นักวิจัยกังวล "แบคทีเรียดื้อยา" อาจคร่าชีวิตประชากรโลก 10 ล้านคน

นักวิจัยกังวล "แบคทีเรียดื้อยา" อาจคร่าชีวิตประชากรโลก 10 ล้านคน

นักวิจัยกังวล "แบคทีเรียดื้อยา" อาจคร่าชีวิตประชากรโลก 10 ล้านคน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สบู่ล้างมือที่มีสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียเป็นผลิตภัณฑ์ที่หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป หลายคนเชื่อในประสิทธิภาพของสารฆ่าเชื้อเล่านี้ ขณะที่ความจริงแล้วจะมีแบคทีเรียจำนวนหนึ่งที่มีชีวิตรอดหลังจากที่ผู้ใช้ล้างมือ

แบคทีเรียเหล่านี้มีศักยภาพในการต้านประสิทธิภาพของสารฆ่าเชื้อ และไม่ใช้เฉพาะเชื้อที่รอดจากสบู่ล้างมือเท่านั้น แบคทีเรียจำนวนมากสามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ผู้ป่วยใช้ยาปฏิชีวนะ

นักวิทยาศาสตร์จึงชี้ให้เห็นถึงภัยของเชื้อดื้อยาหรือ Superbugs เหล่านี้

Sally Davies แพทย์ใหญ่ของสหราชอาณาจักร กล่าวที่งานประชุมที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ว่าในปัจจุบันต้องยอมรับว่าการติดเชื้อเกิดขึ้นได้ง่าย และกล่าวถึงอนาคตที่เชื้อโรคสามารถเอาชนะมนุษย์ได้

เธอบอกว่า คนไข้จำนวนมากเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการการรักษามะเร็ง เบาหวาน และจากการผ่าตัดต่างๆ ดังนั้นการผ่าตัดที่มีการเปิดผิวหนังในยุคปัจจุบันจึ่งเสี่ยงมากขึ้นต่อการติดเชื้อ

หากพิจารณาถึงการดื้อยาของ Superbugs ผู้เชี่ยวชาญจากวงการแพทย์แนะนำว่า ไม่เพียงแต่ลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในห่วงโซ่อาหาร แต่ยังให้รัฐบาลต่างๆ เตรียมตัวรับมือสถานการณ์ร้ายแรง เมื่อยาปฏิชีวนะไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป

นักวิจัยที่การประชุมในประเทศเยอรมนีพยายามแสวงหาวิธีแกะรอยการแพร่ขยายของ Superbugs

ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า แต่จะปีมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาราว 7 แสนคนต่อปี และตัวเลขดังกล่าวอาจเพิ่มเป็น 10 ล้านคนในปี ค.ศ. 2050 หรืออีก 37 ปีจากนี้ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook