ผู้ถือหุ้นทรู เฮ! รับข่าวดี รายได้ทะลุแสนล้าน โตแซงคู่แข่ง กำไรกว่า 7 พันล้าน ปันผลทันที

ผู้ถือหุ้นทรู เฮ! รับข่าวดี รายได้ทะลุแสนล้าน โตแซงคู่แข่ง กำไรกว่า 7 พันล้าน ปันผลทันที

ผู้ถือหุ้นทรู เฮ! รับข่าวดี รายได้ทะลุแสนล้าน โตแซงคู่แข่ง กำไรกว่า 7 พันล้าน ปันผลทันที
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลุ่มทรู รายงานผลประกอบการประจำปี 2561 ผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง มีกำไรสุทธิ  7.03 พันล้านบาท ผลจากจากการเติบโตของรายได้ รวมทั้งการบริหารต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพ ทั้งนี้ โดยภาพรวมกลุ่มทรูมีรายได้สูงเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 1.018 แสนล้านบาท เติบโต 4.9 % จากปีก่อนหน้า หรือ 7.7 % หากไม่รวมรายได้จากสัมปทานโทรศัพท์พื้นฐานที่สิ้นสุดลงในปลายปี 2561

เป็นผลมาจากการเติบโตของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่และบรอดแบรนด์อินเทอร์เน็ตที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความสามารถในการทำรายได้เพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีกำไรจากการขายสินทรัพย์ให้แก่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน DIF ส่งผลให้ EBITDA เติบโตสูง 40.3% จากปีก่อน

ในปี 2561 ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นธุรกิจหลักมีรายได้จากการให้บริการเติบโตในอัตราที่สูงกว่าอุตสาหกรรมติดต่อกันถึง 6 ปี เป็นผลจากเครือข่ายประสิทธิภาพสูง และความสำเร็จในการทำการตลาดที่เจาะในแต่ละพื้นที่มากยิ่งขึ้น รวมทั้งการผสานความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งด้านดีไวซ์ ช่องทางการขาย สิทธิประโยชน์และการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่ช่วยเสริมความแกร่งให้ธุรกิจ

โดยในปี 2561 ทรูมูฟ เอช มีผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิ 2 ล้านราย มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 29.2 ล้านราย ทำรายได้จากการให้บริการเติบโตขึ้นร้อยละ 7.3 จากปีก่อนหน้า ในขณะที่ผู้ให้บริการรายใหญ่รายอื่นมีรายได้จากการให้บริการรวมกันลดลงร้อยละ 0.1 จากปีก่อนหน้า ซึ่ง ทรูมูฟ เอช มีแนวโน้มที่ดีและสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

จากการมุ่งเน้นนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงโอกาสในการเติบโตอย่างมากจากการรุกเข้าไปในพื้นที่ที่ยังมีส่วนแบ่งตลาดไม่สูงนัก

สำหรับในปี 2562 กลุ่มทรูจะเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจหลักโดยให้ความสำคัญกับเครือข่ายและบริการคุณภาพสูง ขยายช่องทางการขายพร้อมผสานความร่วมมือกับพันธมิตร เพิ่มมูลค่าด้วยข้อเสนอที่ผสานบริการหลากหลายตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะกลุ่มในเชิงลึกมากขึ้น

พร้อมทั้งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ big data หรือ Analytics เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในพื้นที่ที่เป็นผู้นำอยู่แล้ว และขยายไปในภาคส่วนที่มีการเติบโตแต่กลุ่มทรูยังมีส่วนแบ่งตลาดที่ไม่สูงนัก

นอกจากนี้ กลุ่มทรูยังมุ่งเสริมความแข็งแกร่งด้านการเป็นผู้นำด้านดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเพิ่มการเติบโตที่สูงให้แก่ธุรกิจด้วยการเติมเต็มความต้องการของทั้งลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจในยุคดิจิทัล พร้อมทั้งหันมาให้ความสำคัญกับมาตรการบริหารต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพในหลายโครงการ ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้แก่กลุ่มทรู ในปี 2562

ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้จากการให้บริการโดยรวมในช่วงกลางถึงช่วงปลาย (mid to high single-digit growth)  ซึ่งน่าจะส่งผลให้กลุ่มทรูสามารถรายงานผลกำไรได้ในปี 2562 พร้อมกันนี้ กลุ่มทรูคาดว่าจะใช้งบลงทุน (ที่เป็นเงินสด) ไม่รวมการชำระค่าใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ในช่วงระดับ 4 หมื่นล้านบาท

ซึ่งหากไม่นับรายได้พิเศษจากการขายสินทรัพย์ให้กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน DIF ภาพรวมผลประกอบการยังคงดีขึ้น โดยเฉพาะจากส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทในเครือ เนื่องจากมีผู้ใช้บริการรวมเพิ่มขึ้นเป็น 29.2 ล้านราย 

ปัจจุบันกลุ่มทรู ได้เปลี่ยนแปลงมาสู่บริษัทที่มีโอกาสทำกำไรจากการดำเนินงานได้แล้วในระดับหนึ่ง โดยใช้กลยุทธ์การเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ด้วยแคมเปญด้านการตลาดให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่ ไม่ใช้วิธีหว่านแบบเดิม ดังนั้นการทำการตลาดจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังหันมาให้กลยุทธ์ปรับเพิ่มปริมาณการใช้งานของลูกค้าต่อหมายเลขแทนการปรับลดราคาตั้งต้นให้ต่ำกว่าคู่แข่ง ประกอบกับการทยอยปรับลดแพ็กเกจแบบ fixed speed ที่ส่งผลต่อสัดส่วนรายได้ต่อหมายเลข (ARPU) และยังคงนโยบายควบคุมค่าใช้จ่ายเพื่อให้รายได้ที่เพิ่มขึ้นส่งผลโดยตรงต่อกำไรจากการดำเนินงาน (EBITDA) รวมทั้งการตัดสินใจไม่เข้าร่วมประมูลคลื่นใดๆ เพื่อไม่สร้างภาระในอนาคต

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์รายหนึ่งให้ความเห็นต่อการดำเนินงานของกลุ่มทรูว่า มาตรการบริหารต้นทุนที่บริษัทจะให้ความสำคัญเพิ่มเติมในปี2562 เมื่อรวมกับกลยุทธ์การเพิ่มรายได้ต่อเลขหมายผ่านด้วยการเป็นผู้นำด้านดิจิทัลแพลตฟอร์ม จะเป็นปัจจัยสำคัญผลักดันผลดำเนินงานที่ดีของบริษัทในอนาคตอีกด้วย จึงทำให้มีความน่าสนใจเข้าลงทุนระยะยาว

เนื่องจากภาพของการแข่งขันจากนี้ไปจะไม่มีการแย่งฐานลูกค้า เพราะทุกค่ายเข้าใจตรงกันว่าจำนวนเลขหมายคงไม่เพิ่มไปกว่านี้ แต่การแข่งขันจะมุ่งประเด็นไปที่การเพิ่มรายได้ต่อเลขหมาย ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ไม่มีค่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน ดังนั้น หากทรูยังได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้บริการต่อเนื่อง ย่อมมีผลต่อผลดำเนินงานและความนิยมที่ทิ้งคู่แข่งในอุตสาหกรรม ซึ่งน่าจับตามองต่อการเติบโตในอนาคต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook