กลยุทธ์ "พรรคไทยรักษาชาติ" คือ แพ้ก่อนชนะ?

กลยุทธ์ "พรรคไทยรักษาชาติ" คือ แพ้ก่อนชนะ?

กลยุทธ์ "พรรคไทยรักษาชาติ" คือ แพ้ก่อนชนะ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

น่าสนใจในความเคลื่อนไหวของเหล่าบรรดาพรรคการเมือง-นักการเมืองในระยะนี้ ที่มีทั้งแบบตูมตาม และแบบเงียบนิ่งสองมือล้วงกระเป๋าแต่สองเท้ากลับไม่ก้าวออกมาชัดเจน โดยเฉพาะพวก “ดาวฤกษ์” ทั้งหลาย แม้ในจังหวะเมื่อเส้นตายต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 90 วัน หากมีการเลือกตั้ง 24 ก.พ. 2562 นั่นคือต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่จะลงเลือกตั้งไม่เกิน 26 พ.ย.ที่จะถึงนี้ ซึ่งแม้หลายคนยังไม่แน่ใจว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นตามโรดแมปหรือไม่ จากการออกมาสลับกันเล่นเอาเถิดสไตล์ “ลับลวงพราง” ของ “ลุงตู่” และ “ลุงป้อม” ที่แม้ “ใกล้วัน” ตามโรดแมป ก็ยังนำเสนอ “นัย” ของความ “ไม่แน่นอน” ผ่านโหมด “ความมั่นคง” อันสัมพันธ์กับภาพหลอนเก่าจากการเดินคารวะแผ่นดินเพื่อ “ล่อเป้า” ของ “ลุงกำนัน”

แต่สำหรับ “ฝ่ายการเมือง” เพื่อความไม่ประมาทที่จะ “ตกม้าตาย” เพราะ “ขาดคุณสมบัติ” เรื่องการสังกัดพรรค ทำให้เกิดภาพ นักการเมือง-นักเลือกตั้ง-พรรคการเมือง รีบหาทีมสังกัดกันให้ทันกำหนด ดังเช่นปรากฏการณ์เคลื่อนไหวของพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ที่ถูกมองตั้งแต่ยังไม่ปรากฏโฉมหน้าบรรดาลูกหลานที่ใกล้ชิดในคณะผู้บริหาร 11 คน ว่าคือพรรคนอมินี-พรรคเครือข่ายของทักษิณ ชินวัตร และของพรรคเพื่อไทย

จากรูปโฉมข้างต้น น่าสนใจว่าการก่อตัวของ “ไทยรักษาชาติ” ที่ถูกวางให้เป็น พรรคเครือข่าย-พันธมิตร ของ "เพื่อไทย" ในสนามศึกเลือกตั้ง เป้าหมายคือ เก็บแต้มปาร์ตี้ลิสต์ โดยมีคนของเพื่อไทย ทั้งระดับแกนนำ-อดีต ส.ส.เพื่อไทย ย้ายออกไปอยู่ด้วยจำนวนหนึ่ง รวมถึงนักการเมืองรุ่นใหม่-ผู้ขอลงสมัคร ส.ส.เพื่อไทยที่หน่วยก้านพอไปได้ แต่มีปัญหาเรื่องพื้นที่เขตเต็ม ลงไม่ได้ จึงถูกส่งไปอยู่ ทษช. ไม่นับรวมคนเพื่อไทยที่ไม่อยากร่วมเดินไปกับ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่ถูกวางตัวเป็นแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย

>> “ไทยรักษาชาติ” เปิดตัว “ปรีชาพล” นั่งหัวหน้าพรรคตามโผ

น่าสนใจว่าคนพรรค “ทษช.” ที่ล้อกันว่าหมายถึง “ทักษิณ ชินวัตร” ดูหน้าตาตัวละครแล้วมีความเป็น “คนวงใน” ใกล้ชิดคนตระกูลชินวัตร โดยเฉพาะบรรดาเด็กๆ คนรุ่นใหม่ที่เป็นทั้งลูกหลาน และเพื่อนๆ ของลูกหลาน ยิ่งเปิดหน้าตา “ผู้ใหญ่” ที่เป็นนักการเมืองอย่าง วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีต รมว.ศึกษาธิการ อดีต ส.ส.แพร่หลายสมัย สายของเจ๊แดง-เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่เข้าร่วมวางนโยบายพรรคในการหาเสียง

>> "เพื่อไทย" แตกทัพเข้า "ไทยรักษาชาติ" ดัน "ลูกเจ๊เบียบ-วรวัจน์" หัวหอก

น่าสนใจว่า ก่อนหน้านี้มีข่าว พรรคเพื่อไทยวางยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง “แยกกันเดิน ร่วมกันตี ใช้แนวร่วม” ทั้งพรรคหลัก พรรคร่วม พรรคมวลชน ผนวกเข้าด้วยกันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. พรรคเพื่อไทย เป็นพรรคหลัก ยังเป็นที่ชุมนุม “ผู้สมัครเกรดเอ” ประกอบด้วยผู้เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองสำคัญๆ ยังจะคงอยู่ในพรรคนี้ต่อไป หวังดึงเอา ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว

2. พรรคเพื่อธรรม ที่มีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นหัวหน้าพรรค จะเป็นพรรครองรับผู้สมัครที่พลาดหวังจากการที่ไม่ได้ลงสมัครในพรรคเพื่อไทยที่พื้นที่เต็ม ซึ่งเป็นเหมือนบ้านหลังที่สอง รองรับ “ผู้สมัครเกรดบี” เน้นนำคะแนนที่ได้มาคำนวณเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยหนึ่งในสามชื่อที่จะเสนอชื่อเป็นนายกฯ อาจได้เห็นชื่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

3. พรรคเพื่อชาติ ซึ่งมีแกนนำเป็นนายทุนคนสำคัญของกลุ่มคนเสื้อแดง อาทิ นายยงยุทธ ติยะไพรัช นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ จะเป็นพรรคสำหรับทางเลือกของแกนนำคนเสื้อแดง แนวร่วมผู้เคยร่วมงานกับคนเสื้อแดง มาสังกัดลงสมัครรับเลือกตั้ง

น่าสนใจว่า โดย “องค์รวม” ของทัพหลัก ทัพหลวง ทัพหนุน ทัพมวลชน ของ “พรรคเพื่อ” ทางหนึ่งถูกมองว่าเป็นการ “แยกกันชนะ รวมกันแพ้” ที่หาใช่หวังผลระยะใกล้

โดยทางหนึ่งถูกมองว่าเป็นการ “เพลย์เซฟ” หลังเข้าสู่ “โซนนิ่ง” 90 วัน สังกัดพรรค 26 พ.ย. 61 ที่วิเคราะห์กันว่า หากจัดกำลังแบบทำท่าจะ “มาวิน” ตามโพล อาจถูกเตะสกัดตัดขา โดน “ยุบพรรค” จากกรณี “ทักษิณ ครอบงำพรรค” ที่ยังตามหลอกหลอน

ทางหนึ่งเป็นการเดินยุทธศาสตร์ “แพ้ก่อน เพื่อชนะ“ ของ “ทักษิณ” ที่มีคติประจำตัวคือ “ตายเสียดีกว่าที่จะอยู่อย่างผู้แพ้”

>> อึ้ง! หนีตายยุบพรรคเพื่อไทย ผุดไอเดียตั้ง "พรรคไทยรักษาชาติ" ตัวย่อ "ทษช."

ขณะอีก “ทางหนึ่ง” ถูกมองว่า เป็นแผนระยะยาว “ล่อเสือออกจากถ้ำ” ให้ “นายกฯ ลุงตู่” ทิ้งดาบถอดหมวก ก้าวขาอีกข้างจาก “กรรมการ” ลงมาเป็น “ผู้เล่นร่วม” ในสนามเลือกตั้งอย่างเต็มตัว จนสามารถ “ตีตั๋วต่อ” แต่จะไป “ป๊อก” ที่กลางทาง หลังตั้งรัฐบาลที่ “พรรคพลังประชารัฐ” ต้นสังกัดเป็นแกนนำ กลายเป็นเสียงส่วนน้อยในพรรคร่วมรัฐบาลที่มีพรรคใหญ่อย่าง “ประชาธิปัตย์” ค้ำบัลลังก์ให้ในระยะสั้นๆ และจะเกิดปัญหาในการบริหารจัดการ รวมถึงการถูกรุมทึ้งถล่มในสภาผู้แทนราษฎรจน “ถอดใจ” หรือกลายเป็นเกิดปัญหาท่าที “ภายใน” จนขาดเสถียรภาพในที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook