บิ๊กตู่ จี้ กทม.เร่งประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งโครงการ ย้ำค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย

บิ๊กตู่ จี้ กทม.เร่งประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งโครงการ ย้ำค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย

บิ๊กตู่ จี้ กทม.เร่งประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งโครงการ ย้ำค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ กทม. เร่งเปิดประมูลร่วมทุนโครงการรัฐ (PPP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อกำหนดแนวทางการให้บริการประชาชน รวมถึงค่าโดยสารที่ต้องมีความเหมาะสมกับผู้มีรายได้น้อย โดยเริ่มจากการเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งเส้นนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการนโยบาย การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ด PPP) เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจะเร่งเปิดให้เอกชนเข้ายื่นข้อเสนอแข่งขันโครงการดังกล่าว 

นอกจากนี้ จะกำหนดให้มีการลงนามสัญญาภายในเดือเมษายน 2562 เพื่อให้ได้ข้อสรุปด้านเอกชนที่ดำเนินการและนโยบายด้านค่าโดยสารใหม่ ก่อนที่จะเริ่มเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ) ในวันที่ 16 เมษายน 2562 ปัจจุบันพบว่ามีผู้โดยสารเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมทั้งสิ้นเกือบ 80,000 คนต่อวัน ตลอดช่วงที่เปิดทอดลองมากว่าสองสัปดาห์นั้นยังไม่มีปัญหาขัดข้องใดที่กระทบต่อการเดินทางของผู้โดยสาร

อย่างไรก็ตาม ตามเงื่อนไขในการประมูลนั้นกำหนดว่าเอกชนต้องรับภาระภาระหนี้สินและทรัพย์สินจำนวน 1 แสนล้านบาทแทน กทม. พร้อมชำระภายใน 10 ปีให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ด้านเกณฑ์การให้คะแนนจะเน้นไปที่การเสนอผลตอบแทนให้ กทม. และคนที่เสนอค่าโดยสารต่ำที่สุดซึ่งค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ-ใต้ ตลอดสายต้องไม่เกิน 65 บาท (ลำลูกกา-บางปู) และ (ลำลูกกา-บางหว้า/บางหว้า-บางปู) ตามที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ มีเอกชนที่มีศักยภาพสนใจเข้าร่วมประมูลเส้นทางดังกล่าวเพื่อเข้ามาบริหารแทนบีทีเอสในอนาคต ตอนนี้ยังเปิดเผยไม่ได้ 

ผู้ว่า กทม. ระบุว่า ภายในไตรมาสแรกของปี 2562 จะเร่งขั้นตอนการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเปิดประมูลโครงการเพื่อให้ได้ตัวเอกชนที่ชนะโครงการภายในเดือนเมษายน จากนั้นจะเจรจาต่อรองสัญญาและลงนามสัญญาก่อนวันที่ 16 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันเริ่มเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้สีเขียวส่วนต่อขยายวันแรก

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่าโครงการดังกล่าวจะมีอายุสัมปทาน 24-25 ปี ในรูปแบบเปิดให้เอกชนร่วมทุน PPP แบบคัดเลือกเอกชนบริหารรายเดียวตลอดเส้นทาง เพื่อรองรับการหมดสัมปทานของบีทีเอสที่จะสิ้นสุดในปี 2585 ทว่าในเงื่อนไขกทม.สามารถบอกเลิกสัญญาได้ตั้งแต่ปี 2572 ส่วนด้านปริมาณผู้โดยสารส่วนต่อขยายในปีแรกที่เปิดให้บริการอยู่ที่ราว 5.34 แสนคนต่อวัน รวมรายได้ปีละ 14,014 ล้านบาท สุดท้ายในปี 2584 จะมีผู้โดยสารส่วนต่อขยายรวม 5.9 แสนคนต่อวัน รวมรายได้ปีละ 20,582 ล้านบาท 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook