[How To] เลือกมือถืออย่างไรให้มีความจำในตัว เพียงพอต่อการใช้งานของคุณ

[How To] เลือกมือถืออย่างไรให้มีความจำในตัว เพียงพอต่อการใช้งานของคุณ

[How To] เลือกมือถืออย่างไรให้มีความจำในตัว เพียงพอต่อการใช้งานของคุณ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกวันนี้มือถือมีบทบาทมากมายต่อการดำรงชีวิตของคนทั่วไปอยู่แต่บางคนเลือกมือถือที่ราคาถูกแต่อาจจะยังไม่เหมาะสมกับคุณ โดยเฉพาะเรื่องของความจำในตัวเครื่อง วันนี้ Sanook! Hitech จะมาแนะนำว่า การเลือกซื้อมือถือนั้น ความจำเท่าไหร่ ถึงจะพอใช้กับรูปแบบของตัวคุณ

ความจำในตัวมือถือสำคัญแค่ไหน

One Plus 6 ความจำ 256GB

ก่อนอื่นต้องมารู้ก่อนว่า “ความจำมือถือสำคัญกับคุณแค่ไหน” ส่วนมากแล้วนอกจากความจำเสริมอย่าง Micro SD ที่สามารถถอดได้แล้ว ยังมีความจำในตัวเครื่องที่เปรียบเหมือนกับ Hard Disk ของคอมพิวเตอร์เช่นกัน โดยส่วนนี้จะเก็บทั้งระบบปฏิบัติการและ Application ด้วย

โดยมากความจำในตัวเครื่องถ้าเปิดมา เช่น 8GB คุณจะเหลือใช้เพียงแค่ 4GB โดยประมาณ เพราะจะมีทั้งโปรแกรมติดเครื่อง, ระบบปฏิบัติการ อยู่ภายใน ซึ่งบางครั้งคุณสามารถลบโปรแกรมติดเครื่อง บางโปรแกรมได้ แต่ถ้าปิดการทำงานก็อาจจะยังค้างอยู่ในเครื่อง

อีกประโยชน์ของความจำในตัวเครื่องคือ เมื่อมาตรฐานดีกว่าของการ์ดความจำภายนอก หรืออุปกรณ์เสริม ทำให้การเขียนและอ่านทำได้เร็วขึ้น (บางเครื่องต้องขึ้นอยู่กับ CPU และความจำอย่างเช่น RAM ด้วย)

เลือกความจำในตัวมือถือเท่าไหร่ถึงจะพอ

Xiaomi Redmi Note 5 ความจำ 64GB

วิธีการดูนั้นนอกจากเลือกมือถือที่ชอบก่อนแล้ว ความจำในตัวเครื่องนั้นควรอยู่ที่ 32GB ขึ้นไป สำหรับในยุคของปี 2018 ซึ่งคุณสามารถเก็บภาพและวิดีโอ โหลด Apps ได้ระดับหนึ่ง

ถ้าเป็นสายถ่ายภาพและวิดีโอแนะนำว่าควรมองมากกว่า 64GB ขึ้นไป ถ้าไม่คิดจะใช้การ์ดความจำเสริม หรือจะใส่ซิมการ์ด 2 ใบขึ้นไป เพราะรูปส่วนใหญ่จะมาแย่งพื้นที่ในตัวทำให้การติดตั้ง Application อาจจะไม่พอได้

ซึ่งความจำในตัวเครื่องที่เยอะจะต้องแลกมาด้วยราคาเครื่องที่สูงเช่นกัน ตัวอย่าง iPhone X ความจำ 64GB ราคานั้นจะอยู่ราวๆ 40,500 บาท แต่ iPhone X ความจำ 256GB ราคาอยู่ที่ 46,500 บาท เป็นต้น

และอย่าลืมว่า แม้ความจำในตัวมือถือเยอะแล้ว ควรจะหาอุปกรณ์สำรองข้อมูลในกรณีฉุกเฉินเช่น ความจำเต็ม, หรือมือถือกำลังส่งซ่อม รวมถึงใช้ Cloud ในการสำรองข้อมูลก็จะดีไม่น้อย เพื่อให้ข้อมูลที่มีค่าของคุณคงอยู่เสมอ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook