โรงเรียนลูกผู้ชาย 3 หลักสูตรทหารไทย ความตายใกล้แค่เอื้อม!

โรงเรียนลูกผู้ชาย 3 หลักสูตรทหารไทย ความตายใกล้แค่เอื้อม!

โรงเรียนลูกผู้ชาย 3 หลักสูตรทหารไทย ความตายใกล้แค่เอื้อม!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรื่องราวเกี่ยวกับ 3 สุดยอดรบพิเศษของกองทัพไทย RANGER, SEAL, RECON

แนะนำเรื่องแบบย่อๆ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเหล่าทหารที่เข้ารับการฝึกสุดโหดของรบพิเศษไทยอันประกอบด้วย

1. หลักสูตรจู่โจม (RANGER) กองทัพบก
2. หลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม (SEAL) หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ
3. หลักสูตรลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก แผนกวิชารบพิเศษ ศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ

ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

หน่วยรบพิเศษ (Special Force) หมายถึง หน่วยทหารที่มีภารกิจหน้าที่ในการปฏิบัติการพิเศษต่าง ๆ ซึ่งต่อมา มีการพัฒนาหลักนิยมการปฏิบัติการของกองทัพ จึงได้มีคำที่คล้ายคลึงกันคือคำว่า การปฏิบัติการพิเศษ (Special Operation Force) โดยทั่วไปยังมีความหมายครอบคลุมใกล้เคียงกับคำว่า รบพิเศษ โดยในกองทัพไทยจะมีหน่วยรบพิเศษหรือ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ อยู่ในทั้งสามเหล่าทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ภารกิจหน่วยรบพิเศษ มีภารกิจทั่วไป 7 ประการ ทั้งนี้ อาจแตกต่างกันไป ขึ้นกับการกำหนดภารกิจและการออกแบบหน่วยของเหล่าทัพนั้นๆ คือ

1. การสงครามนอกแบบ
สงครามนอกแบบ (Unconventional Warfare) เป็นการปฏิบัติที่หน่วยรบพิเศษ ต้องใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด การปฏิบัติที่เข้าไปในประเทศฝ่ายตรงข้ามตั้งแต่ยังไม่มีสงคราม แล้วสร้างกลุ่มต่อต้านรัฐบาลขึ้นมาเพื่อบั่นทอนความมั่นคงของรัฐบาลประเทศ นั้น ๆ ถ้าต้องการทำสงครามกลุ่มต่อต้านก็จะช่วยกำลังรบตามแบบในการทำการรบได้ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามเย็น จีนได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในความพยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาล ไทย และมีแผนที่จะสนธิกำลังตามแบบ จากเวียดนามในขั้นตอนสุดท้าย แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างทั้งในระดับยุทธศาสตร์และระดับยุทธการ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างมาก สงครามนอกแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับสงครามตัวแทน

2. การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ
การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ (Counter Insurgency) เป็นการปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ โดยกลุ่มคนที่มีการวมตัว มีการจัดตั้ง ขึ้นมาเพื่อให้รัฐบาลปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของกลุ่ม ตั้งแต่วัตถุประสงค์ทางการเมือง ล้มล้างรัฐบาล แบ่งแยกดินแดน จนถึงเข้าแทนที่รัฐบาล การก่อความไม่สงบนี้เป็นภารกิจที่รัฐบาลต้องระดมสรรพกำลังทั้งมวลในการแก้ไข โดยหน่วยรบพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ โดยจะประกอบด้วยงาน การปฏิบัติการจิตวิทยา การปฏิบัติงานด้านการข่าว การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน การปราบปรามกำลังติดอาวุธ

โดยภาพรวมในการปฏิบัติการคือ ดำเนินการป้องกันด้วยการปฏิบัติการจิตวิทยา การข่าวเพื่อคอยติดตามว่า การก่อความไม่สงบจะเกิดขึ้นที่ไหน สาเหตุเงื่อนไขเป็นอะไร ซึ่งตัวเงื่อนไขก็จะสามารถลดลงด้วย การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน แต่ถ้ามีการผิดพลาดของการข่าว การพัฒนาการช่วยเหลือไม่สมดุล ข้าราชการสร้างเงื่อนไข ประกอบกับมีแกนนำหรือกลุ่มบุคคลชี้นำหรือปลุกระดม ก็จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น ก็จะต้องใช้มาตรการการพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากรคือ การสร้างความปลอดภัยให้ประชนชนไม่ว่าจะเป็นจัดชุดคุ้มครอง ลาดตระเวนแสดงกำลัง การห้ามประชาชนออกจากบ้านยามค่ำคืน การตั้งจุดตรวจ พร้อมกับใช้การข่าว การปฏิบัติการจิตวิทยา รวมทั้งทบทวนการพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน ในระหว่างนั้น ถ้าผู้ก่อความไม่สงบเริ่มใช้กำลังติดอาวุธ ก็ต้องใช้กำลัง เข้าปราบปราม

3.การปฏิบัติการจิตวิทยา
การปฏิบัติการจิตวิทยา (Psychological Operation) เป็นการปฏิบัติเพื่อให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายเป็นกลาง ให้มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติภารกิจของฝ่ายเรา ไม่ว่าจะเป็นการยุยงด้วยการใช้สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบปลิว การกระจายเสียง ให้ทหารชั้นผู้น้อยไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชาการ ทำให้เกิดการเดินขบวนของประชาชนในการต่อต้านรัฐบาลตนเอง การสร้างความหวาดกลัวด้วยการใช้ใบปลิว ซึ่งอาจจะทำให้ข้าศึกยอมแพ้โดยไม่ต้องทำการรบ

4. การปฏิบัติภารกิจโดยตรง
การปฏิบัติภารกิจโดยตรง (Direct Action) ภารกิจนี้เป็นการใช้กำลังในการเข้าทำลาย ยึดที่หมายที่ต้องการ เพื่อการปฏิบัติการอื่น เช่น การยึดสนามบิน การโจมตีที่เก็บเสบียงหรือที่บัญชาการของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นภารกิจที่สิ้นเปลืองทรัพยากรมาก ตั้งแต่การสร้างหน่วยที่จะไปทำภารกิจนี้ ซึ่งจะทำเมื่อที่หมายดังกล่าวถ้าไม่ยึดหรือทำลายแล้ว ภารกิจจะไม่สำเร็จ

5. การลาดตระเวนพิเศษ
การลาดตระเวนพิเศษ ( Special Reconnaissance) เป็นการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจโดยหน่วยรบพิเศษโดยลำพังหรือ ผ่านทางกำลังกองโจร วัตถุประสงค์เพื่อการยืนยัน ปฏิเสธข่าวสาร สมมติฐานที่ได้มาก่อน ด้วยการตรวจการณ์ หรือวิธีการรวบรวมอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับขีดความสามารถ เจตนารมณ์ และการปฏิบัติ ของข้าศึกหรือที่มีแนวโน้มจะเป็นข้าศึก การปฏิบัติการลาดตระเวนพิเศษอาจจะเกิดขึ้นเพื่อความต้องการการลาดตระเวนทาง นิวเคลียร์ ชีวเคมี หรือเพื่อหาข้อมูลด้านอุตุนิยม อุทกศาสตร์ ภูมิประเทศ ในพื้นที่หนึ่ง

6. การต่อสู้การก่อการร้าย
การต่อสู้การก่อการร้าย (Combatting Terrorist) หมายถึง มาตรการการป้องกันไม่ให้มีเหตุ และติดตามกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ รวมทั้งมาตรการในการตอบโต้ เมื่อมีการก่อการร้ายเกิดขึ้น ส่วนมากบทบาทของหน่วยรบพิเศษ จะอยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการจับตัวประกันโดยกลุ่มผู้ก่อการ ร้ายที่มีข้อเรียกร้องทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทยมีการจับยึดตัวประกันมาแล้ว ๘ ครั้งแล้วแต่มีการใช้กำลังต่อสู้เพียง ๑ ครั้ง คือเหตุการณ์ที่โรงพยาบาลราชบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2543

7. การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ
การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ เป็นการปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือมิตรประเทศให้เกิดความมั่นคง ด้วยการสนับสนุนงานด้านต่างๆ เช่น การฝึกเจ้าหน้าที่ตำรวจ การสนับสนุนด้านการศึกษา โดยเป้าหมายคือช่วยให้มิตรประเทศมีความมั่นคง ซึ่งเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางอ้อมและนำมาซึ่งความมั่นคง ของภูมิภาค

ภารกิจคู่ขนาน
ภารกิจคู่ขนาน หมายถึงภารกิจที่มีหน่วยงานอื่นปฏิบัติเป็นหลักอยู่ในขั้นต้น โดยมีหน่วยรบพิเศษสามารถที่จะปฏิบัติการเสริมการปฏิบัติการดังกล่าวได้ กิจกรรมนี้เป็นช่องทางหนึ่งของหน่วยรบพิเศษที่จะสามารถสนับสนุนการปฏิบัติ การทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม ซึ่งตามหลักนิยมของสหรัฐแล้วเป็นเพียงภารกิจที่เสริมการปฏิบัติหลัก โดยเฉพาะการสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นรากฐานของการปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาความปลอดภัย คล้ายกับการเข้าไปติดต่อเริ่มแรกและสามารถสร้างพื้นที่ในการปฏิบัติการ ป้องกันภายในมิตรประเทศ ซึ่งจะเป็นรูปแบบใหม่ของการเสริมสร้างกำลังกองโจรใน ศนบ. แต่เปลี่ยนจากกำลังกองโจรเป็นกำลังทหารของรัฐบาล ที่จะใช้เป็นพันธมิตรในอนาคต ในการปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน

คราวนี้มาดูรายละเอียดของทั้ง 3 หลักสูตรสุดโหด

1 หลักสูตรจู่โจม Ranger กองทัพบกไทย
หลักสูตรจู่โจมที่จะเปิดการศึกษาแต่ละปีจะใช้หลักสูตรระยะเวลา 9 สัปดาห์ (63วัน) หรือ 504 ชั่วโมง แบ่งภาคการฝึกออกเป็น 4 ภาค ดังนี้
- ภาคที่ตั้ง ระยะเวลา 12 วัน
- ภาคป่าที่ราบ ระยะเวลา 14 วัน
- ภาคป่า/ภูเขา ระยะเวลา 19 วัน
- ภาคป่าที่ลุ่มทะเล ระยะเวลา 14 วัน


2.การทดสอบ / ประเมินผลระหว่างรับการศึกษาในหลักสูตร
2.1 การทดสอบร่างกาย
* วิ่งตัวเปล่าในระยะทาง 3 ไมล์, 5 ไมล์ : เกณฑ์ผ่านใช้เวลาไมล์ละ 9 นาที
* เดินเร็วประกอบเครื่องสนามระยะทาง 6 ไมล์ และ 12 ไมล์ : เกณฑ์ผ่านใช้เวลาไมล์ละ 15 นาที
* เดินเร็วประกอบเครื่องสนามระยะทาง 17 ไมล์: เกณฑ์ผ่านใช้เวลาไมล์ละ 25 นาที
* เดินเร็วประกอบเครื่องสนามระยะทาง 800 เมตร : เกณฑ์ผ่านใช้เวลา 4 นาที 10 วินาที
* การเดินเร่งรีบ : ตามมาตรฐานของการฝึก ทบ.
* ทดสอบพลศึกษาก่อนเข้าภาคสนาม - ดึงข้อ เกณฑ์ผ่าน 9 ครั้ง เกณฑ์สูงสุด 20 ครั้ง/ไม่จำกัดเวลา
- ลุกนั่ง เกณฑ์ผ่าน 50 ครั้ง เกณฑ์สูงสุด 79 ครั้ง/เวลา 2 นาที

ผู้เข้ารับการฝึกทุกคน ถูกจับละเลงตัวด้วยฝุ่นดำ เหมือนกันหมด เพราะที่นี่ไม่มียศ ไม่มีร้อยโท ไม่มีนายสิบ มีเพียงครูกับนักเรียน "เอี้ย เอี้ย เอี้ย" เสียงคำรามจากกองร้อยจู่โจม เมื่อการ รับน้องจะเริ่มขึ้น

สถานีฝึกรับน้องแห่งแรกคือการคืบคลานไปในบึงโคลน อันเหนียวหนืด เป็นระยะทางกว่า 100 เมตร ไม่มีการพัก ไม่สามารถโอดครวญ จะเหม็นเน่าโสโครก เท่าใด นักเรียนก็ต้องทน

"เอี้ย เอี้ย เสียงนักเรียนจู่โจมตะโกนคอแทบแตก แต่ครูฝึกบอกเสียงดังเหมือนลูกแมวไ

นักเรียนจู่โจมต้องพร้อมเสมอ แม้เวลาพักทานอาหาร สัมภาระและอาวุธก็ยังติดกาย สนามวิบากในป่า นักเรียนต้องกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางอย่างฉับพลันและต่อเนื่อง ฝึกข้ามสิ่งกีดขวางโดยไต่ไปตามเชือกเส้นเดียว นักเรียนจู่โจมฝึกไต่ลงมาจากหน้าผาสูงพร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์และคนป่วย สถานีวัดกำลังใจสุดๆ ของภาคป่าและภูเขา คือการไต่จากหน้าผาสูง 120 ฟุต ด้วยการเอาหน้าลง

ผบ. กำลังทบทวนคำลั่งยุทธการ ให้นักเรียน จู่โจมออกปฏิบัติการขึ้นบก ซึ่งพวกเขาไม่รู้หรอกว่า มันคือการว่ายทะเลโคลนหลายกิโลเมตร ทีละคืบ...ทีละคืบ ตะเกียกตะกายคลานในทะเลโคลน เป็นเวลาร่วม 5 ชั่วโมง กว่าจะเข้าฝั่งสำเร็จ...คือความหฤโหด ที่สุดของภาคทะเล

นักเรียนตนนี้เป็นตะคริวอย่างรุนแรง เพราะอยู่ในทะเลโคลนนานเกินไป เพื่อนๆ ต้องช่วยกัน ลากขึ้นฝั่งและหามส่งโรงพยาบาลทันที

นอกจากการขึ้นบก-ทะเลโคลน นักเรียน จู่โจมยังต้องลอยคอในทะเล ว่ายเข้าหาฝั่งเป็นระยะทางกว่า 2 ไมล์ทะเล ในสถานการณ์สมมุติว่าเรือแตก รุ่งเช้านักเรียนจู่โจมตระเตรียมอาวุธ ยุทโธปกรณ์ก่อนออกเดินทางเพื่อเข้าโจมตีข้าศึก ณ พิกัด ที่ห่างออกไปประมาณ 50 กิโลเมตร เมื่อถึงการฝึกช่วงนี้ เครื่องหมาย "เสือคาบดาบ" ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

ความรู้ทุกอย่างในวิชาทหารที่ได้รับ การฝึกสอนมา เช่น การลาดตระเวน การอ่านแผนที่ เข็มทิศ การใช้อาวุธ การซุ่มโจมตี ฯลฯ นักเรียนจู่โจม ต้องนำออกมาใช้หมดในภาคการฝึกช่วงสุดท้าย

จงภูมิใจกับความเหน็ดเหนื่อยตลอด ระยะเวลา 10 สัปดาห์ มันเป็นสิ่งที่มีเกียรติที่สุด..." นายทหารชั้นผู้ใหญ่ กล่าวแก่นักเรียน ผู้พิชิตเครื่องหมาย "เสือคาบดาบ"...ผู้พิชิตใจตัวเอง

2 หลักสูตร นักทำลายใต้น้ำจู่โจม SEAL
เครื่องหมายความสามารถของนักทำลายใต้น้ำจู่โจม นั้น อาร์มแถบสีธงไตรรงค์ หมายถึง ชาติไทย สมอสีเงินขัดมัน หมายถึง ทหารเรือ ปลาฉลามสีเงินขัดมัน หมายถึง การปฏิบัติงานใต้น้ำมีความกล้า อดทน คลื่นสีทอง หมายถึง คลื่นหัวแตกบริเวณใกล้ฝั่งที่เป็นอุปสรรคที่ต้องเอาชนะให้ได้ ด้วยความสามัคคี

การฝึกในหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม ใช้ระยะเวลาประมาณ 7-8 เดือน นับเป็นการฝึกหลักสูตรทางทหารที่มีระยะเวลานานที่สุดของไทย แบ่งออกเป็น 5 ช่วง ได้แก่

การแนะนำการฝึกเบื้องต้น ฝึกการออกกำลังกายและการฝ่าอุปสรรคต่างๆ ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
การฝึกจริง ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์
การฝึกแบบเข้มข้น หรือเรียกว่า "สัปดาห์นรก" ใช้เวลา 120 ชั่วโมงโดยไม่มีการหยุดพัก
การฝึกสอนยุทธวิธีต่างๆ
การฝึกยุทธวิธีในสภาพจริง ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
เมื่อสำเร็จหลักสูตรจะได้ประดับตราความสามารถ ซึ่งออกแบบโดย พลเรือโทพัน รักษ์แก้ว โดยส่วนประกอบของตรามีความหมายดังนี้

ปลาฉลาม สีขาวหรือสีน้ำเงิน หมายถึงจ้าวแห่งท้องทะเล ดุร้าย น่าเกรงขาม สง่างาม แข็งแกร่ง
คลื่น หมายถึง ความน่ากลัวของทะเลที่มีเกลียวคลื่นตลอดเวลา หรืออุปสรรคของคลื่นหัวแตก แต่ฉลามก็ไม่ได้หวั่นเกรง
สมอเรือ หมายถึง ทหารเรือ ในอดีตหลักสูตรจะรับเฉพาะทหารเรือเท่านั้น แต่ในปัจจุบันทางหน่วยได้รับทหารบก ทหารอากาศ และตำรวจเพิ่มด้วย
ธงชาติ หมายถึง การยอมพลีเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
กฎสำคัญของนักเรียนนักทำลายใต้น้ำจู่โจม คือ มีจิตใจเข้มแข็ง กล้าเผชิญหน้าต่อปัญหาต่างๆ ตัดสินใจด้วยความเด็ดขาด รวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้อง เอาตัวเองรอดได้โดยไม่ทิ้งเพื่อน และมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

3 หลักสูตรลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก กองทัพเรือ (RECON)

การฝึก รีค่อน หลักสูตรเลือดเดือดของนักรบเลือดเหล็ก
รูปท้องทะเล ท้องฟ้า ภูเขาและหน้าผา ระหว่างสมอสองอันที่พันกันด้วยเชือก :
ภายใต้ความสามัคคีกลมเกลียวของกองทัพเรือ จะเป็นรั้วที่เข้มแข็งเพื่อคุ้มครองภัย ที่จะมาคุกคามต่อน่านน้ำ น่านฟ้า และชายฝั่งทะเลของไทย
ครุฑเหยียบโลกที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ประเทศไทย มีสมอเสียบปักอยู่ :
เครื่องหมายกรมนาวิกโยธินที่ขึ้นตรงต่อกองทัพเรือ และปฏิบัติงานภายใต้การควบคุม และสนับสนุน จากกองทัพเรือ
ความมุ่งหมายของหลักสูตร : เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาได้รับการฝึกวิชาการ ทางทหารอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำหน่วยทหาร ขนาดเล็กปฏิบัติการรบพิเศษได้ทั้งทางบกและทางทะเล ใช้ระยะเวลาการศึกษา 13 สัปดาห์

ขั้นตอนของหลักสูตร
ขั้นที่ 1 ภาคทฤษฎี ระยะเวลา 5 สัปดาห์
-ศึกษาทางวิชาการ ทั้งวิชาหลัก และวิชาที่สัมพันธ์กับวิชาหลัก
-การเสริมสร้างสมรรถภาพ ทั้งพลศึกษา การป้องกันตัว ว่ายน้ำ ดำน้ำ ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ภาคปฏิบัติ ระยะเวลา 8 สัปดาห์
-ฝึกลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก
-ฝึกการรบในป่าและภูเขา

"ใครทนไม่ไหว ออกไป"
"นักเรียนรบพิเศษฯ รุ่นนี้เป็นไงหือ... อืดอาด ไม่พร้อมใจกัน รุ่นครูไม่เคยเป็นอย่างนี้"

ผมเชื่อว่าทุกคนต้องเคยถามตัวเองว่า กูจะไหวหรือ วันแรกยังขนาดนี้" นักเรียนคนหนึ่งยอมรับ อย่างเปิดใจ

นายทหารที่เข้าฝึกจะถูก "ขอยศ" ไว้ ผมที่สั้นอยู่แล้วจะถูกไถเกรียนจนเห็นหนังศรีษะ

ครูกฝึกแม้จะมียศต่ำกว่า สามารถ ออกคำสั่งcละปฏิบัติกับนักเรียนอย่างไรก็ได้ ในภาพเป็น การต้อนรับเล็กๆ น้อยๆ ด้วยการละเลงโคลนบนศีรษะ

ในวันแรก นักเรียนก็ถูกสั่ง ให้ดำผุดดำว่ายในหนองน้ำโสโครกเพื่อทดสอบกำลังใจ พอขึ้นมาจากน้ำสีดำ นักเรียน ต้องช่วยกันแบกซุงหนักกว่า 100 กิโลกรัม แบกลงทะเล แบกผ่านแก่ง แบกไปรอบๆ นานหลายชั่งโมง ใครกินแรงเพื่อน รู้ใจกันตรงนี้

การฝึกภาคทะเล นักเรียนต้องพายเรือและแบกเรือยาง ไม่ต่ำกว่า 80 ชั่วโมง พวกเขาจะจดจำเรือยางไปเสมอว่าคือพาหนะคู่ชีพ ของหน่วยลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก การไต่สะพานเชือกสองเส้น ข้ามสิ่งกีดขวาง

สองอาทิตย์สุดท้าย เข้าสู่การฝึกที่หนักหน่วงที่สุด คือการปฏิบัติภารกิจตามสถานการณ์สมมุติ ต้องอาศัยความรู้ ในการเดินป่า การดำรงชีพในป่า การโจมตี การลาดตระเวน ที่ได้ฝึกมาทั้งหมด ความหฤโหดอยู่ที่หนทางอันยาวไกล ความดิบเถื่อนของป่าเขา และไข้มาลาเรียที่ชุมที่สุดของป่าจันทบุรี กว่าจะผ่านแต่ละวันไปได้ ก็ด้วยความเหนื่อยล้าสุดทรมาน

เช้าตรู่ของวันสุดท้าย นักเรียนรบพิเศษ โรยตัวจาก ฮ. สูงจากพื้นดิน 120 ฟุต เครื่องหมายแห่งความสำเร็จ กำลังรอพวกเขาอยู่เบื้องล่าง

ผลจากการเชื่อฟังครูฝึกอย่างเคร่งครัด ทำให้พวกเขารอดชีวิตมาถึงวันแห่งความปิติ เครื่องหมายการรบ 3 มิติ ได้รับการประดับไว้ที่หน้าอก เหล่าครูฝึกเข้าแสดงความยินดีกับรีคอน รุ่นล่าสุด สงครามระหว่าครูฝึกกับนักเรียนยุติแล้ว จากนี้ พวกเขาคือ นักรบเลือดเหล็ก และจะไม่มีวันลืมความเหนื่อยยาก ความรู้ ประสบการณ์ ซึ่งได้กลายเป็นเหล็กในคนที่แกร่งยิ่งกว่าเหล็กในเรือ

ที่มาของเรื่องทั้งหมดอ้างอิงจาก www.armyranger.com www.navy.mi.th นิตยสารสารคดี

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ โรงเรียนลูกผู้ชาย 3 หลักสูตรทหารไทย ความตายใกล้แค่เอื้อม!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook