ชาวนายิ้ม! เคาะประกันราคาข้าว 5 ประเภท

ชาวนายิ้ม! เคาะประกันราคาข้าว 5 ประเภท

ชาวนายิ้ม! เคาะประกันราคาข้าว 5 ประเภท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังการประชุม 3 ฝ่าย โดยกระทรวงพาณิชย์ ตัวแทนผู้ประกอบการและตัวแทนเกษตรกรโดยสมาคมชาวนา และผู้เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและกระทรวงพาณิชย์ โดยเห็นชอบโครงการประกันรายได้ข้าว ในข้าว 5 ประเภท ได้แก่

  1. ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 บาท ความชื้น 15% โดยประกันรายได้ให้ไม่เกินละ 30 ตันต่อครัวเรือน หรือไม่เกิน 40 ไร่
  2. คือข้าวเหนียว ประกันที่ตันละ 12,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน หรือไม่เกิน 40 ไร่
  3. ข้าวหอมมะลิ 15,000 บาท ที่ไม่เกิน 40 ไร่ หรือ 14 ตัน
  4. ข้าวหอมนอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ไม่เกิน 40 ไร่ หรือไม่เกิน 16 ตัน
  5. ข้าวหอมปทุม ไม่เกิน 11,000 บาท ไม่เกิน 40 ไร่ หรือไม่เกิน 25 ตัน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ จะนำข้อสรุปดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (นบข.) ก่อนเพื่อกำหนดเวลา

นายจุรินทร์ กล่าวว่า จะเริ่มดำเนินการโดยเข้าที่ประชุม หารือ นบข.(คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ) ก่อนเพื่อกำหนดเวลาและวงเงินชดเชยให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประกันรายได้ต่อไป โดยเกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรและยังมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์กลางอ้างอิง และแต่ตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์อ้างอิงโดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วันส่วนการใช้สิทธิ์และการจ่ายเงินนั้น เกษตรกรที่ทำสัญญากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เพื่อจ่ายตรงผ่านบัญชีให้กับซึ่งมีการกำกับดูแลมีการตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแก้ไขปัญหา และกรรมการนโยบายบริหารข้าวระดับจังหวัด

ด้านมาตรการคู่ขนานจะดำเนินการด้านการผลิตโดยลดต้นทุนการผลิต บริหารจัดการค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเก็บเกี่ยว การส่งเสริมระบบการเกษตรแปลงใหญ่หรือนาแปลงใหญ่ การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี และโครงการประกันภัยพืชผล เช่น โครงการประกันภัยข้าวนาปี โดยมาตรการประหยัดตลาด คือ การตลาดนำการผลิตการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์และข้าว GAP หรือข้าวที่ผ่านมาตรฐานการเพาะปลูก และการส่งเสริมการผลิตข้าวตลาดเฉพาะ ส่วนมาตรการระยะยาว คือ การพัฒนาชาวนาให้เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมการผลิตข้าว

ส่วนมาตรการด้านการตลาดนั้น งานเร่งด่วนคือการปรับสมดุลโดยการให้สินเชื่อชะลอการขาย การใช้สินเชื่อโดยสถาบันเกษตรกรหรือการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก การปรับปรุงทางด้านยุทธศาสตร์ข้าวไทย และการรักษาตลาดส่งออก ทั้งตลาดเดิม ตลาดเก่า (อิรัก) และขยายตลาดใหม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook