กันแดดให้บ้าน ประหยัดพลังงานทางอ้อม

กันแดดให้บ้าน ประหยัดพลังงานทางอ้อม

กันแดดให้บ้าน ประหยัดพลังงานทางอ้อม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คงจะไม่สามารถละเลยได้ในการใส่ใจกับการออกแบบ กันแดดให้บ้าน เพราะคงรู้กันดีอยู่แล้วว่าแสงแดดเมืองไทยนั้นร้อนแรงเพียงใด การปล่อยให้แดดจัดๆ ส่องเข้าบ้านตรงๆ เต็มๆ ไม่เป็นผลดี เนื่องจากความร้อนจะสะสมในบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทั้งพัดลมและเครื่องปรับอากาศจะทำงานหนักยิ่งขึ้น สิ้นเปลืองพลังงานกันเข้าไปใหญ่ ลองติดกันสาดเหนือหน้าต่าง โดยเฉพาะทางทิศใต้และทิศตะวันตก เพราะมุมของแดดที่ส่องเข้าทางทิศนี้จะลาดเอียงและส่องเข้าบ้านได้ลึกกว่าทิศ อื่น โดยกันสาดนั้นมีหลายแบบ หลายวิธีติดตั้ง หรือใครอยากจะติดตั้งเองก็ย่อมได้

ประเภทและชนิดของกันสาด
มีให้เลือกใช้หลากหลายแบบ ได้แก่ แบบใช้งานถาวร ซึ่งจะมีอายุการใช้งานยาวนาน คงทนถาวร ใช้ค่าก่อสร้างสูง แต่เสียค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซมน้อย จึงคุ้มค่ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาใช้งาน สามารถเลือกใช้วัสดุ เช่น คอนกรีตเสริมเหล็ก โลหะประเภทอลูมิเนียม หรือเหล็กอลูมิเนียมโพลีกลาสและไฟเบอร์กลาส กระเบื้องกระดาษ หรือกระเบื้องแอส เบททอสซีเมนต์และไม้ กันสาดอีกลักษณะหนึ่งคือแบบใช้งานชั่วคราว ซึ่งจะมีอายุการใช้งานไม่นานนัก ชำรุดง่าย ต้องซ่อมแซมและเปลี่ยนวัสดุอยู่เสมอ แต่มีราคาถูก ติดตั้งและรื้อถอนได้ง่ายและรวดเร็ว ให้ความรู้สึกเบาบาง และบรรยากาศแบบพักผ่อนเป็นธรรมชาติ นิยมทำจากไม้ไผ่ ใช้ในลักษณะมู่ลี่ม้วน และผ้าใบ ใช้ในลักษณะเช่นเดียวกับไม้ไผ่ หรือเป็นโครงเหล็ก

รูปแบบของกันสาด
มีทั้งที่เป็นแนวนอน แนวตั้ง และแบบตาราง โดยกันสาดแนวนอน (Horizontal overhangs) เหมาะใช้ทางทิศใต้จะมีผลในการกันแดด ในช่วงเที่ยงและบ่ายได้ดี กันสาดแนวตั้ง (Vertical louvers) เหมาะสมกันหน้าต่างที่อยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เพราะสามารถบังแดดในช่วงเช้าและเย็นได้ดี และกันสาดแบบตาราง (Eggcrate types) เป็นกันสาดที่รวมเอาคุณสมบัติที่ดีของกันสาดแนวนอนและแนวตั้งมารวมกัน เพื่อให้สามารถป้องกันลำแสงตรงได้ตลอดทั้งวัน

การออกแบบที่กันแดดภายนอกอาคาร ได้แก่ ครีบหรือแผงกันแดดและมู่ลี่ไม้ไผ่ หรือมู่ลี่พลาสติกมีผลดีกว่าการกันแดดภายในอาคาร เช่น การใช้กระจกตัดแสง มู่ลี่บังตา และม่าน เพราะตัวชิ้นส่วนที่ใช้ในการกันแดดนั้น จะต้องร้อนขึ้นและแผ่รังสีออกมา ซึ่งลมจะพัดพาระบายความร้อนไปได้ ถ้าหากว่าอยู่ภายในอาคารแล้ว ตัวที่กันแดดเองจะคลายความร้อนและเพิ่มอุณหภูมิให้กันอากาศภายในอาคารขึ้น อีก ที่กันแดดภายนอกอาคารอาจจะประยุกต์กับประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ ของอาคารเอง เพื่อใช้ประโยชน์จากชิ้นส่วนเดียวกันได้หลายประการ เช่น สามารถแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นความสกปรก ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการออกแบบที่กันแดด

ข้อควรระวังในการออกแบบกันสาดคือ ควรใช้วัสดุที่เมื่อได้รับความร้อนแล้วสามารถสะท้อนความร้อนออกได้ดีและลด การแผ่ความร้อนเข้าอาคาร ป้องกันอากาศที่ร้อนขึ้น ซึ่งอยู่ตามช่องว่างระหว่างที่กันแดดกับส่วนของอาคาร โดยต้องออกแบบให้ความร้อนสามารถจะไหลผ่านออกไปได้ง่าย รวมทั้งชิ้นส่วนของที่กันแดดที่อยู่เหนือช่องว่างเหล่านี้ จะต้องไม่ได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นจากอากาศร้อนเหล่านั้น และควรมีการป้องกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก ลูกค้าสัมพันธ์การเคหะแห่งชาติ

ภาพจาก www.istockphoto.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook