คนโสดญี่ปุ่นมั่นใจ!! มองการณ์ไกล พร้อมเผชิญความตายเพียงลำพัง

คนโสดญี่ปุ่นมั่นใจ!! มองการณ์ไกล พร้อมเผชิญความตายเพียงลำพัง

คนโสดญี่ปุ่นมั่นใจ!! มองการณ์ไกล พร้อมเผชิญความตายเพียงลำพัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากรายงานผลการสำรวจความคิดเห็นคนโสดในช่วงเดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมาของบริษัทให้คำปรึกษาด้านการวางแผนบั้นปลายชีวิตในคามากุระ (End-of-Life Consultancy Firm Kamakura Shinsho Ltd) บอกเราว่า คนโสดที่มีอายุอยู่ในช่วง 40 ปี จำนวนมากกว่าร้อยละ 70 ไม่เพียงแต่ปฏิเสธภาพจำที่ว่า “ความโสดคือความเหงา” แต่พวกเขายังแสดงออกถึงความพึงพอใจในชีวิตโสดอันแสนสุข แถมยังเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองในฤดูกาลสุดท้าย คือฤดูใบไม้ร่วงแห่งชีวิต ที่เขาพร้อมจะร่วงโรยลงอย่างสง่างามเพียงลำพังอีกด้วย

pak93_heyadehitoribocchi20140

บริษัทฯ ยังรายงานอีกว่า “พวกเราได้รับโทรศัพท์จากผู้คนที่ต้องการคำแนะนำเรื่องการเตรียมตัวเข้าสู่ช่วงบั้นปลายชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีผู้คนจำนวนมากติดต่อเข้ามาเพื่อจับจองพื้นที่หลุมศพให้กับตนเองล่วงหน้า” – Yoshiko Enomoto – Kamakura Shinsho Ltd กล่าว

พฤติกรรมบั้นปลายชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนไป!!

n-single-a-20180615-870x582

กลุ่มหญิงโสดญี่ปุ่นรวมกลุ่มจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องการใช้เวลาว่างในบ้านเพียงลำพัง เมื่อเดือนกันยายน 2558

นอกจากนี้ยังพบว่าวิถีทางที่ผู้คนเลือกปฏิบัติในการเข้าสู่บั้นปลายชีวิตของชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ในอดีตผู้คนมักจะเลือกกลับไปอยู่กับครอบครัวในชนบท เพื่อใช้เวลากับคนที่รักในช่วงสุดท้ายก่อนจะลาจากไปในที่สุด แต่ปัจจุบันพบว่ามีจำนวนไม่น้อยเริ่มย้ายถิ่นฐานไปตามชนบทภายในประเทศตามแต่ที่ตนเองชื่นชอบ เริ่มมองหาการงานที่พอจะทำได้ในช่วงบั้นปลาย และพร้อมจะตายจากไปเพียงลำพังในวันใดวันหนึ่ง

ozpa_sutusugataiine_tp_v

ในอีกด้านหนึ่งของชีวิตคนเมือง พบว่าการใช้ชีวิตโสด อยู่กินเพียงลำพังในเมืองนั้นมีความสะดวกสบายมากกว่าการแต่งงานอยู่กินแบบเป็นครอบครัวด้วยหลายเหตุปัจจัย เช่น ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ขนาดของเมือง บ้าน ห้องพักที่มีความแออัดมากขึ้น พื้นที่มีขนาดเล็กลง และไม่เหมาะกับการมีชีวิตครอบครัว เป็นต้น

484fe879b68854b2c08d9bed0f49c

ผลการสำรวจชายหญิงผู้ใช้ชีวิตโสดกว่า 444 คน คิดเป็นร้อยละ 62.6 กล่าวว่าพวกเขาทุ่มเทให้กับการดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ ในขณะที่ร้อยละ 40 ใช้เวลาไปกับงานอดิเรกต่าง ๆ ของตนเองอย่างมีความสุข โดยส่วนมากพบว่าพวกเขาให้ความสนใจกับเรื่องส่วนตัวที่มีความสำคัญเป็นต่อตนเอง และอนาคตมากขึ้น เช่น การจัดการทางการเงิน การเตรียมการปิดบัญชีธนาคาร และการส่งต่อทรัพย์สมบัติส่วนตัวให้กับผู้รับประโยชน์เมื่อตนเองต้องสิ้นลมหายใจไป เป็นทัศนคติที่พร้อมต่อการจัดการกับความตายเพียงลำพัง อันที่จะไม่ทิ้งไว้ซึ่งภาระใด ๆ ให้กับสังคมหรือคนข้างหลัง (ที่อาจจะมีหรือไม่มีตัวตนก็ตาม)

เพศชายผู้ไร้เดียงสา เพศซึ่งไม่พร้อมรับมือกับความตายเพียงลำพัง

20180411224239

เมื่อพิจารณาแยกตามเพศแล้ว พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า 1 ใน 5 ของผู้ให้ข้อมูล ได้เตรียมทุนทรัพย์สำหรับการจัดการเรื่องความตายให้กับตัวเองไว้แล้วเป็นที่เรียบร้อย โดยที่เพศหญิงที่เตรียมการเรื่องดังกล่าวมีจำนวนมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่าตัว

Kazuhisa Arakawa นักเขียนเรื่อง “Super Solo Society” กล่าวจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านสังคมคนโสดว่า

“เพศชายช่างอ่อนไหวต่อความตายมากกว่าเพศหญิง พวกเขามั่นใจว่าจะสามารถเผชิญหน้ากับความตายได้เพียงลำพังในช่วงแรกเท่านั้น ก่อนที่จะเปลี่ยนใจ เมื่อพบว่าความลำพังช่างเปลี่ยวเหงาเมื่อแก่ตัวขึ้นเรื่อย ๆ…เพศชายช่างไร้เดียงสา พวกเขาไม่ลุ่มลึกต่อความคิดที่มีต่อความตาย แม้กระทั่งกับเรื่องชีวิตประจำวัน พวกเขายังไม่เคยคิดเพียงสักนิดว่าจะสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยลำพัง…กลับกันที่เพศหญิงมีความชำนาญมากกว่าในการจัดการกับความสัมพันธ์ส่วนตัว และมีความอิสระสูงกว่า รวมถึงมีค่าเฉลี่ยอายุไขที่มีชีวิตได้ยืนยาวกว่าเพศชายอีกด้วย”

จากรายงานประจำเดือนมิถุนายน 2561 ของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศญี่ปุ่น พบว่า มีประชากรกว่า 13.43 ล้านคน ใช้ชีวิตและอาศัยอยู่เพียงลำพัง ประกอบกับข้อมูลของสถาบันวิจัยด้านประชากรศาสตร์และสังคม ประมาณการไว้ว่า ภายในปี 2583 ผู้ครองชีวิตโสดในสังคมญี่ปุ่นจะคิดเป็นร้อยละ 39 ของประชากรทั้งหมด!!

การเรียกร้องและการกระตุ้นทางสังคมให้สนใจเรื่องความตาย

profit_se_img_01

เมื่อสถานการณ์ทางสังคมของชาติดำเนินไป และมีทิศทางที่ค่อนข้างชัดเจนเช่นนี้แล้ว จึงเริ่มมีเสียงเรียกร้องต่อการสร้างนโยบายให้การสนับสนุนสวัสดิการทางสังคมและการบริการที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินชีวิตของคนโสดในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงบั้นปลายและวินาทีสุดท้ายของชีวิต เพื่อให้พวกเขามั่นใจได้ว่า เขาจะจากโลกใบนี้ไปอย่างสง่างาม สร้างการรับรู้และเตรียมความพร้อมที่จะจากไปอย่างสงบและเป็นสุข

เรียกได้ว่า “ความตาย” สำหรับสังคมญี่ปุ่นทุกวันนี้ ดูเป็นเรื่องใกล้ตัวที่พวกเขาให้ความสำคัญ และกระตุ้นการสร้างความพร้อมให้กับสังคมและตนเองในฐานะที่ไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงความตายไปได้ ประกอบกับการที่พวกเขาเลือกใช้ชีวิตโสด ความตายจึงถือเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่เรื่องสุดท้ายที่ต้องจัดการ มิใช่เรื่องน่ากลัวที่ต้องหลีกเลี่ยง การจัดการกับความตาย จึงเป็นประเด็นใหม่ที่ถูกกระตุ้นให้ผู้คนขบคิด และเตรียมการให้พร้อม มิใช่เพื่อตัวเองเท่านั้น แต่เพื่อสังคมส่วนรวมที่ทุกคนจำเป็นต้องรับผิดชอบร่วมกันด้วยนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook