“6 เรื่องต้องรู้!! ก่อนช็อปกระจายตามมาตรการช็อปช่วยชาติ 2559!!!”

“6 เรื่องต้องรู้!! ก่อนช็อปกระจายตามมาตรการช็อปช่วยชาติ 2559!!!”

“6 เรื่องต้องรู้!! ก่อนช็อปกระจายตามมาตรการช็อปช่วยชาติ 2559!!!”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลับมาพบกันอีกครั้งหลังจากห่างหายกันไปนานมากกกกกกกกกก!!!

คราวนี้เรื่องราวที่ Money Ideas จะขอมานำเสนอ คือ เรื่องราวที่กำลังเป็นกระแสยิ่งกว่าข่าวฮ๊อตของดาราคู่ไหนๆ ซะอีก นั่นคือเรื่องราวของ ‘มาตรการช็อปช่วยชาติปี 2559’ นั่นเอง กำลังเป็น กระแสกัน เพราะตอนนี้ทุกคนกำลังตื่นตัวกันขั้นสุด เรียกว่าพอถึงวันหลายๆ คนคงเตรียมกำเงินพุ่งตัวไปห้างเพื่อช็อปกันให้กระจาย!!!

 

แต่อย่างว่าแหละค่ะ ขึ้นชื่อว่า ‘ลดหย่อนภาษี’ ย่อมต้องมีรายละเอียดยิบย่อยที่ทุกคนต้องรู้ก่อนเตรียมก่อนให้ดี ไม่งั้นช็อปให้กระจายก็ไม่ได้ใช้ลดหย่อนภาษีนะจ๊ะ!!!

 

แล้วเราต้องรู้อะไรบ้างล่ะ? เอาล่ะค่ะเรื่องที่ควรรู้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของสิทธิที่ใช้ลดหย่อนต่างๆได้แก่

♦ 1.ฐานภาษีของเราเอง

ต้องเข้าใจก่อนนะจ๊ะทุกคน ว่านโยบายภาษีการลดหย่อนนั้นไม่ได้เหมาะกับมนุษย์เงินเดือนไปซะหมด อย่าลืมว่าฐานเงินเดือนของแต่ละคนไม่เท่ากัน (แอบเศร้าละสิฉันรู้นะ!!!) ทำให้มนุษย์เงินเดือนบางคนเมื่อรวมรายได้ทั้งปีและหักลบค่าลดหย่อนแล้ว รายได้สุทธิยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีนะจ๊ะ เพราะฉะนั้นคนกลุ่มเหล่านี้ต่อให้ช็อปยังไงก็ไม่เกิดผลใดๆ กับชีวิตนะตัวเธอ (แต่จะเกิดผลร้ายแทนถ้าไม่มีเงินแต่ก็ยังช็อปแบบไม่ลืมหูลืมตา)

อีกเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจคือ เงิน 15,000 บาท ที่เขาบอกว่าลดหย่อนได้เนี่ย ถึงเราจะซื้อของราคา 15,000 บาท (แบบชิ้นเดียวหรือแยกซื้อแล้วนำมารวมกันก็ตาม) เขาไม่ได้คืนเงินภาษีที่เราต้องจ่ายโดยตรงนะ แต่จะนำยอดการซื้อสินค้าไปหักลบรายได้ก่อนที่จะนำมาคำนวณภาษี ตัวอย่างเช่น

ผู้มีรายได้สุทธิ 0-150,000 บาท กลุ่มนี้ได้รับการยกเว้นภาษีเพราะฉะนั้นตกไปนะจ๊ะ
ผู้มีรายได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท เสียภาษีอัตรา 5% เมื่อหักวงเงิน 15,000 บาทที่ซื้อสินค้าเพื่อที่นำมาหักภาษีแล้ว เท่ากับว่าได้ลดหย่อนภาษีไป 750 บาท
ผู้มีรายได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท เสียภาษีอัตรา 10% เมื่อหักวงเงิน 15,000 บาทที่ซื้อสินค้าเพื่อที่นำมาหักภาษีแล้ว เท่ากับว่าได้ลดหย่อนภาษีไป 1,500 บาท
ผู้มีรายได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท เสียภาษีอัตรา 15% เมื่อหักวงเงิน 15,000 บาทที่ซื้อสินค้าเพื่อที่นำมาหักภาษีแล้ว เท่ากับว่าได้ลดหย่อนภาษีไป 2,250 บาท
ผู้มีรายได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษีอัตรา 20% เมื่อหักวงเงิน 15,000 บาทที่ซื้อสินค้าเพื่อที่นำมาหักภาษีแล้ว เท่ากับว่าได้ลดหย่อนภาษีไป 3,000 บาท
ผู้มีรายได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท เสียภาษีอัตรา 25% เมื่อหักวงเงิน 15,000 บาทที่ซื้อสินค้าเพื่อที่นำมาหักภาษีแล้ว เท่ากับว่าได้ลดหย่อนภาษีไป 3,750 บาท
ผู้มีรายได้สุทธิ 2,000,001-4,000,000 บาท เสียภาษีอัตรา 30% เมื่อหักวงเงิน 15,000 บาทที่ซื้อสินค้าเพื่อที่นำมาหักภาษีแล้ว เท่ากับว่าได้ลดหย่อนภาษีไป 4,500 บาท
ผู้มีรายได้สุทธิมากกว่า 4 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีอัตรา 35% เมื่อหักวงเงิน 15,000 บาทที่ซื้อสินค้าเพื่อที่นำมาหักภาษีแล้ว เท่ากับว่าได้ลดหย่อนภาษีไป 5,250 บาท

 

♦ 2.พระเอกของการช็อบ : ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

หากเราผ่านด่านแรก (หมายถึงเงินเดือนผ่านอะนะ) ก็มาถึงด่านต่อไป นั่นคือก่อนซื้อของทุกครั้งเราต้องขอใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป โดยออกเป็นชื่อของเรา(หรือชื่อคนที่จะใช้ลดหย่อนนะจ๊ะ) ไม่สามารถใช้ใบเสร็จแทนนะจ๊ะ ขอย้ำ!!!ใช้ได้เฉพาะใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเท่านั้น

(ตัวอย่างใบกำกับภาษีจากเว็บไซต์ https://goo.gl/LA9b1n )

 

♦ 3.จัดเรียงลำดับความสำคัญของชีวิต

แน่นอนว่ารายการที่สามารถลดหย่อนมีมากมายและรายการที่ลดหย่อนไม่ได้ก็มีจำนวนมากเช่นกัน เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจซื้อให้เช็คก่อนว่าสิ่งนั้นใช้ลดหย่อนได้นะจ๊ะ

 

♦ 4.อย่าซื้อของที่ไม่มีความจำเป็น

สำหรับหลายๆคนที่อยากใช้สิทธิ์ลดหย่อนในมาตรการช็อปช่วยชาติปีนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะซื้ออะไรดี Money Ideas ขอแนะนำว่า
– เลือกซื้อเฉพาะของใช้จำเป็นสำหรับปีหน้า เช่น พวกสินค้าที่เราใช้แล้วหมดไปและมีความจำเป็นต้องซื้ออยู่แล้วเช่น สบู่, ยาสีฟัน, ยาสระผม, ครีมบำรุงผิว, โฟมล้างหน้า หรือผ้าอนามัย (ขอจำเป็นของสาวๆ) หรือแม้แต่อาหารหรือน้ำดื่มที่สามารถตุนได้ รับรองว่าซื้อแค่นี้ก็เกิน 15,000 บาทแล้วจ้าาาาา
– พยายามเลี่ยงของที่ไม่จำเป็นหรือของบางอย่างที่อยากได้เป็นการส่วนตัว เช่น นาฬิกา, กระเป๋า, น้ำหอม และอื่นๆ

 

♦ 5.อย่ารวมเรื่องการเที่ยวกับการช็อป

หากเราไปเที่ยวแล้วต้องการลดหย่อนภาษีจากการไปเที่ยว ไม่สามารถนำเข้ามาลดหย่อนกับมาตรการนี้ได้ (เช่นค่าที่พักโรงแรมในประเทศ, แพ็คเกจทัวร์ทั้งในและต่างประเทศ, ค่าตั๋วเครื่องบินทั้งในและต่างประเทศ) แต่สามารถใช้ลดหย่อนมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท้องเที่ยวได้แทน

 

♦ 6.หากต้องการลดหย่อนภาษีแบบจริงจัง

หากคุณอยากลดหย่อนภาษีแบบจริงจังให้ลองศึกษาเรื่องการซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ก่อนจะใช้มาตราการนี้ หรืออาจจะใช้วิธีการเลือกซื้อกองทุนรวม LTF/RMF ก็ได้ เพราะนอกจากจะได้ลดหย่อนภาษีแล้ว ยังสามารถเก็บสะสมเงินสำหรับลงทุนในอนาคตหรือใช้สะสมเพื่อเป็นกองุนสำหรับการเกษียณก็ได้

 

แน่นอนว่าการลดหย่อนภาษีอย่างถูกต้องนั้นเรียกได้ว่ายุ่งยากพอสมควร แต่หากเราค่อยๆศึกษาและเรียนรู้ทำความเข้าใจกับภาษี ลองคิดว่าภาษีก็เหมือนเกมที่เราพยายามเล่นเพื่อฝ่าด่านภาษีให้ได้ก็สนุกไปอีกแบบนะจ๊ะ

แต่สิ่งสำคัญอีกเรื่องคือหากเราไม่มีเงินสดในมือ เราไม่จำเป็นต้องพยายามหาเงินโดยการยืมมาเพื่อต้องใช้ให้ได้ในช่วงนี้ก็ได้นะจ๊ะพวกเธอ เดี๋ยวจะได้ไม่คุ้มเสียแทน~~~

 

 

Money Ideas Column

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook