รัสเซียห้ามขายสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์และสมาร์ตทีวีไม่ติดตั้งซอฟต์แวร์รัสเซียเริ่ม 1 ก.ค. 2020
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/hi/0/ud/298/1490541/3.jpgรัสเซียห้ามขายสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์และสมาร์ตทีวีไม่ติดตั้งซอฟต์แวร์รัสเซียเริ่ม 1 ก.ค. 2020

    รัสเซียห้ามขายสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์และสมาร์ตทีวีไม่ติดตั้งซอฟต์แวร์รัสเซียเริ่ม 1 ก.ค. 2020

    2019-12-04T12:20:51+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซียได้ลงนามในกฎหมายที่กำหนดให้สมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ และสมาร์ตทีวีทั้งหมดที่จะวางขายในรัสเซียต้องติดตั้งซอฟต์แวร์รัสเซียมาพร้อมกับตัวเครื่อง หรือที่เรียกว่า Pre-installed ซึ่งจะเริ่มมีผลในวันที่ 1 กรกฎาคม 2020 เพื่อในระหว่างนี้รัฐบาลจะใช้เวลาจัดเตรียมแอปทั้งหลายให้พร้อม และบริษัทที่ละเมิดจะถูกปรับเป็นเงินราว 3,100 USD (93,XXX บาท)

    1490541-thumbnail

    เนื่องจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ได้เข้ามามีอิทธิพลในรัสเซีย เช่น Apple ของสหรัฐอเมริกา, Samsung จากเกาหลีใต้และ Huawei จากจีน ดังนั้นรัฐบาลจึงนำเสนอกฎหมายนี้เพื่อต้องการช่วยให้บริษัทไอทีของรัสเซียสามารถแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ใช้โดยเฉพาะผู้สูงอายุไม่ต้องยุ่งยากในการดาวน์โหลดติดตั้งแอป เพราะจะติดตั้งมาพร้อมกับอุปกรณ์นั่นเอง

    กฎหมายนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านจากผู้ค้าปลีกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยกล่าวว่ารัฐบาลไม่ได้ปรึกษากับผู้ประกอบการก่อน ที่สำคัญมีความกังวลว่าจะเป็นการกดดัน Apple ออกสู่นอกประเทศ เพราะการติดตั้งแอปที่ไม่ใช่คู่ค้า หรือ Third-party ซึ่งไม่ต่างกับการ Jailbreak จะเสี่ยงต่อการคุกคามด้านความปลอดภัย สรุปง่าย ๆ ว่าบริษัทจะถูกฟ้องร้องเสมอเมื่อแอป Third-party ละเมิดข้อมูลหรือสร้างความเสียหายต่อผู้ใช้ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ Apple จะไม่ทนกับเรื่องนี้

    นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่ารัสเซียจะมีอิทธิพลเหนือแอปที่รัฐบาลสนับสนุนเพื่อใช้ในการสอดแนมประชาชน เนื่องจากก่อนหน้านี้รัสเซียพยายามควบคุมสอดส่องดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน ในเดือนพฤษภาคมประธานาธิบดีได้ลงนามในกฎหมาย Sovereign Internet หรือ อธิปไตยทางอินเทอร์เน็ต โดยสร้างไฟร์วอลล์ควบคุมการใช้อินทราเน็ตที่ตัดขาดจากโลกอินเทอร์เน็ตภายนอก ให้ข้อมูลไหลอยู่เฉพาะภายในประเทศเพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่ง Human Rights Watch กล่าวว่าเป็นการปิดกั้นการใช้อินเทอร์เน็ตและจะเป็นแบบอย่างที่อันตรายสำหรับประเทศอื่น ๆ