี 2563 หรือ 2 ปีข้างหน้า 

>> NASA ตั้งเป้าให้มนุษย์อยู่บนดาวอังคารได้ภายใน 25 ปีข้างหน้า

>> ไขปริศนา! ทำไมต้องมี “ถั่วลิสง” ในห้องปฏิบัติการนาซาช่วงภารกิจสำคัญ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook