รวมแบงก์รัฐ-พาณิชย์ แห่ลดดอกเบี้ยเงินกู้ หลัง กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1%

รวมแบงก์รัฐ-พาณิชย์ แห่ลดดอกเบี้ยเงินกู้ หลัง กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1%

รวมแบงก์รัฐ-พาณิชย์ แห่ลดดอกเบี้ยเงินกู้ หลัง กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภายหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% จากอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.25% เป็น 1.00% เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับเสถียรภาพทางการเงินที่เปราะบางมากขึ้น รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่อาจขยายตัวต่ำกว่าประมาณการ

ด้านธนาคารภาครัฐ-พาณิชย์ พร้อมใจกันขานรับนโยบายด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทันที ส่วนธนาคารรายไหนจะให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่าไหร่กันบ้าง Sanook Money ได้รวบรวมข้อมูลของแต่ละแห่งมาฝากกัน

458019

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เผยว่า ธนาคารออมสินปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราเท่ากัน 0.25% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ลดลงจาก 6.745% เหลือ 6.495% มีผลตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 63

ด้านดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารฯ ได้ปรับลดในอัตรา 0.25% ในประเภทเงินฝากประจำ เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ โดยยังคงภารกิจหลักส่งเสริมการออม ไม่ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากประเภทเผื่อเรียก เงินฝากกระแสรายวันพิเศษ ซึ่งมีลูกค้ารายย่อยฝากเงินและใช้บริการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเงินฝากสลากออมสินทุกประเภท ซึ่งมีผู้ฝากกว่า 1.3 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 60% ของยอดเงินฝากรวม ยังคงดอกเบี้ยในอัตราเดิมต่อไป

938873

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ลง 0.25% ต่อปี จากอัตรา 6.025% ต่อปี เหลืออัตรา 5.775% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 63

นอกจากนี้เพื่อให้ลูกค้าที่มีรายได้จากการออมให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดโดยยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเท่าเดิม เพื่อให้ลูกค้ามีกำลังในการใช้จ่าย ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว โดยธนาคารได้ออกเงินฝากประจำพิเศษกรุงไทยเบิร์เดย์ ระยะเวลาฝาก 7 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.40% ต่อไป

123259

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ระบุว่า ธนาคารประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.125%-0.250% ต่อปี ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) จาก 6.000% ต่อปี ลดลงเหลือ 5.875% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือ MRR จาก 6.500% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.375% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี หรือ MOR จาก 6.750% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.500% ต่อปี กำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป

258740

นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR สำหรับลูกค้าบุคคล และลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ลง 0.25% จากเดิม 6.87% เป็น 6.62% เพื่อตอบสนองทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในการสนับสนุนและส่งเสริมภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่มีความเปราะบาง

ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดา แต่มีการปรับลดเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์นิติบุคคลลง 0.10% – 0.12% และเงินฝากประจำลง 0.05%-0.25% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป

scb

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารไทยพาณิชย์มีความห่วงใยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาที่ยังยืดเยื้อ โดยออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยลูกค้าผู้ประกอบการธุรกิจและลูกค้ารายย่อยต่อเนื่อง จากก่อนหน้านี้ที่ประกาศมาตรการเร่งด่วนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทั่วประเทศด้วยการพักชำระเงินต้นนานสูงสุด 6 เดือน

สำหรับมาตรการเพิ่มเติมนี้ ธนาคารประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภท MLR ลง 0.25% มาอยู่ที่ 5.775% สำหรับในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดา แต่มีการปรับลดเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์นิติบุคคลลง 0.15%-0.25% และเงินฝากประจำลง 0.05%-0.25% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ใหม่ จะมีผลตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป.

tmbtbank

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย หรือ TMB เปิดเผยว่า ในสภาวะที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่อง TMB และธนาคารธนชาต(TBANK) จึงได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MOR ลง 0.25% จากเดิม 7.175% เป็น 6.925% เพื่อแบ่งเบาภาระต้นทุนทางการเงินของลูกค้า และตอบสนองนโยบายของภาครัฐในการกระตุ้นสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ธนาคารทีเอ็มบี และธนาคารธนชาต เชื่อมั่นว่าการลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ จะเป็นส่วนช่วยเสริมสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook