Adobe ส่ง Font ใหม่มาให้ใช้งานกันอีกแล้ว

Adobe ส่ง Font ใหม่มาให้ใช้งานกันอีกแล้ว

Adobe ส่ง Font ใหม่มาให้ใช้งานกันอีกแล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับผู้ที่ใช้งาน Adobe Creative Cloud จะได้ใช้งานฟอนต์อักษรใหม่ 665 แบบจาก 41 ตระกูล เพิ่มเติมจาก Monotype เพื่อช่วยเพิ่มความสวยงามในการออกแบบ มาดูกันว่ามีฟอนต์อะไรที่น่าสนใจบ้าง

ITC Benguiat

นี่คือฟอนต์ตัวอักษรที่ใช้ในซีรี่ส์เรื่อง Stranger Things!  เป็นฟอนต์แบบคลาสสิกที่นิยมใช้บนปกหนังสือในช่วงทศวรรษ 1980 และอาจพบเห็นตามป้ายประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน ผลงานออกแบบโดย Ed Benguiat ดูสวยงามโดยไม่ต้องปรับแต่งเพิ่มเติม แต่ถ้าคุณต้องการใส่ลูกเล่นให้ดูมีสีสัน ก็มีตัวเลือกเพิ่มเติมให้คุณเล่นสนุกได้ตามต้องการ

itcavantgardegothic_hero

ITC Avant Garde Gothic

Ed Benguiat ได้ต่อยอดจากงานออกแบบดั้งเดิมของ Herb Lubalin และ Tom Carnase เพื่อขยายฟอนต์ที่ถูกออกแบบไว้สำหรับหน้าปกนิตยสาร Avant Garde ในช่วงทศวรรษ1970  ฟอนต์นี้มีความยืดหยุ่นอย่างมาก สามารถสร้างบุคลิกที่โดดเด่นจากการใช้ภาพตัวอักษรที่แตกต่างไปจากเดิมเล็กน้อย

gill_sans_nova

Gill Sans Nova

แรงบันดาลใจจากฟอนต์ตัวอักษรที่ใช้ในสถานีรถไฟใต้ดินของลอนดอน โดย Gill Sans เหมาะสำหรับการใช้งาน ถ้าหาก “เสน่ห์ของรถไฟในยุค Midcentury” คือรูปแบบความงามที่คุณต้องการ  นอกจากนี้ ยังสามารถปรับใช้ในกรณีอื่นๆ ได้อีกมากมาย

ในช่วงหลายทศวรรษนับตั้งแต่ผลงานเบื้องต้นของ Eric Gill นักออกแบบคนอื่นๆ จำนวนมากได้พยายามปรับแต่งและออกแบบตัวอักษรเพิ่มเติม เพื่อให้กลายเป็นแบบอักษรที่ครบถ้วนและเป็นระบบ เช่น รูปแบบตัวผอม หรือมีการไล่ระดับสีแบบแปลกๆ และมีเค้าโครงแบบต่างๆ ให้เลือกใช้

plantin

Plantin

ฟอนต์นี้เพิ่งได้รับการฉลองวาระครบรอบ 100 ปีเมื่อไม่นานมานี้ และยังคงถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย  ที่จริงแล้ว ฟอนต์นี้คือต้นแบบแรงบันดาลใจสำหรับฟอนต์ Times New Roman โดยถูกตั้งชื่อตาม Christopher Plantin เจ้าของโรงพิมพ์ในศตวรรษที่ 16 แม่พิมพ์ต้นฉบับของฟอนต์อักษรนี้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1913 สำหรับการเรียงพิมพ์โดยใช้โลหะร้อน และปัจจุบันเรามีเวอร์ชั่นดิจิทัลที่ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยสำหรับฟอนต์อักษรนี้แล้ว

untitled-9

Rockwell Nova

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณเอาฟอนต์ที่ไม่มีเชิง (sans serif) อย่างเช่น Futura มา แล้วใส่เชิง (serif) เพิ่มเติมเข้าไป  นักออกแบบที่ Monotype ตั้งคำถามนี้เมื่อปี ค.ศ. 1934 และคำตอบที่ได้คือ ฟอนต์ Rockwell ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาสำหรับใช้เขียนชื่อเรื่องและชื่อแบรนด์ต่างๆ และบางครั้งอาจใช้ในข้อความที่จัดเรียงเป็นระเบียบ ดูสวยสง่า หรืออาจมีการปรับเพิ่มขนาดสำหรับใช้เป็นหัวข้อข่าวหรือบทความที่ดูเข้มแข็ง ทรงอิทธิพล ฟอนต์นี้เหมาะสำหรับใช้งานในเกือบทุกกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณใช้รูปแบบตัวผอมสำหรับพื้นที่ที่จำกัด

sabon_hero

Sabon

Sabon ได้รับการออกแบบอย่างแม่นยำตามสเปค โดยมีข้อจำกัดบางประการที่อาจฟังดูแปลกประหลาดสำหรับนักออกแบบตัวอักษรในปัจจุบัน:

  • ต้องทำงานในลักษณะเดียวกันบนแท่นพิมพ์ Monotype, Linotype และ Letterpress (ทุกวันนี้อาจเป็นเรื่องยากที่จะค้นหาแท่นพิมพ์บางอย่างที่กล่าวมา)
  • ไม่มีช่องไฟระยะห่างระหว่างตัวอักษร (อักษรทุกตัวมีระยะห่างในตัวเองอยู่แล้ว จึงไม่อยู่ชิดกับตัวอักษรข้างๆ)
  • รูปแบบตัวเอียงและตัวหนาต้องไม่กินพื้นที่เพิ่มเติม
  • ต้องดูคล้ายกับฟอนต์ Garamond

โชคดีที่ Jan Tschichold ทำงานได้ตามข้อกำหนดดังกล่าว และฟอนต์นี้ได้รับการเผยแพร่เมื่อปี ค.ศ. 1967 และปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการพิมพ์หนังสือ

tradegothicnextsoftrounded_he

Trade Gothic Next

ในคลังเครื่องมือของดีไซเนอร์ จะต้องมีฟอนต์อักษรอย่าง Trade Gothic ซึ่งเหมาะสำหรับหัวข้อที่ดูชัดเจนและอินโฟกราฟิกที่ดูสวยงาม  และตัวเลือก Soft Rounded เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในกรณีที่ฟอนต์แบบปกติดูแข็งเกินไป

ยังมีฟอนต์อีกมากที่น่าสนใจให้ใช้งานเลยนะคะ ไปลองเล่นกันดูได้หากใครที่มี Creative Cloud ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook