ดอกขจร

ดอกขจร

ดอกขจร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ขจร ชื่อวิทยาศาสตร์ Telosma minor Craib จัดอยู่ในวงศ์ ASCLEPIADACEAE

ผักขจร ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น สลิด ขจร (ภาคกลาง), ผักสลิด(นครราชสีมา), กะจอน, ขะจอน, สลิดป่า, ผักสลิดคาเลา, ผักขิก เป็นต้น

ต้นขจร หรือ ต้นสลิด มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น สามารถเลื้อยพันไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร เถามีขนาดเล็กลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตามยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม แตกใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ ทำให้บางครั้งพุ่มของของต้นขจรจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง

ดอกขจร หรือ ดอกสลิด ออก ดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามหรือออกเป็นพวงๆ คล้ายพวงอุบะตามซอกใบหรือโคนก้านใบ โดยในช่อดอกหนึ่งๆ จะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 10-20 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะแข็งเป็นสีเขียวอมสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม (หอมแรงกว่าดอกชำมะนาดหรือกลิ่นของใบเตย โดยจะหอมมากในช่วงเย็นถึงกลางคืน) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ กลีบดอกย่นและบิด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่บนหลอดกลีบดอก เชื่อมติดกันเองและเชื่อมติดกับยอดเกสรเพศเมีย แล้วจะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นชั้นกระบังรอบ ล้อมรอบก้านยอดเกสเพศเมียและเกสรเพศเมียเอาไว้ และมีชุดกลุ่มเรณูอยู่ 5 ชุด ซึ่งมีลักษณะการเกิดคล้ายกับในดอกรัก เกสร เพศเมียจะมีรังไข่ 2 อัน แต่มีก้านยอดเกสรเพศเมียและยอดเกสรเพศเมียร่วมกัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว มี 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม บ้างว่าจะออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม

สรรพคุณ

  1. ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก,ยอดใบอ่อน)
  2. ช่วยรักษาโลหิตเป็นพิษ (ราก)
  3. ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก,ยอดใบอ่อน)
  4. แก่นแลกเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น,เปลือก)
  5. ดอกและยอดใบอ่อนมีวิตามินสูง การรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี (ดอก,ยอดใบอ่อน)
  6. ช่วยรักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรือตากอากาศเย็น (ดอก)
  7. ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน (ดอก)
  8. รากมีรสเบื่อเย็น ใช้รับประทานเพื่อให้เกิดอาการอาเจียน ช่วยถอนพิษยาเยื่อเบา (ราก)
  9. รากนำมาฝนหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาแฉะ ตามัว (ราก)[1] บ้างว่านำมาใช้ผสมกับยาหยอดตา แล้วใช้หยอดตา (ราก)
  10. ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะและโลหิต (ดอก)
  11. ดอกมีรสเย็นขมและหอม มีสรรพคุณช่วยบำรุงปอด (ดอก)
  12. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ดอก)
  13. ช่วยในการขับถ่าย (ดอก)
  14. ช่วยบำรุงฮอร์โมนของสตรี (ดอก)
  15. ช่วยบำรุงตับและไต (ดอก,ยอดใบอ่อน)
  16. รากใช้เป็นยาดับพิษทั้งปวง (ราก)
  17. ช่วยทำให้รู้รสชาติของอาหาร และช่วยดับพิษยา (ราก)
  18. ดอกใช้เข้าเครื่องยาหอม

Written by  Hephaestus Best

ข้อมูลและภาพจาก http://homedeedeeforyou.com

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook