ทำไมเราถึงตลกกับความเจ็บปวดของคนอื่น

ทำไมเราถึงตลกกับความเจ็บปวดของคนอื่น

ทำไมเราถึงตลกกับความเจ็บปวดของคนอื่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความคิดของมนุษย์ผูกกับความรู้สึกที่เรียกว่า schadenfreude ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันแปลว่า “ความเพลิดเพลินใจเมื่อได้เสพประสบการณ์ความโชคร้ายของผู้อื่น” 

ความสุขบนความทุกข์ของผู้อื่น: ทำไมเราถึงตลกกับความเจ็บปวดของคนอื่น

พวกเราทุกคนคงรู้สึกผิด แต่ก็ยังก็รู้สึกเพลิดเพลินที่ได้เห็นคนอื่นตกระกำลำบาก ไม่ว่าจะจากความน่าอับอายในที่สาธารณะที่ไม่มีอันตรายอะไร ไปจนถึงภัยพิบัติร้ายแรงต่างๆ แต่ในทางวิทยาศาสตร์ ความรู้สึกเช่นนี้ไม่ได้หมายความถึงความเสื่อมถอยด้านจิตใจของมนุษยชาติ

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารประจำปีของสถาบันทางวิทยาศาสตร์นิวยอร์ก โดย ดร. มีนา ซิคารา และ ดร. ซูซาน ฟริสก์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ตามลำดับ ระบุว่าความคิดของมนุษย์ผูกกับความรู้สึกที่เรียกว่า  schadenfreude ซึ่งเป็นคำภาษาเยอรมันที่แปลว่า “ความเพลิดเพลินใจเมื่อได้เสพประสบการณ์ความโชคร้ายของผู้อื่น” 

การศึกษาดังกล่าวระบุถึงความรู้สึกต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ความเห็นอกเห็นใจกับความโหดร้าย

การทดลองครั้งหนึ่งที่มุ่งวัดระดับความเห็นอกเห็นใจของมนุษย์พบว่าต่อมความเห็นอกเห็นใจในสมองของมนุษย์ทั้งชายและหญิงจะถูกกระตุ้นเมื่อเขาเห็นคนที่เป็น ”คนดี” ถูกไฟดูด แต่ถ้าเป็นคน “ไม่ดี” ได้รับความเจ็บปวด ต่อมความเห็นอกเห็นใจจะตอบสนองต่ำลง เป็นผลทำให้เกิดการกระตุ้นในส่วนของความเพลิดเพลินในสมองน้อยลง ตามด้วยความต้องการในการแก้แค้น

2. กรณีศึกษาเกี่ยวกับความภูมิใจในตัวเอง

สมาคมนักจิตวิทยาอเมริกันตีพิมพ์ผลการศึกษาซึ่งเผยว่าคนที่ไม่ค่อยภาคภูมิใจในตัวเองมักมีแนวโน้มที่จะมีความสุขบนความทุกข์ของคนที่เก่ง การศึกษาระบุว่าคนเหล่านี้มักรู้สึกว่าถูกคุกคามจากคนเก่งที่ประสบความสำเร็จมากกว่าตน และมักจะหาโอกาสที่จะทำให้ตัวเองรู้สึกดี หรือสูงค่าขึ้น

3. ความรู้สึกอิจฉาริษยา

นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์ด้านรังสีวิทยาแห่งชาติของญี่ปุ่น ได้ทำการทดลองโดยให้ผู้เข้ารับการทดลองจินตนาการว่าตัวเองเป็นตัวเอกที่ดีในละคร ภาพสแกนจากเครื่องสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (fMRI) แสดงให้เห็นว่าต่อมรับความเจ็บปวดในสมองจะมีแสงวูบวาบขึ้นเมื่อเขานึกถึงตัวละครฝ่ายตรงข้ามที่พวกเขาอิจฉา แต่การจินตนาการถึงความหายนะที่เกิดขึ้นกับตัวละครเหล่านั้นกลับมีปฏิกิริยาต่อสมองส่วนที่เป็นศูนย์กลางระบบรางวัล

4. คู่แข่งที่ต่อสู้กันอย่างดุเดือด

เมื่อ ดร. ซิคารา ดร. ฟริสก์ และผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการรับรู้ ดร. แมทธิว บอทวินิค จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของแฟนคลับทีมบอสตัน เรด ซอกซ์ และนิวยอร์ก แยงกีส์ พวกเขาพบว่าความพ่ายแพ้ของทีมคู่แข่งส่งผลต่อปฏิกิริยาที่สูงขึ้นของสมองส่วนที่เรียกว่า ventral striatum ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับความเพลิดเพลินใจ ปฏิกิริยาเดียวกันนี้ยังเกิดขึ้นตอนพวกเขาพูดถึงความต้องการที่จะทำร้ายแฟนๆ ของทีมคู่แข่ง

อย่างไรก็ตาม พวกเราเพลิดเพลินกับเรื่องผิดพลาดต่างๆ ของบุคคลอื่นไม่เท่ากัน จากผลการทดลองของสถาบันวิทยาศาสตร์ด้านรังสีวิทยาแห่งชาติในประเทศญี่ปุ่น พบว่าปฏิกิริยาด้านความรู้สึกขึ้นอยู่กับความคิดที่มีต่อเหยื่อ นอกจากนี้ การมองคุณค่าของตัวเองยังมีผลต่อความนิยมในการเสพความสุขบนความทุกข์ของผู้อื่นอีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook