หลังเงียบไปนาน Libra สกุลเงินจากเฟซบุ๊กปรับแผน! สู่ Libra 2.0 หวังได้ใจฝ่ายกฏหมาย และหน่วยงานกำกับดู

หลังเงียบไปนาน Libra สกุลเงินจากเฟซบุ๊กปรับแผน! สู่ Libra 2.0 หวังได้ใจฝ่ายกฏหมาย และหน่วยงานกำกับดู

หลังเงียบไปนาน Libra สกุลเงินจากเฟซบุ๊กปรับแผน! สู่ Libra 2.0 หวังได้ใจฝ่ายกฏหมาย และหน่วยงานกำกับดู
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากจุดเริ่มต้นของโครงการ Libra ที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก แห่ง Facebook ได้ขึ้นเวทีประกาศเปิดตัวโครงการ เงินสกุลดิจิทัล Libra และเดินหน้าโครงการมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2019 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการ ทั้งธนาคารกลาง หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก ที่ส่วนใหญ่ทยอยกันออกมาคัดค้านแนวคิดนี้ และขอให้ มาร์ก ชะลอ ยุติ หรือเข้าให้ข้อมูลเพิ่มเติม ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของระบบ ความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อระบบการเงินโลก รวมถึงประเด็นด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และความโปร่งใสในเรื่องการบริหารจัดการ ฯลฯ

หลังเงียบหายไป พวกเขากลับมาพร้อมจดหมายข่าวที่ชี้แจงถึง การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่  ที่พยายามแสดงให้เห็นถึง แนวทางในการดำเนินงาน ที่ชัดเจน โปร่งใส คำนึงถึงข้อสังเกตที่เคยได้รับจากหน่วยงานกำกับดูแลมากขึ้น โดยเน้นไปที่การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยี ที่เป็นการกำกับดูแลแบบกระจาย เพื่อสร้างระบบที่เปิดกว้าง ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และสอดรับกับข้อเสนอจากหน่วยงานกำกับดูแล กฏหมายการเงินของแต่ละประเทศมากขึ้น

โดยทาง Michael Engle, หนึ่งในทีม Libra Association ได้สรุปถึงแผนงานใน White Paper ฉบับปรับปรุงใหม่ หรือ Libra White Paper 2.0 ซึ่งมีสาระสำคัญเพิ่มเติมจาก White Paper ฉบับเดิมดังนี้ :

การเพิ่มขอบเขตความสามารถ และนำเทคโนโลยี blockchain มาใช้ ในกรอบการทำงานที่เป็นที่ยอมรับ อ้างอิงสกุลเงินเดียวที่มีความเสถียรสูง และมีข้อตกลงร่วมกัน (ของแต่ละประเทศ) ในการคำนวณสูตรการอ้างอิงมูลค่า นอกเหนือจากการผูกรวม หรืออ้างอิงมูลค่าเหรียญจากหลายสกุลเงิน มีการปรับเรื่อง Libra Network ที่ไม่ปล่อยให้ดูแลกำกับ (node) กันเอง แต่เปลี่ยนเป็นการให้หน่วยงานของภาครัฐแต่ละประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลระบบ แลกเปลี่ยน จัดเก็บ (VASPs) ซึ่งต้องได้การรับรองจากสมาคม ​libra

กล่าวโดยสรุปคือ จะมีการเปลี่ยนจากการสร้างเงินดิจิตอลสกุล Libra ให้กลายเป็นแพลตฟอร์ม หรือ แอพพลิเคชั่นทางการเงิน ที่จะเปิดให้ธนาคารกลางทั่วโลก สามารถสร้างสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองได้ โดยทุกๆ single-currency stablecoins ที่ออกมา จะต้องมีเงินของสกุลนั้น สำรองในอัตราส่วน 1:1 เสมอ เช่น

จะผลิต 10 ล้าน LibraUSD ก็ต้องมีเงินจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ฯ สำรองเก็บอยู่ในบัญชีธนาคารของ Libra

จะผลิต 100 ล้าน LibraEUR ก็ต้องมีเงินจำนวน 100 ล้านยูโรฯ สำรองเก็บอยู่ในบัญชีธนาคารของ Libra ในอัตราสัดส่วน 1:1

ซึ่งมีสูตรคำนวณที่แน่ชัดกว่าแบบเดิม โดยเริ่มแรกจะมี 4 สกุลในเครือข่ายช่วงเริ่มต้น คือ LibraUSD, LibraEUR, LibraGBP และ LibraSGD ก่อนรับ หรือขยายเพิ่มเติม ตามความสนใจของธนาคารกลางแต่ละประเทศ ที่อาจสนใจเข้าร่วมออกสกุลเงินของตัวเองบนแพลตฟอร์มของ Libra ทั้งนี้สมาคม Libra จะทำหน้าที่ในการจัดเก็บ และบริหารจัดการเงินสำรองใน Libra Reserve โดยกระจายลงทุนไว้ในพันธบัตรรัฐบาลที่มีเสถียรภาพทั่วโลก ทั้งแบบระยะสั้น และเงินสด (ในอัตราส่วน 80/20) โดยจะเก็บอยู่ในธนาคารของ Libra ที่กระจายอยู่ทั่วโลก ผ่านตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งอาจรวมถึงธนาคารกลาง หรือหน่วยงานที่ได้รับการมอบหมายของแต่ละประเทศ ซึ่งทั้งหมดต้องได้รับตรวจสอบ และอนุญาตจากสมาคม Libra เพื่อรับสิทธิ์ในการดูแลเข้าถึงข้อมูลได้

ในขณะเดียวกัน Libra ก็พัฒนา Global Libra ซึ่งมีสถานะเป็น Stablecoin หรือสกุลเงินที่มีสินทรัพย์หนุนหลังเต็มจำนวนจาก ค่าเฉลี่ยของทุกสกุลเงิน ที่อยู่รวมกันในตะกร้าของ Global Libra ในรูปแบบที่คล้ายกันกับ SDR (Special Drawing Rights) หรือสิทธิพิเศษถอนเงินของ IMF

ในจดหมายข่าวนี้ ทางสมาคม Libra ยังกล่าวย้ำว่าพวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการทบทวน และควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับ สัญญาที่ชาญฉลาด หรือ Smart Contract ที่ได้รับอนุมัติ และเผยแพร่แล้วเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าร่วมกับระบบการชำระเงิน Libra ได้ และในอนาคตสมาคมจะสำรวจวิธีการควบคุมที่เหมาะสม สำหรับเชื่อมโยง หรืออนุมัติการเผยแพร่สัญญาอัจฉริยะของบุคคลที่สามด้วยวิธีการที่เหมาะสมในลำดับต่อไป

นี่เป็นเพียงเนื้อความ ‘บางส่วน’ ในจดหมายข่าวจากสมาคม Libra Association ที่ทีมงานนำมาแปล เรียบเรียง เพิ่มข้อมูลตัวอย่าง และสรุปเนื้อหาให้แฟนๆ แบไต๋ฯ ได้อัปเดตความคืบหน้าของโครงการนี้

ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าการปรับแผนแบบ ‘ยกเครื่องใหม่’ ของ Libra ในครั้งนี้ จะสำเร็จหรือไปต่อได้ไกลแค่ไหน และจะได้รับการตอบรับจากหน่วยงานกำกับดูแล ธนาคารกลาง ทีมกฏหมายแต่ละประเทศอย่างไร?

หากพวกเขาทำได้สำเร็จ เราอาจได้เห็นการ Disrupt​ ครั้งสำคัญ นับตั้งแต่มี internet ที่เคยพลิกโลกการติดต่อสื่อสาร การส่งข้อมูลจำนวนมหาศาล ตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงหลายร้อยหลายพันอย่างไปแล้ว แต่ครั้งนี้จะเกิดขึ้นกับโลกการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพวกเราทุกคน

ทีมงานแบไต๋ฯ จะคอยติดตามข่าวนี้ และนำมาสรุปให้อ่านกันอีกครั้งในบทความถัดไป

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook