การศึกษาเผย ปุ่ม ‘Dislike’ และ ‘not interested’ ใน Youtube แทบไม่ช่วยคัดกรองเนื้อหาออกเลย

การศึกษาเผย ปุ่ม ‘Dislike’ และ ‘not interested’ ใน Youtube แทบไม่ช่วยคัดกรองเนื้อหาออกเลย

การศึกษาเผย ปุ่ม ‘Dislike’ และ ‘not interested’ ใน Youtube แทบไม่ช่วยคัดกรองเนื้อหาออกเลย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การศึกษาใหม่จาก Mozilla เผย แม้ผู้ใช้จะกดปุ่ม ‘Dislike’ หรือ ‘Not Interested’ ใน Youtube แต่มันกลับไม่ช่วยกรองคอนเทนต์ที่ไม่ต้องการออกไปเท่าคนทั่วไปคิด

นักวิจัยจาก Mozilla ได้ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับคลิปวิดีโอแนะนำจากผู้ใช้กว่า 20,000 ราย และพบว่าปุ่มที่แสดงความไม่ต้องการเห็น/ไม่พอใจคอนเทนต์ของผู้ใช้ เช่น ปุ่ม ‘Dislike’, ‘not interested’, ‘stop recommending channel’ หรือ ‘remove from watch history’ แทบจะไม่ป้องกันหรือคัดกรองเนื้อหาที่ผู้ใช้ไม่ต้องการดูออกไปได้เท่าที่ควร

ในกรณีที่ดีที่สุดปุ่มในข้างต้นจะช่วยป้องกันคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องได้ประมาณครึ่งหนึ่งของเนื้อหาที่ผู้ใช้ไม่ต้องการเห็น และในกรณีที่แย่ที่สุดก็คือ มันแทบจะไม่ช่วยคัดกรองคอนเทนต์ที่ไม่ต้องการออกไปเลย

ในการทดลองครั้งนี้ Mozill ได้แบ่งกลุ่มอาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาเป็นกลุ่ม ๆ เช่น กลุ่มที่กด dislike (ไม่ชอบ), กลุ่มที่กด not interested (ไม่สนใจ) หรือกลุ่มที่กด don’t recommend channel (อย่าแนะนำช่องนี้) จากนั้นจึงนำมาคอนเทนต์แนะนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ผู้ใช้จะไม่ส่งฟีดแบ็กใด ๆ กลับไปที่ Youtube

ผลจากการเปรียบเทียบทำให้พบความแตกต่างกัน ดังนี้

  • กลุ่ม ‘dislike’ และ ‘not interested’ : ป้องกันการแสดงเนื้อหาแนะนำที่ไม่ต้องการได้ประมาณ 11 – 12%
  • กลุ่ม ‘Don’t recommend channel’ : ป้องกันการแนะนำที่ไม่ต้องการได้ประมาณ 43%
  • กลุ่ม ‘remove from history’ : ป้องกันการแนะนำที่ไม่ต้องการได้ประมาณ 29%

แม้นักวิจัยจะให้ความเห็นว่า Youtube ควรเคารพการตัดสินใจของผู้ใช้ และควรใส่ใจกับฟีดแบกที่ Youtube ได้รับผ่านปุ่มต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ส่งสัญญาณไป แต่ตัวแทนจาก Youtube ก็ได้ออกมาเผยว่า การคัดกรองเนื้อหาที่ผู้ใช้ไม่ต้องการออกเพียงบางส่วนเป็นความตั้งใจของ Youtube ที่จะไม่บล็อกเนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพราะการรับเนื้อหาเพียงประเภทเดียวอาจทำให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า ห้องเสียงสะท้อน (Echo Chamber) ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ใช้จะได้รับแต่เนื้อหา ข้อมูล และแนวความคิดแบบเดิม ๆ จนผู้ใช้ซึมซับความคิดเพียงด้านเดียวโดยไม่ทันตั้งตัว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook