ลดความเหลื่อมล้ำเชื่อมต่อช่องว่างเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ลดความเหลื่อมล้ำเชื่อมต่อช่องว่างเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ลดความเหลื่อมล้ำเชื่อมต่อช่องว่างเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบัน เราทุกคนอยู่ในโลกดิจิทัลที่ขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วจากภาคธุรกิจและรัฐบาลทั่วโลก ซึ่งกำลังชะลอตัวจากความ ท้าทายของสถานการณ์ระดับโลกครั้งใหญ่ โดยถึงแม้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะสามารถใช้ประโยชน์ในการขยายตัวเชิงดิจิทัลในครั้งนี้ แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงว่า เมื่อเราก้าวเข้าสู่เทคโนโลยียุคใหม่ ช่องว่างระหว่างผู้ที่มีทักษะด้านดิจิทัลและผู้ไม่มีทักษะที่อาจถูกทิ้งไว้เบื้องหลังก็จะมีให้เห็นมากขึ้นอีกเช่นกัน

รายงาน GSMA ระบุว่า กระบวนการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลในปัจจุบันอาจส่งผลให้ประชากรมากถึง 700 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ หัวเว่ย ในฐานะที่เป็นผู้ส่งเสริมศักยภาพด้าน ICT และพันธมิตรในภูมิภาคที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล จึงพร้อมที่จะผสานเทคโนโลยีกับความรับผิดชอบต่อสังคมของเรา เพื่อขับเคลื่อนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านแนวทางสำคัญ 3 วิธี ดังนี้

เสริมศักยภาพการเชื่อมต่อ ICT เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างสมดุล

เทคโนโลยีการเชื่อมต่อและคลาวด์นับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการก้าวข้ามไปสู่ยุคดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ความพร้อมด้านดิจิทัลในแต่ละประเทศภายในภูมิภาคนี้ยังคงอยู่ในระดับที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก รายงาน Global Connectivity Index (GCI) ของหัวเว่ยประจำปี 2563 ซึ่งประเมินความพร้อมเชิงดิจิทัลของภาคเศรษฐกิจ โดยอ้างอิงจากความสามารถในการเชื่อมต่อและศักยภาพทางดิจิทัล ระบุว่าเมื่อเปรียบเทียบกับทุกประเทศทั่วโลก ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จะอยู่ในอันดับที่ 63, 58, และ 59 ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์มีความพร้อมอยู่ในอันดับที่ 2 ส่วนในด้านความเร็วของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียก็รั้งท้ายตามหลังสิงคโปร์ ฮ่องกง และไทย (อ้างอิงจาก Ookla Speedtest ในเดือนตุลาคม 2563) ข้อมูลจากรายงานยังชี้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีคลาวด์ในปัจจุบันอยู่ที่เพียง 20% จากทั้งภูมิภาค ซึ่งอัตราความครอบคลุมเทคโนโลยี 4G เกินครึ่งมาแค่เล็กน้อย และอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของครัวเรือนอยู่ที่เพียงหนึ่งในสามเท่านั้น

นั่นทำให้โครงการ Tech4All โปรแกรม RuralStar ของหัวเว่ยได้ตั้งเป้าหมายในการส่งมอบอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อให้กับพื้นที่ด้อยพัฒนาในภูมิภาคมาตั้งแต่ปี 2560 โดยหัวเว่ยประสบความสำเร็จในการร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม 12 ราย จาก 8 ประเทศ ซึ่งรวมถึงในไทยและอินโดนีเซีย ตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มโครงการ โปรแกรม RuralStar Pro รุ่นล่าสุด ยังช่วยลดต้นทุนด้วยการบูรณาการระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ คลื่นความถี่คลื่นวิทยุ และฟังก์ชัน backhaul โครงข่ายไร้สายเข้าด้วยกัน ทำให้ใช้พลังงานเพียง 100 วัตต์เท่านั้น สร้างประโยชน์ให้กับหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกลที่มีจำนวนประชากรไม่เกิน 500 คน

 ลดช่องว่างด้านความสามารถเชิงดิจิทัลผ่านกลยุทธ์ที่ครอบคลุม

ผลวิจัยโดย Korn Ferry บ่งชี้ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะกว่า 47 ล้านคนภายในปี 2573 ซึ่งทำให้เสียโอกาสคิดเป็นมูลค่ากว่า 4.238 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยพบว่าการกระจายตัวของแรงงานที่มีทักษะสูงนั้นเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง ทั้งนี้ รายงานจาก Network Readiness Index 2020 พบว่าสิงคโปร์มีแรงงานทักษะสูงมากเป็นอันดับ 3 จาก 134 ประเทศทั่วโลก ในขณะที่เนปาล กัมพูชา และบังคลาเทศ รั้งทายอยู่อันดับที่ 113, 104 และ 105 ตามลำดับ

ในการประชุมหัวข้อ “เทคโนโลยีกับความยั่งยืน ร่วมสร้างโลกสำหรับทุกคน” ครั้งล่าสุดซึ่งร่วมจัดโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature – IUCN) นายเหลียง หัว ประธานหัวเว่ย กล่าวว่า “ทักษะและความรู้ด้านดิจิทัล ไม่ได้เป็นเพียงรากฐานของเศรษฐกิจแบบดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ตามข้อกำหนดขององค์กรสหประชาชาติ”

ด้วยแนวคิดนี้ ทำให้เกิดการสนับสนุนโดยการเปิดตัวโครงการ Seed for the Future 2.0 ของหัวเว่ย เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 ซึ่งมีการลงทุนมูลค่ากว่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาศักยภาพทางดิจิทัลให้แก่บุคลากรในช่วง 5 ปีข้างหน้า และจะสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้คนกว่า 3 ล้านคน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดในระดับโลกนี้ หัวเว่ย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีเป้าหมายที่จะอบรมพัฒนาผู้ที่มีความสามารถด้าน ICT ในท้องถิ่น 400,000 คน ผ่านโครงการ Seed for the Future และโครงการอื่น ๆ

นวัตกรรมด้านการพัฒนาเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ ก้าวสู่สังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

หัวเว่ยได้ตีพิมพ์รายงานด้านความยั่งยืนประจำปีอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 13 ปีแล้ว โดยรายงานฉบับล่าสุดได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยและความคืบหน้าของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนทั้ง 4 ประการในปีที่ผ่านมา ได้แก่ การสร้างความเท่าเทียมในด้านดิจิทัล ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ การปกป้องสิ่งแวดล้อม และอีโคซิสเต็มที่แข็งแรงและเป็นอันหนึ่ง          อันเดียวกัน

สำหรับด้านพลังงานดิจิทัล หัวเว่ยได้ส่งเสริมพันธมิตรกว่า 93 รายจากซัพพลายเออร์ชั้นนำ 100 รายที่อยู่ในอันดับสูงสุด ให้ตั้งเป้าหมายเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ โดยโรงผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ (Photovoltaic – PV) ในพื้นที่ของหัวเว่ยสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงถึง 12.6 ล้านมิลลิวัตต์ และโซลูชันผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอัจฉริยะ (Smart PV) นี้ถูกนำไปใช้ในสนามบินชางงี ประเทศสิงคโปร์ สถาบันเทคโนโลยีสุมาเตรา ประเทศอินโดนีเซีย (The Indonesian Institute Technology Sumatera) และสนามบินแห่งชาติในประเทศไทย นอกจากนี้ โซลูชัน FusionSolar ของหัวเว่ยยังทำให้เครือ Sunseap Group ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถสร้างโรงผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาฟาร์มลอยน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นอกชายฝั่งของประเทศสิงคโปร์ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ หัวเว่ยพร้อมพาร์ทเนอร์จำนวนมากยังได้ยกระดับการใช้เทคโนโลยีเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมไปถึงองค์กร Rainforest Connection และยังประสบความสำเร็จในการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้วยอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการสนับสนุนการปกป้องป่าดิบชื้นรวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์ในประเทศฟิลิปปินส์และประเทศมาเลเซียด้วยการผสานเทคโนโลยีคลาวด์เข้ากับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมทั้งอุปกรณ์ตรวจจับการบุกรุกในรูปแบบใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อป้องกันการลักลอบตัดป่าไม้และล่าสัตว์อย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้ หัวเว่ยยังมีบทบาทในด้านการช่วยป้องกันผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกด้วย จากการคิดค้นระบบเตือนภัยและการคาดการณ์ล่วงหน้า

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้จะนำมาซึ่งประโยชน์ที่หวนกลับมาอย่างมากมายมหาศาล นั่นหมายความว่า หากเรายิ่งนำเทคโนโลยีไปปรับใช้มากขึ้นเท่าไหร่ ผลตอบแทนและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจรวมถึงสภาพความเป็นอยู่ที่ดีก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น จึงถึงเวลาแล้วที่เราจะตระหนักถึงการป้องกันไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างทางดิจิทัลที่มากขึ้น ซึ่งเริ่มได้ด้วยการส่งเสริมการเข้าถึงการให้บริการทางดิจิทัลและการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะการทำให้ผู้ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ ที่สำคัญคือตลอดทั้งกระบวนการนี้ เราจะต้องตื่นตัวมากขึ้นในด้านการปกป้องโลกของเราด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook