"สรงนํ้าพระ" ด้วยนํ้าดอกไม้มงคล 5 สี ร่มเย็นพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง

"สรงนํ้าพระ" ด้วยนํ้าดอกไม้มงคล 5 สี ร่มเย็นพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง

"สรงนํ้าพระ" ด้วยนํ้าดอกไม้มงคล 5 สี ร่มเย็นพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฉลองเทศกาล “สงกรานต์” หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย ซึ่งเป็นการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทย ด้วยการทำบุญ สรงนํ้าพระด้วยนํ้าดอกไม้มงคล 5 สี ตามความเชื่อแต่โบราณว่า “การสรงนํ้าพระ” คือ การได้ ถวายเครื่องเถราภิเษก ผู้ใดได้ถวายจะพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง โดยเพิ่มความพิเศษของ “นํ้า” ที่นำมาสรงนํ้าพระ โดยการนำนํ้าจากดอกไม้ 5 ชนิด 5 สี ที่ได้จากธรรมชาติของดอกไม้

มาสรงนํ้าพระพุทธรูปมงคล เพื่อให้สายนํ้าเป็นสื่อสร้างความร่มเย็น และเป็นมงคลในด้านต่าง ๆ ได้แก่

  • สีแดง จาก ดอกกุหลาบ หมายถึง ชีวิตที่ราบรื่น ไร้อุปสรรค
  • สีเขียว จาก ใบเตย หมายถึง ความร่มเย็น ไม่มีเรื่องเดือดร้อนใจ
  • สีส้ม จาก ดอกดาวเรือง หมายถึง ความรุ่งเรือง ร่ำรวย
  • สีนํ้าเงิน จาก ดอกอัญชัน หมายถึง ความหนักแน่น ผ่านอุปสรรคต่าง ๆ
  • สีขาวใส จาก นํ้าลอยดอกมะลิ หมายถึง ชีวิตที่สดชื่น สดใส

นางสงกรานต์ปี 2564 นามว่า นางรากษสเทวี

นางสงกรานต์ปี 2564 นามว่า นางรากษสเทวีนางสงกรานต์ปี 2564 นามว่า นางรากษสเทวี

 

ปีนี้ปีฉลู (มนุษย์ผู้ชาย ธาตุดิน) ตรีศก จุลศักราช 1383 ทางจันทรคติ เป็น อธิกมาส ทางสุริยคติ เป็นปกติสุรทิน วันที่ 14 เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันพุธ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 เวลา 3 นาฬิกา 39 นาที 40 วินาที

นางสงกรานต์ ทรงนามว่า รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมราภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูลพระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จไสยาสน์หลับเนตรมาเหนือหลังวราหะ เป็นพาหนะ วันที่ 16 เมษายน เวลา 07นาฬิกา 37 นาที 12 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1383 ปีนี้ วันอาทิตย์เป็นธงชัย วันจันทร์เป็นอธิบดี วันเสาร์เป็นอุบาทว์ วันพุธเป็นโลกาวินาศ

โดยวันเสาร์เป็นอธิบดีฝนบันดาลให้ฝนตก 400 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 40 ห่า ตกในมหาสมุทร 80 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 120 ห่า ตกในเขาจักรวาล 160 ห่า นาคให้น้ำ 6 ตัว เกณฑ์ธัญญาหารได้เศษ ๐ ชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ผล 1 ส่วน เสีย 9 ส่วน มหาชนร้อนใจด้วยอาหารแลเกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีอาโป (น้ำ) น้ำมาก


ซึ่งการทำบุญสรงนํ้าพระจึงถือเป็นการเสริมสิริมงคลให้ชีวิต และช่วยผ่อนเรื่องร้าย ๆ จากหนักให้เป็นเบาลงได้ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook