วิสาขบูชา 2566 เวียนเทียน ทำไมต้องเวียนทางขวา?

วิสาขบูชา 2566 เวียนเทียน ทำไมต้องเวียนทางขวา?

วิสาขบูชา 2566 เวียนเทียน ทำไมต้องเวียนทางขวา?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เนื่องใน วันวิสาขบูชา 2566 ซึ่งในปีนี้ ตรงกับวันที่ 3 มิถุนายน 2566 โดยในวันนี้ พุทธศาสนิกชนก็จะมีการเข้าวัด ทำบุญ ฟังธรรม และก็ปิดท้ายด้วยการเวียนเทียนในช่วงหัวค่ำ แล้วเคยสงสัยกันไหม? ว่าทำไมการเดินเวียนเทียนต้องเดินเวียนขวา

สำหรับการเวียนขวานั้น เรียกว่า ทักษิณาวรรต หรือ ประทักษิณ ส่วนข้างซ้ายนั้น จะเรียกว่า อุตราวรรต ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นั้น ได้ให้บทนิยามหนึ่งของคำว่า "เวียนเทียน" ว่า อาการที่ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินประทักษิณสิ่งที่เคารพบูชา ส่วนคำว่า "ประทักษิณ" อธิบายว่า การเวียนขวา โดยให้สิ่งที่เรานับถือ หรือผู้ที่เรานับถือเป็นต้น อยู่ทางขวาของผู้เวียน ก็เป็นการตอบคำถามแล้วว่าเหตุใดการเวียนเทียนต้องเวียนขวา

ขณะเดียวกันก็มีคความเชื่อโบราณ ที่เชื่อว่าขวาจะเป็นข้างที่มงคล ส่วนซ้ายจะเป็นอวมงคล ซึ่งการเดินเวียนขวาในวันวิสาขบูชานั้นนั้น เพื่อเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงตามธรรมอินเดียในสมัยพุทธกาล การเวียนเทียน 3 รอบ ก็เพื่อให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ส่วนการเดินเวียนซ้าย จะใช้ในงานอวมงคล เช่น งานศพ เป็นต้น

บทสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

เวียนเทียนรอบที่ 1 ระลึกถึงพระพุทธคุณ

บทสวด : อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

คำแปล : เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ ได้โดยพระองค์เอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงเป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์ดังนี้


เวียนเทียนรอบที่ 2 ระลึกถึงพระธรรมคุณ

บทสวด : สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง

เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

คำแปล : พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตัวเอง เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้


เวียนเทียนรอบที่ 3 ระลึกถึงพระสังฆคุณ

บทสวด : สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ. สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง

จัตตาริปุริสะยุคานิอัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา. เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา 

คำแปล : พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติตรงแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้วพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 4 บุรุษ นั่นแหละ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่สักการะ ที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ที่ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook