“Nike Flyleather” คืออะไร ?

“Nike Flyleather” คืออะไร ?

“Nike Flyleather” คืออะไร ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไนกี้ นำเสนอสุดยอดวัสดุชิ้นใหม่ “ไนกี้ฟลายเลเธอร์” (Nike Flyleather) ที่จะมาปฏิวัติวงการกีฬา และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ไนกี้ฟลายเลเธอร์เป็นสุดยอดวัสดุชนิดใหม่จากไนกี้ที่ดูหรูหรา เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทนทาน น้ำหนักเบา และพัฒนาขึ้นเพื่อสมรรถภาพทางการกีฬาอย่างแท้จริง วัสดุกึ่งหนึ่งที่ใช้ผลิตไนกี้ฟลายเลเธอร์คือเส้นใยที่นำมาจากหนังที่ถูกรีไซเคิล ส่วนอีกกึ่งหนึ่งคือพลังจากน้ำเพื่อใช้ควบรวมวัสดุต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ วัสดุชนิดใหม่นี้มีแนวโน้มจะเป็นวัสดุที่ปฏิวัติวงการเครื่องกีฬาเหมือนเส้นใยไนกี้ฟลายนิต

โดยกระบวนการผลิตนั้น การเลือกและผลิตหนังสัตว์แบบปกติ หนังวัวที่แข็งเกินไปกว่าร้อยละ 30 จะถูกทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ จึงมุ่งลดจำนวนหนังวัวที่ถูกทิ้งจากกระบวนการผลิตโดยรวบรวมหนังวัวเหล่านี้มาปั่นเป็นเส้นใยและนำไปผสมกับผ้าหรือเส้นใยสังเคราะห์โดยใช้น้ำที่มีแรงดันสูงเป็นเหมือนกาวที่อัดวัสดุต่างๆ ทั้งหมดให้ติดกันเป็นหนึ่งเดียว วัสดุที่ได้จะเป็นม้วนยาว ซึ่งจะต้องนำม้วนวัสดุไปตรวจสอบความเรียบร้อย พ่นสี และตัดเป็นชิ้นก่อน ซึ่งหนังที่ผลิตได้ตามกระบวนการผลิตไนกี้ฟลายเลเธอร์มีรูปลักษณ์และผิวสัมผัสที่หรูหรามีระดับเฉกเช่นเดียวกับหนังระดับพรีเมี่ยมจริงๆ

สำหรับเรื่องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไนกี้ใช้หนังสัตว์เป็นองค์ปนระกอบหลักของผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์หลายชิ้น แต่การผลิตหนังสัตว์เป็นกระบวนการที่ใช้น้ำและปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมสูงเป็นอันดับ 2 ในบรรดากระบวนการผลิตต่างๆ ที่ไนกี้ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งการทดแทนหนังสัตว์ด้วยนวัตกรรมไนกี้ฟลายเลเธอร์สามารถเปลี่ยนแปลงผลกระทบที่ไนกี้กระทำต่อสิ่งแวดล้อมได้ โดยเหตุผลสำคัญที่สุด 3 ข้อที่แสดงให้เห็นว่าทำไมนวัตกรรมไนกี้ฟลายเลเธอร์จึงเป็นวัสดุที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเท่าที่ไนกี้เคยสร้างสรรค์ คือ

1. การผลิตไนกี้ฟลายเลเธอร์ใช้น้ำน้อยกว่ากระบวนการผลิตหนังสัตว์แบบปกติถึงร้อยละ 90 และปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการผลิตน้อยกว่าถึงร้อยละ 80

2. รองเท้าของไนกี้ 1 คู่ที่ผลิตด้วยวัสดุไนกี้ฟลายเลเธอร์จะปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการผลิตน้อยกว่ารองเท้าที่ผลิตจากหนังสัตว์จากธรรมชาติถึงครึ่งหนึ่ง

3. วัสดุไนกี้ฟลายเลเธอร์ผลิตออกมาเป็นม้วน สามารถตัดเป็นรูปได้ตามต้องการ ลดขยะลงได้อย่างมากเมื่อเทียบกับกระบวนการตัดเย็บหนังแบบฟูลเกรน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook