ขริบไร้เลือด คืออะไร ต่างจากขริบแบบดั้งเดิมตรงไหน?
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/me/0/ud/15/75749/circumcised.jpgขริบไร้เลือด คืออะไร ต่างจากขริบแบบดั้งเดิมตรงไหน?

    ขริบไร้เลือด คืออะไร ต่างจากขริบแบบดั้งเดิมตรงไหน?

    2021-10-25T15:05:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ขริบไร้เลือด ช่วงหลังเราจะได้ยินคำนี้บ่อย เนื่องจากการขริบแบบนี้กำลังรับความสนใจจากหนุ่มๆ หลายคน เพราะการขริบด้วยวิธีนี้หลายเสียงบอกว่าเจ็บน้อยกว่า แผลสวยกว่า แต่ ข้อดี-ข้อเสีย จริงๆ คืออะไร วันนี้มีความรู้จากคุณหมอ กัมปนาท พรยศไกร ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ เจ้าของเพจ Sarikahappymen ซึ่งเป็นเพจให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพศชาย มาฝาก

    หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าขริบนะครับ ก็คือการตัดหนังตรงปลายของอวัยวะของผู้ชายครับ ซึ่งปกติหนังตรงนี้ทุกคนจะมีมาตั้งแต่เกิด และค่อย ๆ ร่นเพื่อเปิดสามารถเปิดทำความสะอาดได้เมื่อเริ่มโตขึ้น

    แต่ทีนี้ก็มีบางคนที่หนังมันรัดมากหรือตีบมากจนเปิดไม่ได้ หรือเปิดได้ไม่สะดวก หรือเป็นข้อบังคับตามหลักศาสนาเช่นอิสลาม (สุหนัต) จึงต้องมาขริบหนังตรงนี้ออกเพื่อความสะดวกในการดูแลสุขอนามัยของอวัยวะส่วนสำคัญครับ

    ทีนี้ปกติการขริบ (จริง ๆ มันมีมานานมากแล้วนะครับ ทำกันมาเป็นหมื่น ๆ ปีละ)​ ก็ทำโดยหมอฉีดยาชา แล้วใช้มีดค่อย ๆ ตัดและเย็บ ซึ่งปกติก็ใช้เวลาประมาณ 40 นาทีถึง 1 ชม.ครับ ก็เป็นอันเรียบร้อย อาจมีเลือดออกมากน้อยซึ่งขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ผู้ทำแต่ละคนครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำแบบนี้กันมาตลอดครับ

    แต่ทีนี้เมื่อการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้น ก็มีการพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือใหม่ ๆ เข้ามาช่วย ประกอบกับปัจจุบันคนนิยมทำการขริบกันมากขึ้น เค้าก็เลยมีการคิดเครื่องมือเพื่อช่วยให้การขริบมันง่ายขึ้น เร็วขึ้น เลือดออกน้อยลง เจ็บน้อยลงนั่นแหละครับ ซึ่งเมืองนอกก็มีมาประมาณซัก 10 ปีละ ส่วนในเมืองไทยน่าจะมีการนำมาใช้ซัก 4-5 ปีนี่เองครับ

    ซึ่งหลักการทำงานของเจ้าเครื่องนี้ก็คือตัดและเย็บในขั้นตอนเดียวเลยครับ (Stapler circumcision)​ก็เลยทำให้เจ็บน้อยกว่า เสียเลือดน้อยกว่า แผลเรียบร้อยกว่าแบบเดิมมากครับ เพียงแต่ราคาก็จะสูงกว่าแบบเดิมนิดหน่อย ซึ่งทำแบบปกติก็จะประมาณ 7-8000 ถ้าเป็นแบบใหม่ก็จะประมาณ 10000 นิด ๆ ครับ ซึ่งสามารถทำได้ทุกอายุนะครับ

    ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจและปลอดภัยนะครับ หากใครมีความจำเป็นต้องทำหรือมีหมวกอยู่และดูแลยาก ก็ยอมเจ็บซักนิดเพื่อสุขอนามัยที่ดีของเราและคนที่เรารักครับ

    ขอขอบคุณ

    ข้อมูล :sarikahappymen