ประมูลสนามบินอู่ตะเภา ซีพีเอาฤกษ์ 12.20 น. ยื่นซองรายแรก 

ประมูลสนามบินอู่ตะเภา ซีพีเอาฤกษ์ 12.20 น. ยื่นซองรายแรก 

ประมูลสนามบินอู่ตะเภา ซีพีเอาฤกษ์ 12.20 น. ยื่นซองรายแรก 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประมูลสนามบินอู่ตะเภาคึกคัก ซีพีถือฤกษ์มงคล 12.20 หวังประมูลฉลุย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (21 มี.ค. 62) 3 กลุ่มเอกชนรายใหญ่ของไทยและพันมิตรได้เดินทางเข้ามาที่กองบัญชาการกองทัพเรือ วนอุทยาน เพื่อยื่นซองข้อเสนอโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

โดยรายแรกกลุ่มซีพี ยื่นเมื่อเวลา 12.20 น. โดยนายนพปฎล เดชอุดม รองประธานสำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข รองประธานสำนักพัฒนาโครงการพิเศษ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในนามบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร

ได้แก่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD, บริษัท บี.กริม.จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด และ Fraport AG Frankfurt Airport Services Worldwide จากเยอรมนี

ส่วนรายที่ 2 เป็นกลุ่มแกรนด์ คอนโซเตียม (GRAND Consortium) ประกอบด้วย บริษัท แกรนด์ แอสเสท โอเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAND อยู่ในกลุ่ม บริษัท พร็อพเพอร์ซี่ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF สัดส่วน 80%

บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (บ.ย่อยของ บริษัท เอเชียเอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV )ถือ 10% และ บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น(ไทย) จำกัด (มหาชน)  หรือ CNT ถือ 10% โดยให้ GMR Airport Limited จากอินเดีย มาบริหารสนามบิน และ China Harbour Engineering Company Limited โดยมีนายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง นักธุรกิจชื่อดัง นำตัวแทนของกลุ่มเข้ายื่นเอกสารในช่วงบ่ายวันนี้

รายที่ 3 เป็นกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ซึ่งประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS, บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC

1bgter

โครงการสนามบินอู่ตะเภาเป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องทำให้สำเร็จ เพราะถือเป็นโอกาสของคนไทยทั้งประเทศ โดยต้องเปิดทางให้เอกชนร่วมลงทุน และดึงความสามารถจากคนเก่งทั่วโลกมาช่วยกันทำให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งต้องอาศัยเอกชนไทยรายใหญ่ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกมาช่วยกันทำเพื่อประเทศ และดึงผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมาบริหาร

ซึ่งต้องเป็นผู้มีประสบการณ์และเคยบริหารสนามบินระดับโลกมาแล้ว ถือเป็นการเสริมศักยภาพผลักดันให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินระดับโลก อีกทั้งยังเป็นการยกระดับการพัฒนาพื้นที่ภายในสนามบินให้กลายเป็นเมืองการบินภาคตะวันออก ยกระดับให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต

การยื่นซองประมูลโครงการพัฒนา "สนามบินอู่ตะเภา" สู่ "มหานครการบินภาคตะวันออก" แม้ว่ามูลค่าการลงทุนของโครงการนี้จะสูงถึง 2.9 แสนล้านบาท มีเอกชนทั้งไทยและต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาซื้อซองประมูลกันมากถึง 42 ราย

แต่แน่นอนว่าโครงการนี้ต้องลงทุนเยอะ และความเสี่ยงเยอะ ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศต้องชำเลืองมองนักลงทุนไทย ว่าคนไทยเองมั่นใจกับโครงการนี้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้น การที่มีเอกชนไทยรายใหญ่มาร่วมประมูล ถือเป็นปัจจัยที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประเทศ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook