10 สาเหตุ ผู้นำล้มเหลว

10 สาเหตุ ผู้นำล้มเหลว

10 สาเหตุ ผู้นำล้มเหลว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากจะกล่าวถึง “ผู้นำ” คิดว่าคนที่สามารถจะขึ้นมาเป็นผู้นำได้ คงเป็นคนที่พร้อมด้วยสติปัญญา ทัศนคติ และการบริหารใจคน ล้วนเป็นเรื่องที่สามารถพัฒนากันได้ และแน่นอนว่าสามารถทำผิดพลาดกันได้ด้วยเช่นกัน TerraBKK ขอส่งต่อความรู้ดีเกี่ยวกับ สาเหตุ 10 ประการที่สร้างความล้มเหลวมาสู่การเป็นผู้นำ จากหนังสือ Think&Grow Rich ของผู้เขียน Napoleon Hill หนังสือที่มียอดขายกว่า 60 ล้านเล่มทั่วโลก ลองมาดูกันสิว่า อะไรคือสาเหตุที่จะนำพา ผู้นำล้มเหลว กันได้บ้าง รายละเอียดดังนี้

1.ไม่สามารถจัดการกับเรื่องปลีกย่อยได้

ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการเรื่องปลีกย่อย ไม่มีผู้นำที่มีอัจฉริยภาพคนใด ทำตัวเองให้ยุ่งเหยิง จนไม่มีเวลาสำหรับเรื่องสำคัญ ความจริงแล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้นำหรือผู้ตาม หากคุณทำตัววุ่นวายจนไม่เหลือเวลาปรับเปลี่ยนแผนการณ์ ไม่มีเวลาสำหรับงานเร่งด่วน นั้นคือคุณกำลังจะกลายเป็นคนไร้ประสิทธิภาพในการทำงาน วิธีแก้ไข = ผู้นำควรฝึกตนเองให้มีนิสัยจัดระเบียบรายละเอียดปลีกย่อยได้ดี แม้ในช่วงเวลาอันน้อยนิด


2.ไม่เต็มใจทำงานบริการต่ำ ๆ

เมื่อมีโอกาสหรือเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้า ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ควรเต็มใจทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานอะไร งานที่คุณสั่งให้คนอื่นหรือลูกน้องทำ งานนั้นคุณควรจะยินดีทำได้ด้วยเช่นกัน บุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือบุคคลที่พร้อมรับใช้ทุกคน มันคือสิ่งสำคัญในการบริหารใจลูกน้อง วิธีแก้ไข = ผู้นำควรทำในสิ่งที่สั่งให้ลูกน้องทำ เพื่อเรียกขวัญกำลังใจในการทำงาน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกน้อง


3. คาดหวัดผลตอบแทนจากความรู้

สิ่งที่มากกว่าการอวดความรู้ที่มี คือการนำไปประยุกต์ใช้ลงมือทำ โลกไม่เคยจ่ายผลตอบแทนในสิ่งที่คุณรู้ แต่จ่ายในสิ่งที่คุณนำมาประยุกต์ใช้ทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรต่างหาก วิธีแก้ไข = นำความรู้ที่มี มาปฏิบัติติลงมือทำจริง ไม่ว่าจะทำเองหรือสั่งการณ์ให้ลูกน้องทำก็ตาม


4. หวาดกลัวการแข่งขันจากผู้ตาม

ผู้นำที่กลัวว่าลูกน้องจะยึดอำนาจ มั่นใจได้เลยว่าในไม่ช้า ความกลัวนั้นจะกลายเป็นเรื่องจริง ผู้นำที่ดีควรฝึกทักษะลูกน้อง ส่งเสริมให้เป็นตัวแทนตนมาปฏิบัติติงานในด้านต่าง ๆได้ ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ เสมือนแบ่งร่างไปทำงานที่ต่าง ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน วิธีแก้ไข = ให้ความรู้เพิ่มความชำนาญแก่ลูกน้องที่มีศักยภาพในการทำงาน เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิภาพกว่าเดิม ตัวผู้นำเองจะได้มีเวลามากขึ้น ลูกน้องทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์กรก็อยู่ในทิศทางความเจริญก้าวหน้า


5.ไร้จินตนาการ

หากปราศจากจินตนาการหรือความคิดสร้างสรรค์แล้ว แม้จะเป็นผู้นำ ก็ยากที่จะก้าวข้ามปัญหาหรือวิกฤติได้ คือไม่สามารถเอาตัวรอดจากปัญหา หรือค้นหาทางออกที่ต่างไปจากเดิมได้ วิธีแก้ไข = ฝึกตนเองให้มีความคิดสร้างสรรค์ในทุกวัน ทำอะไรใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยทำ หรือลองหามุมมองใหม่ ๆ มาประดับความคิดทุกวัน


6. ความเห็นแก่ตัว

ผู้นำที่ชอบกล่าวอ้างความสำเร็จของลูกน้องมาเป็นของตนเอง แน่นอนว่าคงไม่มีลูกน้องคนไหนชอบ ร้ายกว่านั้นคือการหมดศรัทธาในตัวผู้บังคับบัญชาและหมดใจรักในการทำงาน พื้นฐานมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดในชีวิตย่อมต้องการได้รับคำชมเชย คำยกย่อง เป็นเรื่องปกติ วิธีแก้ไข = ผู้นำตัวจริงจะไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ขอรับเพียงความพึงพอใจในความสำเร็จเท่านั้น ให้ความสำคัญในคุณค่าของทีมงานและลูกน้อง เมื่อปฎิบัติงานได้ดี


7. ทำตามอำเภอใจของตนเอง

ใครจะอยากเป็นลูกน้องภายใต้ผู้บังคับบัญชาที่เอาแต่ใจ นอกจากจะไม่ใช่เรื่องดีกับตัวเองแล้ว ยังทำลายความอดกลั้นของลูกน้องที่ต้องยอมทำตามด้วย วิธีแก้ไข = ผู้นำที่ดีควรเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง การรับฟังปัญหาหรือทางแก้ไข หรือความรู้สึกนึกคิดในจิตใจของลูกน้อง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร


8. ไม่จงรักภักดี

สังเกตได้ว่า เมื่อใดที่เกิดความไม่จงรักภักดีขึ้นในองค์กร ผู้นำที่ไม่จงรักภักดีต่อหน้าที่ตนเอง ต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใต้บังคับบัญชา มักจะไม่สามารถรักษาภาวะความเป็นผู้นำไว้ได้ ทำลายคุณค่าตัวเอง และคงไม่มีใครอยากจะร่วมงานด้วย นั้นเป็นสาเหตุหลักก่อให้เกิดความล้มเหลวในชีวิตผู้นำ วิธีแก้ไข = อย่าหลงไปกับความโลภหรืออารมณ์ชั่ววูบ เพราะประวัติเสีย ๆ จะตราหน้าคุณไปตลอดชีวิต


9. หลงอำนาจมากเกินไป

ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะทำงานโดยการกระตุ้นงาน พยายามไม่สร้างความกลัวหรือความซึมเศร้าลงไปในจิตใจของลูกน้อง ผู้นำที่พยายามใช้อำนาจบังคับในลูกน้องประทับใจไม่ก่อผลดีใด ๆ วิธีแก้ไข = ผู้นำที่ดีไม่ต้องโฆษณาตนเอง เพราะมันปรากฏชัดอยู่แล้วว่า พฤติกรรมคุณเป็นอย่างไรความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจ และความยุติธรรมในภาวะผู้นำของตัวคุณ


10. หลงยศถาบรรดาศักดิ์

ผู้นำที่มีประสิทธิภาพและยิ่งใหญ่ตัวจริง จะสังเกตได้ว่าเขาไม่ต้องการการนับถือแบบลุ่มๆดอนๆ จากลูกน้อง และเขามักเป็นคนอ่อนน้อม ดูสุภาพกับทุกคนเสียมากกว่า วิธีแก้ไข = ประตูสำหรับผู้นำที่แท้จริงควรเปิดกว้างสำหรับทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีพิธีรีตอง หรือการโอ้อวดสำคัญตนเองใด ๆ –เทอร์ร่า บีเคเค


อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook