Facebook เปิดตัวโครงการ “We Think Digital” ในประเทศไทย เสริมทักษะเท่าทันโลกออนไลน์ 

Facebook เปิดตัวโครงการ “We Think Digital” ในประเทศไทย เสริมทักษะเท่าทันโลกออนไลน์ 

Facebook เปิดตัวโครงการ “We Think Digital” ในประเทศไทย เสริมทักษะเท่าทันโลกออนไลน์ 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Facebook Thailand ประกาศเปิดตัวโครงการ We Think Digital Thailand อย่างเป็นทางการ โครงการส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้คนไทยได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างชุมชนดิจิทัลที่ปลอดภัยและมีความสร้างสรรค์ในเชิงบวก 

โครงการ We Think Digital Thailand เกิดจากการนำโครงการ ‘We Think Digital’ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับโลกที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ของ Facebook มาปรับใช้ให้เข้ากับประเทศไทย พร้อมนำเสนอทรัพยากรต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนเกิดการคิดเชิงวิเคราะห์และแชร์ความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อย่างรอบคอบ  

โดย Facebook ตั้งเป้าในการฝึกอบรมผู้คนจำนวน 2 ล้านคน จาก 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคภายในปี พ.ศ.2563 และนำเสนอทรัพยากรการเรียนรู้ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ต้องการจะเรียนรู้เพิ่มเติมหรือพัฒนาทักษะเชิงดิจิทัลของตนเอง ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมือใหม่หรือเป็นกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่เป็นชาวดิจิทัลโดยกำเนิด (digital native)  

 

ทั้งนี้ Facebook ได้พัฒนาโครงการในประเทศไทยผ่านการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะที่ปรึกษาของโครงการ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสาขาที่หลากหลาย เช่น การสื่อสารมวลชน สุขภาวะของเด็ก และการศึกษา เป็นต้น 

โครงการ We Think Digital Thailand ของ Facebook นำเสนอหลักสูตรและทรัพยากรด้านการเรียนรู้เป็นภาษาไทย ครอบคลุมหัวข้อหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจและทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยของผู้ใช้ ความปลอดภัยของข้อมูลออนไลน์ การสนทนาบนโลกดิจิทัล โดยเนื้อหาทั้งหมดแบ่งเป็น7 หลักสูตร เช่น  

อินเทอร์เน็ตคืออะไร ลายนิ้วมือดิจิทัลของคุณ การเป็นนักคิดเชิงวิเคราะห์ คุณในฐานะพลเมืองดิจิทัล ฯลฯ โครงการ We Think Digital Thailand ยังออกแบบขึ้นเพื่อให้มีความเข้าถึงคนไทยทุกกลุ่มโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างและพัฒนาขึ้นจากคำปรึกษาของพันธมิตรองค์กรและชุมชนต่างๆ เช่น สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และองค์กรต่างๆ จากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้แน่ใจว่าคนไทยทุกคนจะได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะเชิงดิจิทัลที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลปัจจุบัน 

นอกจากนี้ พันธมิตรของ Facebook อย่างมูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย ยังจะดำเนินโครงการผ่านการฝึกอบรมแบบตัวต่อตัวสำหรับกลุ่มต่างๆ เช่น สภาเยาวชนแห่งประเทศไทย ภายใต้การดูแลของกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากความร่วมมือในครั้งนี้ Facebook มุ่งมั่นที่จะฝึกอบรมทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีแก่ผู้นำเยาวชนจากทั้ง 5 ภูมิภาคในประเทศ  

ภายในหกเดือนแรกของปี พ.ศ.2563 ทั้งนี้ Facebook ยังได้ร่วมมือกับ Love Frankie เอเจนซี่ด้านการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในการจัดโครงการ We Think Digital Champions Academy เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่ออบรมองค์กรและชุมชนต่างๆ เกี่ยวกับวิธีการในการจัดทำแคมเปญออนไลน์เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี  

Facebook จะช่วยสนับสนุนผู้นำท้องถิ่นในการจัดทำแคมเปญเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีในชุมชนของพวกเขาผ่านโครงการดังกล่าว การจัดกิจกรรมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการดำเนินงานร่วมกับทั้งผู้นำเยาวชนและผู้นำชุมชน ทำให้โครงการ We Think Digital Thailand เป็นโครงการที่บุกเบิกวิธีการใหม่ๆ และสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาพลเมืองดิจิทัลที่มีความรับผิดชอบ 

ไซมอน มิลเนอร์ รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Facebook อธิบายถึงวิสัยทัศน์ของโครงการ We Think Digital ที่งานเปิดตัวเอาไว้ว่า “ในปัจจุบัน โลกของเราเป็นโลกที่เชื่อมต่อกันมากขึ้น และผู้คนมีโอกาสในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา  

การช่วยเหลือคนไทยในการพัฒนาทักษะการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลและการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีจึงมีความสำคัญต่อการสร้างชุมชนดิจิทัลที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ในเชิงบวก โครงการ We Think Digital Thailand ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความเชื่อหลักนี้ และเราภูมิใจที่ได้นำโครงการนี้มาสู่ประเทศไทยในวันนี้” 

จากการศึกษาโดย YouGov เมื่อเร็วๆ นี้ที่ได้รับการสนับสนุนโดย Facebook ประเทศไทย[1] ร้อยละ 81 ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่าพาสเวิร์ดสำหรับโซเชียลเน็ตเวิร์กของตนเองนั้นปลอดภัยเป็นอย่างมากและค่อนข้างมาก โดยร้อยละ 72 ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้แชร์พาสเวิร์ดของพวกเขากับผู้อื่น  

ในขณะที่ร้อยละ 67 ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขาใช้พาสเวิร์ดที่ประกอบด้วยตัวหนังสือและตัวเลข ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ 58 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่รู้จักการยืนยันตัวตนผ่านสองขั้นตอน (2-factor authentication หรือ 2FA)  

ในขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนสามารถระบุสถานการณ์อย่างน้อยหนึ่งสถานการณ์ที่สามารถทำให้พวกเขาตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง (phishing) และมีเพียงร้อยละ 40 ที่สามารถระบุลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวของกับการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งได้อย่างถูกต้อง 

ข่าวประชาสัมพันธ์ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook