ว่าด้วยเรื่องของ UBER ที่คุณ(คง)ไม่รู้

ว่าด้วยเรื่องของ UBER ที่คุณ(คง)ไม่รู้

ว่าด้วยเรื่องของ UBER ที่คุณ(คง)ไม่รู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชื่อของ UBER กลายเป็นที่รู้จักและคุ้นหูคนไทยมากขึ้น แต่อาจจะไม่ใช่ในแง่ดีนักสำหรับธุรกิจบริการแท็กซี่แบบเอ็กคลูซีฟผ่านแอพพลิเคชั่นจากแคลิฟอร์เนีย บางทีคงจะเป็นช่วงเคราะห์ซ้ำกรรมซัดก็ว่าได้ เพราะหลังจากถูกหน่วยงานราชการในประเทศสั่งให้หยุดบริการ(บางส่วน) ก็ยังต้องเผชิญข้อหาร้ายกาจกับเหตุการณ์ที่คนขับแท็กซี่ของ UBER กระทำการข่มขืนลวนลามลูกค้าสาวในอินเดีย ไม่นับก่อนหน้านี้ในเรื่องฉาวกับบทสัมภาษณ์ของ CEO ที่ต้องการขจัดนักข่าวที่มีปัญหา UBER

เราไม่อาจตัดสิน UBER ได้เพราะนั่นไม่ใช่หน้าที่ของ GMLive สำหรับบริการแท็กซี่รูปแบบใหม่ที่เพิ่งจะเข้ามาทำตลาดในไทยได้ไม่ถึงปีนี้ อาจจะต้องเจออุปสรรคเล็กน้อยกับกฎหมายและแรงต่อต้านในบ้านเรา แต่ UBER ก็ยังไปได้ดีและเติบโตในอีกหลาย 10 เมืองทั่วโลกที่พวกเขาไปเปิดให้บริการ ด้วยหลักการณ์ง่ายๆ คือ สะดวกสบายกว่า, ปลอดภัยกว่า และคุ้มค่ากว่า ทั้งคนนั่ง และคนขับ

ถึงกระนั้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีคำสั่งและแรงกดดันไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตามทำให้ UBER ตัดสินหยุดให้บริการ UBER X ในเมืองไทย (ไม่ระบุว่าจะกลับมาให้บริการหรือไม่) แต่ก็ยังมี UBER Black ที่ต้องจ่ายแพงกว่ามากหน่อยหากจะใช้บริการอยู่ ซึ่งนั่นทำให้เกิดเสียงโห่ และข้อสงสัยจากกลุ่มผู้ใช้บริการ UBER เป็นประจำต่อหน่วยงานราชการเมืองไทยว่าเพราะอะไรถึงทำให้ทางเลือกในการเดินทางของพวกต้องสิ้นสุดลง เช่นเดียวกับเราที่ต้องตามสืบค้นหาเรื่องราวของ UBER ให้มากขึ้น

‘ทราวิส คาลานิค’ หนึ่งในผู้ก่อตั้งไม่ได้ต้องการจะเปิดตัว UBER ขึ้นมาสักเท่าไหร่

ทราวิส ลาออกจาก UCLA ในปี เพื่อก้าวสู่การบุก ซิลิคอน วัลลีย์ อย่างเต็มตัว ต่อมาในปี 2008 เขาได้เดินทางไปงาน Le Web งานสัมนาด้านเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งจัดขึ้นที่ ปารีส และที่นั่นเขาได้พบกับ ‘แกเร็ธ แคมป์” ทั้งคู่คุยกันถูกคอและต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการสร้างธุรกิจเทค สตาร์ต อัพ อะไรสักอย่างที่จะประสบความสำเร็จในระดับโลก ทั้งคู่ตัดสินใจขายธุรกิจเดิมของตัวเอง คาลานิค ขาย Red Swoosh ส่วน แคมป์ก็ขาย StumbleUpon ไปให้ eBay เพื่อที่จะมาทุ่มเททั้งหมดให้กับธุรกิจใหม่ของพวกเขาซึ่งใช้เวลาค้นหาไอเดียอยู่นานจนมาลงตัวกับความคิดการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับให้บริการรถยนต์โดยสาร

ซึ่งจริงๆแล้ว คาลานิค เองก็ไม่ได้เห็นด้วยกับไอเดียนี้สักเท่าไหร่ แคมป์เปิดเผยว่า ในช่วงเริ่มต้น คาลานิค พูดเสมอว่า เขาไม่ได้อยากจะให้มันออกมาเป็นบริการรถแท็กซี่เลย แต่แคมป์ ก็เลือกที่จะยึดมั่นในความคิด แถมยังเผด็จการใส่คาลานิคหน่อยๆ ด้วยการจดชื่อโดเมนเนมเว็บไซต์ UberCab.com ไว้อีก จากนั้นก็ใช้ทุกยุทธวิธีการตะล่อมให้ คาลานิค คล้อยตามและในที่สุด UBER ก็ให้บริการครั้งแรกที่ซานฟรานซิสโกในปี 2010

UBER ธุรกิจบริการที่อยู่บนพื้นที่สีเทามาเสมอ

UBER เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของประโยคที่ว่า ‘กฎหมายไม่สามารถไล่ตามเทคโนโลยีได้ทัน’ เพราะภายหลังจากการเปิดตัวได้ไม่นานนักทางสำนักเทศบาลเมืองซานฟรานซิสโกเองก็ได้ออกคำสั่งไม่ให้ประชาชนใช้บริการของ UBER ขณะที่รัฐเนวาดาเองก็เพิ่งจะมีคำสั่งคล้ายๆกันออกมาเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ UBER หยุด เพราะเมื่อพวกเขาทำที่นี่ไม่ได้ก็ย้ายไปทำที่อื่นที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามอย่างชัดเจน ก่อนหน้านี้ เยอรมัน และสเปน ก็พบกับข้อโต้แย้งที่ว่านี้ รวมไปถึงการรวมตัวประท้วงของผู้ขับแท็กซี่สาธารณะ ที่รุนแรงกว่าประเทศไทยหลายเท่านัก หรือแม้แต่ในอินเดียเองที่มีคดีอื้อฉาวออกมา แต่ก็ไม่ได้มีอะไรที่จะมาสั่งห้าม UBER ทำธุรกิจต่อไปแม้บางเมืองพวกเขาจะต้องเจอกับกำแพงและอุปสรรค แต่บางเมืองพวหกเขาก้ไปได้สวย อย่างในโตเกียวเอง UBER ได้ร่วมกับบริษัทให้บริการเช่าที่จอดรถจัดโปรโมชั่น จอดแล้วเข้าเมืองแบบหรูๆด้วย UBER โดยสนับสนุนให้คนที่อยู่นอกเมืองหากมาจอดรถไว้จะได้ส่วนลดการใช้บริการUBER ถึง 4000 เยน สำหรับนั่งเข้าไปใจกลางโตเกียว

ใครๆก็เป็นคนขับ UBER ได้

แน่นอน ว่าสิ่งที่ คาลานิค และ แคมป์ ถนัดไม่ใช่เรื่องของการซื้อรถมาทำแท็กซี่ให้คนขับเข้ามาเช่าออกไปหารายได้ พวกเขาถนัดในเรื่องไอที พวกเขาเพียงแค่เขียนแอพพลิเคชั่น และระบบเว็บไซต์ ที่ถ้าหากคุณมีรถสภาพดี(กว่าแท็กซี่) มีเวลาว่าง ก็สามารถอัพโหลดเอกสารข้อมูลส่วนตัว ใบขับขี่ และประกันรถยนต์ของตัวเอง เพียงเท่านี้ คุณก็เป็นคนขับ UBER ได้แล้ว ที่เหลือก็เพียงแค่รอการร้องขอบริการและทำตามเพื่อรับค่าตอบเทน

อินเดียไม่ใช่คดีสะเทือนขวัญครั้งแรก

คดีข่มขืนที่ อินเดีย อาจจะได้รับความสนใจจากคนไทยเพราะช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับประเด็นการถกเถียงที่เกิดขึ้นในบ้านเรา แต่ก่อนหน้านี้ UBER ก็เคยมีกรณีอื้อฉาวมาแล้วตั้งแต่ยุคแรกๆในซานฟรานซิสโก ทั้งคนขับ UBER รายหนึ่งถูกตั้งข้อหาฆาตรกรรม จากการที่เขาขับรถที่กำลังให้บริการชนเด็ก 6 ขวบเสียชีวิต หรืออีกคดีก็คือ หญิงสาวรายหนึ่งถูกพาขับออกนอนกเส้นทางไกลถึง 32 กิโลเมตร แม้เธอจะตะโกนกรีดร้อง ไปจนถึงร้องไห้อ้อนวอนแค่ไหนคนขับก็ไม่ปล่อยเธอลงแต่สุดท้ายก็ขับพาเธอไปส่งถึงบ้าน

ยิ่งฉาว ยิ่งโต ยิ่งรวย

อย่างที่บอกว่า UBER ยังคงอยู่ในพื้นที่สีเทา จะผิดก็ไม่ผิด แต่ก็ไม่ได้ถูกต้องแบบขาวสะอาด สิ่งสำคัญคือพวกเขามุ่งเดินหน้าขยายบริการตัวเองออกไปเรื่อยๆ และหากหลายคนกำลังสงสัยว่าทำไม UBER ถึงยังเดินหน้ามาได้ไกลขนาดนี้ ก็ต้องบอกว่าหนึ่งในผู้สนับสนุนเงินลงทุแอพพลิเคชั่นสุดฮอตนี้ก็คือ เจฟฟ์ เบซอส แห่ง Amazon นั่นเองซึ่ง เบซอส เพิ่งอัดฉีดเงินมุลค่า 17,000 ล้านดอลลาร์ให้ UBER ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เอง และบรรดานักธุรกิจต่างก็ให้ความเห็นและประเมินมูลค่าของ UBER กันว่าน่าจะอยู่ที่ราวๆ 40,000 ล้านดอลลาร์ ในขณะนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook