2 นักวิทย์มะกัน-ญี่ปุ่น คว้า "โนเบล" สาขาแพทย์ หลังเจอวิธีสู้มะเร็งแบบใหม่

2 นักวิทย์มะกัน-ญี่ปุ่น คว้า "โนเบล" สาขาแพทย์ หลังเจอวิธีสู้มะเร็งแบบใหม่

2 นักวิทย์มะกัน-ญี่ปุ่น คว้า "โนเบล" สาขาแพทย์ หลังเจอวิธีสู้มะเร็งแบบใหม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายเจมส์ อัลลิสัน นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ในสหรัฐ และนายทะสึกุ ฮนโจ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ในญี่ปุ่น คว้ารางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปีนี้ มูลค่า 9 ล้านโครนสวีเดน (35.6 ล้านบาท) ไปครองสำเร็จ เนื่องจากทั้ง 2 คน ได้ค้นพบวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบใหม่ ที่อาจปฏิวัติวงการการแพทย์เลยก็ได้

วิธีการรักษาใหม่ที่ว่านี้ นายอัลลิสัน ได้ศึกษาโปรตีนตัวหนึ่งชื่อ ซีทีแอลเอ-4 ที่เป็นเหมือนเบรกไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ทีเซลล์ ไปทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งถ้าหากสักวันหนึ่งพบวิธีหยุดไม่ให้เบรกหรือโปรตีนตัวนี้ทำงาน ทีเซลล์ก็จะไปทำลายเซลล์แปลกปลอมในร่างกายได้

ส่วนนายฮนโจ ก็ได้ค้นพบโปรตีนอีกตัวหนึ่งที่ชื่อว่า พีดี-1 ซึ่งทำงานเป็นเบรกในระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้ทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกายเช่นกัน และการค้นพบนี้ได้นำไปใช้พัฒนายาที่หยุดการทำงานของโปรตีนตัวนี้ เพื่อใช้รักษามะเร็ง

แม้ทั้งคู่ค้นพบในสิ่งที่ใกล้เคียงกันมาก แต่ไม่ได้ร่วมศึกษาด้วยกันแต่อย่างใด ด้านนายอัลลิสันบอกว่า ตนไม่ได้ศึกษาเพื่อไปรักษาโรคมะเร็ง เพียงแค่อยากรู้ว่า ทีเซลล์ ทำงานอย่างไร

นายอัลลิสันเล่าให้ฟังอีกว่า ตอนลูกชายโทรมาหาตอนตี 5 ครึ่ง วันจันทร์ (1 ก.ย.) ว่าได้รางวัลโนเบล เขาแทบช็อกไปเลย แล้วพอได้รับแจ้งจากคณะกรรมการรางวัลโนเบลว่าได้รางวัลจริงๆ เขาอยากตะโกนให้คนไข้มะเร็งฟังว่า เราก้าวหน้าไปอีกขั้นแล้ว

ด้านนายฮนโจ บอกว่า มะเร็งฆ่าคนไปแต่ละปีเป็นล้านคน แถมเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการดูแลสุขภาพของมวลมนุษยชาติอีกด้วย เขาจึงอยากค้นพบวิธีรักษามะเร็งให้ได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook