เจาะประเทศญี่ปุ่น เมืองต้นแบบไร้มลพิษที่ไทยควรเรียนรู้

เจาะประเทศญี่ปุ่น เมืองต้นแบบไร้มลพิษที่ไทยควรเรียนรู้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นับเป็นโครงการที่ดีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนกับโครงการ "ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา" ซึ่งปีนี้ดำเนินมาถึงปีที่ 11 แล้ว เป็นการร่วมมือระหว่างโตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย และ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อม ไทย
เพราะธรรมชาติห่อหุ้มมนุษย์ หากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มนุษย์คงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าสภาวะอากาศบางแห่งบนโลกเปลี่ยนไป ที่เห็นได้ชัดในไทยคือสภาวะแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล อากาศร้อนจัด สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากมนุษย์แทบทั้งสิ้น

โครงการโตโยต้าเมืองสีเขียว เปิดโอกาสให้ตัวแทนโรงเรียนและเทศบาลจากทั่วประเทศทำแผนงานส่งเข้าประกวด มีการคัดเลือกตัวแทนโรงเรียนและเทศบาลที่มีผลงานดีเด่น และประเภทโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือก ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กทม., โรงเรียนนางัวราษฎ์รังสรรค์ นครพนม, โรงเรียนดาราวิทยาลัยเชียงใหม่ 

และประเภทชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านหนองสะแกกวน และเทศบาลตำบลโนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์, ชุมชนบ้านม่วงชุมและเทศบาลตำบลครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย, ชุมชนบ้านหนองปลาดุก หมู่ 22 และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผึ้ง อ.เมือง จ.นครพนม ทั้งหมดได้เดินทางไปศึกษาดูงานด้านสิ่งแวดล้อม ณ ประเทศญี่ปุ่น

เมืองนาโกย่า สถานที่แรกให้ทุกคนได้เข้าไปเรียนรู้เรื่องนวัตกรรมทางความคิดคือ เทคโนโลยีโตโยต้า (Toyota Commemorative) ต้นกำเนิดยานยนต์ระดับโลกที่มียอดขายทั่วโลกเป็นอันดับหนึ่ง จุดเริ่มต้นก่อนจะผลิตรถยนต์ขายเป็นธุรกิจสิ่งทอมาก่อน นายซากิจิ โทโยดะ คือผู้ที่ก่อตั้งคิดค้นนวัตกรรมการทอผ้าด้วยกระสวยธรรมถึงการทอผ้าแบบไอน้ำ ก่อนจะส่งต่อให้ทายาทรุ่นที่ 2 คีจีโร่ โทโยดะ ที่มีความคิดอยากจะผลิตรถยนต์ เริ่มจากผลิตรถต้นแบบออกมาจนกระทั่งสามารถผลิตรถยนต์ขายได้สำเร็จ ภายใต้แบรนด์ โตโยดะ  ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โตโยต้า เพราะความเชื่อเรื่องชื่อที่ดีกว่าทำให้ธุรกิจรุ่งเรือง การดูงานที่ Toyota Commemorative ทำให้ได้เรียนรู้แนวคิดที่ถูกรังสรรค์บ่มเพาะจนกระทั่งประสบความสำเร็จ 

เครื่องจักรทอผ้า สัญลักษณ์จุดเริ่มต้นก่อนจะเป็นธุรกิจยานยนต์

เครื่องจักรทอผ้า

เครื่องจักรทอผ้าที่มีวิวัฒนาการก้าวหน้า ก่อนจะข้ามสู่การผลิตรถยนต์

รถต้นแบบที่มีโครงโมเดลรถที่ทำด้วยไม้

สู่รถต้นแบบคันแรก 

ทั้งนี้ โตโยต้า ยังคงก้าวไปข้างหน้าเพื่อผลิตยานยนต์รุ่นใหม่ แต่ในการก้าวต่อยอดในอนาคตนั้นโตโยต้าได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

และที่แห่งนี้ Toyota Ecoful Town ชุมชนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมโตโยต้า เมืองโตโยต้า จังหวัดไอจิ ตอบโจทย์ควารู้เรื่องพลังงานรักษ์สิ่งแวดล้อม ต้องบอกว่าประเทศไทยควรหยิบมาเป็นโรลโมเดล ภายในสถานที่  Toyota Ecoful Town มีการจำลองรูปแบบการใช้ชีวิตแห่งอนาคตที่นำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระหว่าง คน รถและบ้าน เช่น ระบบขนส่งในเขตเมือง Hamo Project ที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างสมดุลของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและระบบขนส่งสาธารณะ โดยเพิ่มการเข้าถึงระบบขนส่งอันจะช่วยลดจำนวนการใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ลดลงและช่วยลดปัญหารถติด

โตโยต้า มิไร รถที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงาน

รถขนาดเล็กใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงาน ประชาชนสามารถยืมขับได้ ส่วนหนึ่งในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์

หรือจะเป็น บ้านอัจฉริยะ (Toyota Smart House) ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในบ้าน 

บ้านที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหลัง รวมถึงเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

และไฮไลท์ของการไปศึกษาดูงานที่ญี่ปุ่นของกลุ่มชุมชนและโรงเรียนทำแผนงานลดโลกร้อนจนได้รับรางวัลชนะเลิศ คือการได้เข้าเยี่ยมชม สถาบันสิ่งแวดล้อมโตโยต้าชิราคาวา-โก (Toyota Shirakawa-go Eco Institiute) ในเมืองทาคายาม่า จุดเรียนรู้และทำความเข้าใจวิถีชีวิตในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล

โตโยต้าชิราคาวา-โก ธรรมชาติรังสรรค์ มนุษย์ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ

บนเทือกเขาที่เต็มไปด้วยป่าสนเป็นที่อยู่ของสรรพสัตว์น้อยใหญ่

คณะนักเรียนและตัวแทนชุมชน ศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติ

หิมะบนเทือกเขาบางส่วนจะละลายเป็นลำธาร และบางส่วนจะมีการกักเก็บไว้เพื่อทำเป็นแอร์คอนดิชั่น (ปล่อยไอเย็น)

แนวคิดของสถาบันแห่งนี้เพื่อเรียนรู้ธรรมชาติและหวงผืนป่าที่ถือเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำ ภูมิศาสตร์ของที่นี่มีความน่าสนใจตรงที่ในช่วงฤดูหนาวบริเวณนี้จะถูกปกคลุมด้วยหิมะ พอย่างเข้าหน้าร้อนหิมะบนเทือกเขาก็จะละลายกลายเป็นสายน้ำสามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้ รวมถึงหิมะบางส่วนมีการทำห้องเก็บกักไว้เพื่อใช้ผลิตไอเย็นคล้ายเครื่องปรับอากาศ เรียกว่าวัฏจักรของการเปลี่ยนในธรรมชาติ มนุษย์สามารถหยิบมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องทำลายสิ่งแวดล้อมก็ได้ 

เมื่อหิมะละลายจะกลายเป็นลำธาร เพื่อใช้ในการอุปโภค

นอกจากนี้กลุ่มนักเรียนและกลุ่มชุมชน ยังได้เดินทางไปดู โรงเผาขยะเขตโอตะแห่ง เมืองโตเกียว (Ota Incineration Plant) ดูวิธีการแยกขยะที่มีทั้งเผาได้และเผาไม่ได้ ผ่านการสาธิตการแยกองค์ประกอบของขยะแต่ละส่วนให้เหลือองค์ประกอบที่เล็กที่สุดเพื่อนำไปทำการเผา ส่วนองค์ประกอบที่ไม่สามารถเผาได้จะถูกส่งไปจัดการในกรรมวิธีถัดไป เช่น นำไปเป็นส่วนผสมเพื่อทำถนน

ขยะที่ถูกเก็ยมาจากบ้านเรือน จะถูกนำมาเทใส่ช่องเก็บขยะ

ด้านในช่องเก็บขยะ

เครื่องมือในการตักขยะเพื่อทำไปสู่กระบวนการเผา

ห้องควบคุมการทำงานภายในโรงเผาขยะ

โรงเผาขยะมีเตาเผา 2 เตาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควันจะเป็นสีขาวไม่มีกลิ่น

ศูนย์การจัดการขยะแห่งเมืองโตเกียว (Tokyo Metropolitan Landfill site) เข้าใจถึงกระบวนการทำงานในการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ และการนำขยะที่เหลือใช้ไปก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการนำขยะไปไปฝังกลบซึ่งการฝังจะแบ่งเป็นชั้นๆ นอกจากนี้มีการปลูกต้นไม้ดอกไม้ประดับประดาสร้างความสวยงามอีกด้วย ไม่บอกไม่รู้เลยจริงๆ ว่าที่กองขยะ เรียกว่ากองขยะที่สวยที่สุดในโลกก็ไม่ผิด

สองข้างทางที่ถูกถมเป็นพื้นดินด้วยขยะ

เนินขยะที่มีการลาดยางเป็นถนน และปลูกต้นไม้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม 

ใต้ดินคือชั้นฝังกลบขยะที่ถูกแบ่งออกเป็นชั้นๆ ถึง 3 ชั้นด้วยกัน 

เนินขยะที่สวยที่สุดในโลกก็ว่าได้ 

ถือเป็นการเดินทางมาหาความรู้ในแดนปลาดิบที่คุ้มค่ามากที่สุด อิ่มความรู้และสามารถทำไปต่อยอดพัฒนาบ้านเมืองเราให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี 

"จิตสำนึก" เท่านั้นจะทำให้สิ่งแวดล้อมไม่ถูกทำลายไปมากกว่านี้ เริ่มต้นที่จากวงเล็กๆ คือตัวเอง ก่อนจะก้าวไประดับมหาภาคคือชุมชนและประเทศชาติ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook