นักเศรษฐศาสตร์ชี้แนวคิดตั้ง 'กระทรวงข้าว' ไม่ตอบโจทย์

นักเศรษฐศาสตร์ชี้แนวคิดตั้ง 'กระทรวงข้าว' ไม่ตอบโจทย์

นักเศรษฐศาสตร์ชี้แนวคิดตั้ง 'กระทรวงข้าว' ไม่ตอบโจทย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากมีกลุ่มตัวแทนเกษตรกลุ่มหนึ่งไปยื่น สนช.เพื่อให้พิจารณาตั้ง 'กระทรวงข้าว' แท้จริงตอบโจทย์หรือไม่?

เมื่อ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศ ไปยื่นหนังสือถึง สนช. เพื่อเสนอโครงการจัดตั้งกระทรวงข้าวเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ประเด็นนี้ ผศ.ดร.เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เดชรัตกล่าวว่า ผู้เสนอต้องการให้ปัญหาเรื่องข้าวเป็นที่ได้รับความสำคัญเพิ่มมากขึ้น พยายามบูรณาการต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาให้มาที่จุดเดียว แต่ว่าการตั้งกระทรวงการข้าว อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์นั้นทั้งหมดได้ เพราะว่าการที่จะแก้ปัญหาข้าวได้ ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องมีอำนาจที่รวมศูนย์อยู่ที่ใดที่หนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญกว่าอำนาจที่รวมศูนย์คือแนวทางที่ถูกต้อง แนวทางที่ตอบโจทย์พี่น้องเกษตรกรได้จริงๆ คราวนี้คำถามต่อมาก็คือว่า แล้วการรวมศูนย์ที่จะมาเป็นกระทรวงการข้าว เราสามารถจะรวมทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้าวเข้ามาไว้ที่จุดเดียวได้จริงหรือไม่ คำตอบคือมันก็ไม่สามารถที่จะทำได้จริงๆ เราคงไม่สามารถดึงเฉพาะการชลประทานส่วนที่เกี่ยวกับนาข้าวมาอยู่ที่กระทรวงการข้าวได้

ประเด็นนี้เดชรัตมองว่า เพราะฉะนั้นการมีกระทรวงข้าว หรือปัจจุบัน คือกรมการข้าวมันจึงไม่ได้สำคัญที่ว่าอำนาจมันมีน้อยหรือมีมาก มันสำคัญที่ว่าเราได้ประสานความรู้และทรัพยากรทุกส่วนที่เรามีอยู่แล้วเข้ามาหรือไม่ ส่วนหนึ่งก็ต้องถามว่าตั้งกระทรวงข้าวจะใช้งบประมาณเท่าไร ซึ่งส่วนนี้ก็ยังไม่สามารถตอบได้ แต่ถ้าหากมีการจัดตั้งกระทรวงข้าวจริงเดชรัตมองว่า งบที่ได้เพิ่มไม่ควรไปลงที่ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ แต่ควรนำไปใช้ในการพัฒนาพันธุ์ข้าว หรือ ส่งเสริมการเกษตร

ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เดชรัตมองต้นเหตุว่าปัจจุบันปริมาณผลผลิตข้าว มันยังเกินความต้องการอยู่ซัก 10-15 เปอร์เซนต์ การที่ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 10-15% มันไม่ได้เป็นปัญหาที่หนักนัก แต่ว่าเวลาเกิน 10-15% มันทำให้ราคาตกต่ำค่อนข้างมาก ปัญหาคือว่าเราไม่มีทางเลือกให้กับพี่น้องชาวนาที่จะลดพื้นที่การปลูกข้าวส่วนหนึ่งลง ไม่ใช่เลิกการเป็นชาวนา ลดลง 10-15% แล้วเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นเสริม

เดชรัต กล่าวต่อไปว่า แม้ปีนี้ข้าวหอมมะลิไทยจะกลับมาเป็นแชมป์เรื่องคุณภาพ แต่ก็ควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะตราบใดที่ข้าวยังมีคุณภาพดี ราคายังขายได้สูง ปัญหาก็คือว่ามันมีข้าวอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งมันเป็นข้าวที่คุณภาพไม่ค่อยดี ขายก็จะขายได้ราคาน้อย เพราะงั้นเราจะทำอย่างไร ที่เราจะเปลี่ยนข้าวคุณภาพไม่ดี ให้มันเป็นข้าวคุณภาพดี สิ่งที่เราต้องการคือแนวทางที่ถูกต้องในการเพิ่มแรงจูงใจ หรือตอบโจทย์สำหรับปรับเปลี่ยนของพี่น้องเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นโจทย์เรื่องของช่องทางการตลาดที่จะมีให้กับพี่น้องเกษตรกร รวมถึงการแปรรูปให้ออกมาเป็นมูลค่าที่มันเพิ่มมากขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook