อัปเดตประกันสังคม ผู้ประกันตน "ม.33-ม.39-ม.40" ติดโควิด รับเงินชดเชยขาดรายได้กี่บาท

อัปเดตประกันสังคม ผู้ประกันตน "ม.33-ม.39-ม.40" ติดโควิด รับเงินชดเชยขาดรายได้กี่บาท

อัปเดตประกันสังคม ผู้ประกันตน "ม.33-ม.39-ม.40" ติดโควิด รับเงินชดเชยขาดรายได้กี่บาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประกันสังคม แจ้งผู้ประกันตน ม.33-ม.39-ม.40 ติดโควิด รับเงินชดเชยขาดรายได้ เช็กเลยได้กี่บาท

ผู้ประกันตนประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ที่ติดโควิด-19 จะได้รับสิทธิชดเชยการขาดรายได้ในกรณีเจ็บป่วยคนละเท่าไหร่กันบ้าง ไปดูพร้อมๆ กันเลย

ประกันสังคม ชดเชยโควิด

ผู้ประกันตนประกันสังคม มาตรา 33

กรณีลาป่วย รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง หากพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยเป็นต้นไป รับเงินทดแทน ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

กรณีเจ็บป่วยทุกกรณีรวมป่วยโควิดขาดรายได้ นายจ้างจะรับผิดชอบค่าจ้าง 30 วันแรกของปีตามกฎหมายแรงงาน หากเกิน 30 วัน ยื่นชดเชยรายได้กับสำนักงานประกันสังคมได้รับ 50%ของค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท

เอกสารประกอบการยื่นเบิกประกันสังคม ติดโควิด รับเงินชดเชยขาดรายได้

  1. สปส.2-01
  2. ใบรับรองแพทย์ที่แพทย์สั่งหยุดงานตัวจริง
  3. หนังสือรับรองนายจ้าง
  4. สำเนาบช.ธนาคารหน้าแรก >>> บัญชี ตัวเต็ม
  5. สถิติวันลาป่วยทั้งปีที่ลาป่วย

ผู้ประกันตนประกันสังคม มาตรา 39

รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน (4,800 บาท) ต้องมีเอกสารใบรับรองแพทย์และส่งเงินสมทบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับการรักษา

ผู้ประกันตนประกันสังคม มาตรา 40

รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3 โดยพิจารณาเอกสารหลักฐานและใบรับรองแพทย์และส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนใช้สิทธิ์

ผู้ประกันตนประกันสังคม สามารถยื่นรับประโยชน์เงินทดแทนได้ภายใน 2 ปี โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม แล้วส่งทางไปรษณีย์ และแนบสำเนาสมุดบัญชีออมทรัพย์ ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการและโอนเงินเข้าบัญชีให้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook