วิธีทำความสะอาด และเก็บรักษาเหรียญที่ระลึกแบบทรงคุณค่า

วิธีทำความสะอาด และเก็บรักษาเหรียญที่ระลึกแบบทรงคุณค่า

วิธีทำความสะอาด และเก็บรักษาเหรียญที่ระลึกแบบทรงคุณค่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคตเริ่มมีเหรียญกษาปณ์ออกมาให้ประชาชนสะสม หลายคนจึงรู้สึกกังวลว่าจะเก็บรักษาเหรียญเหล่านั้นอย่างไรให้อยู่กับเราไปแบบไม่เก่า Sanook! Home มีเคล็ดลับการทำความสะอาดเหรียญง่ายๆ มาฝาก

การทำความสะอาดเหรียญ
ถ้าถามบรรดานักสะสมเหรียญหรือผู้เชี่ยวชาญมักแนะนำว่าไม่ต้องทำความสะอาดเพราะเหรียญแต่ละเหรียญมีคุณค่าด้วยความเป็นธรรมชาติและอายุของเหรียญ ดังนั้นการทำความสะอาดอาจทำให้เหรียญนั้นไม่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งสีสัน และความเก่าใหม่

นอกจากนั้นกระบวนการทำความสะอาดอาจทำให้เกิดริ้วรอยขีดข่วนขึ้นในพื้นผิว เหรียญเก่าดูเงางามอาจจะไม่ถูกต้องนัก ดังนั้นการทำความสะอาดเหรียญเก่าจนดูเหมือนใหม่อาจทำให้คุณค่าของเหรียญเสียไป

จริงๆ แล้วการทำความสะอาดเหรียญนั้น มักจะทำก็ต่อเมื่อเหรียญมีปัญหาเพราะการทำความสะอาดจะทำให้ราคาของเหรียญตกลงไปจากเหรียญในรุ่นเดียวกัน ดังนั้นหากไม่มีความจำเป็นหรือเหรียญไม่มีปัญหาใดๆ นักสะสมจึงไม่แนะนำให้ทำความสะอาด

การเก็บรักษาเหรียญ
การเก็บรักษาต้องมีวิธีการที่เหมาะสม เพราะเหรียญเมื่อเก็บไว้นานๆ ก็อาจมีการเสื่อมสภาพ หรือชำรุดเสียหายได้ ดังนั้นผู้ที่จะเก็บหรือสะสมเหรียญต้องรู้วิธีการเก็บและสถานที่เก็บที่เหมาะสม และนี่คือวิธีเก็บที่อยากแนะนำ

Folder : หลาย ๆ คนเริ่มเก็บสะสมเหรียญมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ซึ่งก็มักจะเก็บไว้ในโฟล์เดอร์เก็บเหรียญ ซึ่งมีราคาไม่แพง และหาซื้อมาใช้ได้ง่าย การเก็บด้วยวิธีนี้ เหมาะสำหรับเหรียญที่มีราคาไม่แพง ทรงกลม เมื่อใส่เหรียญลงไปในโฟล์เดอร์แล้ว เรามองเห็นได้เพียงด้านเดียว เหรียญก็จะถูกแสงถูกอากาศอยู่เพียงด้านเดียว เมื่อเปิดโฟล์เดอร์ ก็มีโอกาสที่เหรียญจะหล่นออกมาได้

Coin Board : จะคล้าย ๆ กับโฟล์เดอร์ แต่จะเป็นแผ่น วิธีการเก็บแบบนี้ได้รับความนิยมในช่วงยุค 1940-1950 และในปัจจุบัน ก็มีแผ่นเก็บเหรียญแบบนี้ให้เลือกใช้หลายรูปแบบ

Album : อัลบั้มเก็บเหรียญนั้น จะมีราคาแพงกว่าโฟล์เดอร์ แต่จะมีคุณภาพดีกว่า เหมาะสำหรับการนำมาเก็บเหรียญที่มีราคามากกว่าสองแบบแรก อัลบัมเก็บเหรียญนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับหนังสือ คือใช้เปิดดูได้ แต่ละหน้าจะมีทีเก็บเหรียญ แยกเป็นเหรียญ ๆ ไป ผู้เก็บสามารถจะดูเหรียญได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อัลบัมนี้จะมีให้เลือกอย่างหลากหลาย ทั้งขนาดของพื้นที่เก็บแต่ละช่อง และวัสดุที่ใช้ ที่ให้คุณภาพต่างกัน จึงต้องเลือกให้เหมาะกับคุณค่าและราคาของเหรียญที่จะนำมาเก็บ

2x2s : ที่เก็บเหรียญแบบนี้เรียกว่า สองคูณสอง เป็นที่เก็บขนาดเล็ก พับครึ่ง ทำให้มองเห็นเหรียญได้ทั้งสองด้าน มีขนาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดสองนิ้วตามชื่อ แต่ก็สามารถหาขนาดที่เหมาะสมสำหรับเหรียญที่จะนำมาเก็บได้ ซึ่งส่วนใหญ่ จะมีขนาดอยู่ในระหว่าง 1.5-2.5 นิ้ว ที่เก็บเหรียญแบบนี้ มีราคาไม่แพง และหาซื้อได้ตามร้านขายของสำหรับนักสะสมทั่ว ๆ ไป เหมาะสำหรับการสะสมไว้ดูเองบ้าน มากกว่าการนำออกไปแสดงหรือโชว์นอกสถานที่

Flip : เป็นซองเก็บเหรียญพลาสติก เมื่อพับจะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส มีขนาดประมาณ 2 นิ้ว ส่วนมากจะมีพื้นที่เก็บเหรียญได้ 2 เหรียญต่อ 1 ซอง แต่จะแยกกัน การเก็บด้วย Flip นี้ จะมีข้อได้เปรียบ 2x2 ตรงที่ สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เปลี่ยนเหรียญได้ แต่จะมีราคาแพงกว่า 2x2 แต่ Flip ก็มีข้อเสียคือ วัสดุที่นำมาใช้ มักจะมีสารเคมี ที่เรียกว่า PVC ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการเก็บเหรียญในระยะยาว เหมาะสำหรับการเก็บชั่วคราวมากกว่า

Hard Plastic : หรือกล่องพลาสติกเก็บเหรียญ จะมีขนาดแตกต่างกันไป เลือกหาซื้อได้หลายรูปแบบและหลายขนาด แต่จะมีราคาค่อนข้างสูง แต่สามารถใช้เก็บเหรียญที่มีคุณค่า มีราคาได้อย่างมีคุณภาพดี นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับจะนำมาใช้เก็บเหรียญที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ

Coin Tubes : เป็นที่เก็บเหรียญที่มีลักษณะเป็นแท่ง หรือเป็นหลอด ใช้สำหรับเก็บเหรียญหลาย ๆ เหรียญไว้ด้วยกัน ไม่ได้แยกแต่ละเหรียญ เหมาะสำหรับการใช้เก็บเหรียญที่เน้นปริมาณ

Slab : เหมาะสำหรับนำมาใช้เก็บเหรียญที่มีคุณค่ามาก ๆ เป็นการเก็บระยะยาว เป็นการเก็บในลักษณะของมืออาชีพ ซึ่ง Slab จะมีให้เลือกทั้งรูปแบบและขนาดที่ต่างกันไป
ทางเลือกในการเก็บเหรียญนั้นมีหลายหลาย เราสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมสำหรับนักสะสมแต่ละคน แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเลือกแบบไหน ก็มีข้อควรระวังอีกอย่างคือ สถานที่ที่ใช้ในการเก็บ ต้องเป็นที่แห้ง ความชื้นไม่สูง เพราะความชื้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเหรียญได้

เรียบเรียงข้อมูลจาก https://coins.ha.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook