หัวเว่ยพร้อมช่วยยุโรปพัฒนา OS ของตัวเองเพื่อความเป็นเอกเทศด้านดิจิทัล

หัวเว่ยพร้อมช่วยยุโรปพัฒนา OS ของตัวเองเพื่อความเป็นเอกเทศด้านดิจิทัล

หัวเว่ยพร้อมช่วยยุโรปพัฒนา OS ของตัวเองเพื่อความเป็นเอกเทศด้านดิจิทัล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มร. อีริค สวี ประธานกรรมการบริษัทหมุนเวียนตามวาระ ของหัวเว่ย กล่าวว่า หัวเว่ยอยากสนับสนุนให้ยุโรปสร้างระบบนิเวศของสมาร์ทดีไวซ์ของตัวเองขึ้นมา ซึ่งจะทำให้ยุโรปมีความเป็นเอกเทศในด้านดิจิทัล

 “รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปได้มีการพูดคุยเรื่องความเป็นเอกเทศด้านดิจิทัลมาหลายปีแล้ว แล้วทำไมถึงไม่สร้างอีโคซิสเต็มสำหรับสมาร์ทดีไวซ์ของตัวเองขึ้นมาล่ะ” มร. สวี กล่าว ในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับ Handelsblatt หนังสือพิมพ์ธุรกิจของเยอรมนี “การมีอีโคซิสเต็มเป็นของตนเองก็จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องความเป็นเอกเทศด้านดิจิทัลของยุโรปได้”

ericxu-1

“หากยุโรปมีอีโคซิสเต็มสำหรับสมาร์ทดีไวซ์เป็นของตัวเอง หัวเว่ยก็จะใช้นะครับ” ประธานกรรมการบริษัท หมุนเวียนตามวาระ ให้คำแนะนำว่า หัวเว่ยพร้อมที่จะลงทุนในระยะยาว แต่อีโคซิสเต็มของยุโรปไม่จำเป็นที่จะต้องมาจากหัวเว่ย

“อีโคซิสเต็มที่ยุโรปสร้างอาจใช้แอปพลิเคชันของสหรัฐฯ ด้วย และนำไปใช้กันได้ทั่วโลก และยังอาจจะใช้ OS ของ Android หรือ Harmony ก็ได้ ซึ่งทั้งสองตัวก็เป็นโอเพนซอร์สอยู่แล้ว” เขากล่าว

มร. อีริค สวี ยอมรับว่าหัวเว่ยได้มีการพูดคุยถึงแผนนี้กับบริษัทบางแห่งในยุโรปแล้ว แต่ยังไม่สามารถบอกชื่อได้ในตอนนี้

 “ผมคิดว่า เราน่าจะได้รายละเอียดที่ชัดเจนขึ้นในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า” เขากล่าว

ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ประธานกรรมการบริษัท หมุนเวียนตามวาระ ได้ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ  กล่าวกับสื่อเยอรมันว่า บริษัทได้มีการเตรียมตัว และสามารถเอาตัวรอดได้ดีภายใต้สภาวะที่กดดันนี้

“สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นบัญชีดำเรา และห้ามไม่ให้บริษัทคู่ค้าของเราในสหรัฐฯ ทำธุรกิจกับเรา มันไม่ยุติธรรมเลย แต่เราก็รับมือกับมันได้” เขากล่าว

มร. แบรด สมิธ ประธานบริษัทไมโครซอฟท์ กล่าวในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับ BBC News เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐยกเลิกการห้ามขายวินโดว์ซอฟต์แวร์ให้แก่หัวเว่ย และกล่าวว่าเขาไม่เชื่อว่า การยินยอมให้ลูกค้าของหัวเว่ยใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์จะเป็นการ “ทำลาย” ความมั่นคงของประเทศแต่อย่างใด

จากรายงานข่าวของสื่อต่าง ๆ กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้รับคำร้องจากบริษัทอเมริกันกว่า 100 แห่ง เพื่อขออนุญาตจำหน่ายเทคโนโลยีให้แก่หัวเว่ย แต่กระทรวงพาณิชย์ก็ยังไม่มีการออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทใด

เป็นที่รู้กันว่าข้อพิพาทนี้จะไม่มีทางหาข้อสรุปได้ในเร็ววัน หัวเว่ยจึงเร่งปรับการดำเนินธุรกิจของตน  “เราสามารถที่จะเดินหน้าการผลิตของเราต่อไปได้โดยไม่ต้องพึ่งพาชิ้นส่วนอุปกรณ์จากบริษัทในสหรัฐฯ และใช้ของบริษัทจากประเทศอื่นแทน” มร. อีริค สวี กล่าว  “เราจะไม่เพียงแค่อยู่รอดภายใต้สภาวะกดดันเป็นเวลานาน แต่เราจะพัฒนาธุรกิจให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย"

ข่าวประชาสัมพันธ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook