เมื่อกระเป๋าเงินเกิดวิกฤติ ควรเลือก "บัตรเครดิต-บัตรกดเงินสด" อย่างไรให้ถูกใจ

เมื่อกระเป๋าเงินเกิดวิกฤติ ควรเลือก "บัตรเครดิต-บัตรกดเงินสด" อย่างไรให้ถูกใจ

เมื่อกระเป๋าเงินเกิดวิกฤติ ควรเลือก "บัตรเครดิต-บัตรกดเงินสด" อย่างไรให้ถูกใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าในภาวะสังคมที่ถูกป่วนด้วยโรคโควิด 19 อาจมีคนไม่น้อยที่กระแสรายรับปั่นป่วนตาม โดยเฉพาะเมื่อถึงรอบรายจ่ายพิเศษที่ต้องใช้เงินก้อนจำนวนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นค่าเทอมของบุตรหลาน ค่าตรวจสุขภาพประจำปี ค่าเบี้ยประกันชีวิต ฯลฯ ซึ่งในกรณีที่เรามีตัวช่วยอยู่แล้วทั้งบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ รวมทั้งยังมีรายได้เข้ามาสม่ำเสมอพอที่จะทยอยจ่ายคืนหนี้ก้อนนี้ทั้งหมดได้ภายในชั่วระยะเวลาหนึ่ง เราควรเลือกใช้บัตรไหนดีถึงจะคุ้มค่าหรือประหยัดดอกเบี้ย

รายจ่ายจากการถอนเงินสด บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด
ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน (รวม VAT) 3.21% ไม่มี
อัตราดอกเบี้ยต่อปี 16% 25%
รวม (คิดเป็นอัตราต่อปี) 19.21% 25%

 

การเบิกถอนวงเงินจากบัตรเครดิต (ไม่ว่าจะเป็นการกดเงินที่ตู้เอทีเอ็ม หรือถือบัตรไปขอรับเงินที่หน้าเคาน์เตอร์ หรือทำรายการบนแอปพลิเคชันโดยขอรับเป็นเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝาก) มีค่าธรรมเนียมการถอนเงินสด 3% + ภาษี VAT 7% และอัตราดอกเบี้ยอีกไม่เกิน 16% ตามเพดานอัตราดอกเบี้ยที่แบงก์ชาติกำหนดไว้ ส่วนการถอนเงินจากบัตรกดเงินสด เรียบง่ายกว่านั้นมากเนื่องจากคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 25% ต่อปี โดยทั้งสองบัตรเริ่มคิดดอกเบี้ยจากวันแรกที่ถอน

สำหรับกรณีผู้ที่ไม่มีบัตรกดเงินสดและต้องการสมัครขอบัตรใหม่คงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า บัตรกดเงินสดเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับฯ ผู้สมัครต้องมีหลักฐานแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน รายการเคลื่อนไหวของบัญชีเงินฝาก เอกสารแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) เป็นต้น โดยวงเงินที่จะได้อนุมัติขึ้นอยู่กับรายได้ เช่น กรณีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท จะได้วงเงินเพียง 1.5 เท่าของรายได้ และสามารถยื่นขอสมัครบัตรกดเงินสดจากผู้ให้บริการรายอื่นรวมไม่เกิน 3 ราย ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของแบงก์ชาติ

ถอนเงินสด 10,000 บาท บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด
ระยะ 4 เดือน 321+(10,000 x 16% x 4M) = 854 บาท 10,000 x 25% x 4M = 833 บาท
ระยะ 12 เดือน 321+(10,000 x 16% x 12M) = 1,921 บาท 10,000 x 25% x 12M = 2,500 บาท

*หมายเหตุ : คำนวณเบื้องต้น โดยใช้วงเงินต้นเท่าเดิมตลอดสัญญา แต่ในวิธีปฏิบัติจริงจะเป็นอัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอก ซึ่งทำให้ผลรวมค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าที่แสดงนี้

ทั้งนี้ ค่าผลรวมรายจ่ายจากการถอนเงินสดในบรรทัดสุดท้ายนี้ ต้องมองให้ลึกกว่าตัวเลขสูง-ต่ำที่ปรากฏ เนื่องจากในตารางบอกอยู่ว่าเป็นอัตราต่อปี แต่ถ้าเราขาดสภาพคล่องระยะสั้นมาก ๆ และตั้งใจจะคืนหนี้ให้จบภายใน 4 เดือนแล้ว คำนวณคร่าว ๆ ค่าใช้จ่ายจากการถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิตจะแพงกว่าการถอนด้วยบัตรกดเงินสดทันที

อย่างไรก็ดี ภายใต้ความไม่แน่นอนที่โควิด 19 นำมาสู่สังคมไทย ได้สร้างความแน่นอนขึ้นประการหนึ่ง กล่าวคือ ลูกค้าบัตรชั้นดีที่ชำระหนี้สม่ำเสมอตามกำหนด เป็นลูกค้าที่ทุกธนาคารและผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคาร ต่างแข่งขันนำเสนอบริการการเบิกใช้วงเงินสดจากวงเงินบัตรเดิมของเราที่เหลืออยู่ในรูปแบบ Installment Loan ที่แบ่งการชำระคืนหนี้ออกเป็นรายงวดเท่า ๆ กันภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ เช่น 6 เดือน 12 เดือน 2 ปี เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะได้ข้อเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเพดานของแบงก์ชาติแล้ว กรณีใช้วงเงินจากบัตรเครดิตยังไม่คิดค่าธรรมเนียม 3.21% อีกด้วย ถ้าขาดเงิน อย่าใจร้อน แค่ call แล้วเทียบ แต่ดีกว่านั้นต้องหมั่นออม และเลือกใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ลดอาการร้อนใจร้อนเงินจากหนี้ร้อนได้ตลอดไป

ข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เผยถึงวิธีการเลือกบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลให้เหมาะสมและถูกใจ โดยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. เข้าใจประเภทบัตรสินเชื่อ มีเงื่อนไข วิธีใช้งานเป็นอย่างไร อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ เพื่อให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน

  • บัตรเครดิต
    • ใช้รูดเพื่อชำระเงินแทนเงินสด โดย ธนาคารจะกำหนดวงเงินให้ตามความ สามารถในการชำระหนี้ของเรา และ กำหนดรอบระยะเวลาชำระเงินให้ เช่น ตัดรอบบัญชีทุกวันที่ 10 และชำระเงิน ภายในวันที่ 22 เป็นต้น เหมาะกับคนที่ ไม่อยากพกเงินสดคราวละมากๆ และ มีวินัยทางการเงินสูง เพราะหากจ่าย ชำระเงินคืนครบจำนวนภายในวัน ที่กำหนด ก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเลย ซักบาทเดียว แต่ถ้าจ่ายชำระหนี้ หลังวันครบกำหนด ก็จะต้องชำระ ดอกเบี้ย ในอัตราสูงสุด 20% ต่อปี ของยอดหนี้ นับตั้งแต่วันที่รูดบัตร ใช้จ่าย นอกจากนี้ยังสามารถใช้บัตร เครดิตกดเงินสดได้ แต่ก็จะต้องจ่าย ดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่กดเงิน เช่นเดียวกัน
  • บัตรกดเงินสด
    • ทุกครั้งที่ใช้บัตรจะต้องเสียค่าธรรมเนียมกดเงินสดในอัตรา 3% ของยอดเงิน ที่กดออกมา ซึ่งธนาคารจะกำหนด วงเงินและระยะเวลาชำระเงินให้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินสด อย่างเร่งด่วนและสามารถชำระเงินคืน ได้เร็ว เพราะจะต้องจ่ายดอกเบี้ย ในอัตราสูงสุด 28% ต่อปี โดยคิดตามจำนวนวันที่เรากด เงินสดออกไปใช้
  • สินเชื่อส่วนบุคคล
    • เป็นการขอวงเงินสินเชื่อจากสถาบัน การเงิน ถ้าอนุมัติก็จะได้รับเงินโอนเข้า บัญชีและนำไปใช้จ่ายได้ทันที โดยสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวงเงินสินเชื่อสูงและระยะเวลาผ่อนชำระที่ยาวกว่า เช่น 12 18 24 งวด ซึ่งสามารถแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ เท่ากันได้ แต่หากจ่ายหลังวันครบกำหนดจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงสุด 28% ต่อปี

2. เปรียบเทียบบัตรประเภทเดียวกันของธนาคารต่างๆ เมื่อเลือกบัตรที่เหมาะสมกับเราได้แล้ว ก็ลองเปรียบเทียบว่าธนาคารไหนคิดดอกเบี้ยต่ำที่สุด จ่ายเงินสะดวก และมีเงื่อนไขการชำระเงินที่ช่วยให้ได้รับประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน

3. ตรวจสอบสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่อความคุ้มค่า สถาบันการเงินต่างๆ มักจะร่วมกับร้านค้ามอบสิทธิพิเศษให้แก่ผู้ถือบัตร เช่น การซื้อสินค้าเงินผ่อนดอกเบี้ย 0% การสะสมแต้ม การแลกของรางวัล และส่วนลดร้านค้าร้านอาหาร เป็นต้น

การเลือกบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น จะต้องรู้วัตถุประสงค์การใช้อย่างชัดเจน ตรวจสอบรายละเอียด ประกอบการตัดสินใจเพื่อให้ได้ประโยชน์คุ้มค่าและเหมาะกับการใช้งานที่สุด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อประเภทใด ก็สามารถก่อให้เกิดภาระหนี้อย่างใหญ่หลวงได้ หากเราไม่ได้วางแผนทางการเงินที่ดี เพราะฉะนั้นแล้วเราควรคำนึงถึงการใช้จ่าย แต่ละครั้งไม่ให้มากเกินจำเป็น จนทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ทางการเงินตามมา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook