อย.เตือน ยา “Acnotin 10” อันตรายถึงชีวิต ห้ามซื้อกินเอง

อย.เตือน ยา “Acnotin 10” อันตรายถึงชีวิต ห้ามซื้อกินเอง

อย.เตือน ยา “Acnotin 10” อันตรายถึงชีวิต ห้ามซื้อกินเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คณะกรรมการอาหารและยา เผย ยารักษาสิว ‘Acnotin 10’ มีผลข้างเคียงถึงชีวิต ห้ามประชาชนซื้อยาผ่านโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์มารับประทานเองโดยเด็ดขาด ชี้เป็นยาเป็นยาควบคุมพิเศษต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

กรณีเพจ Drama-addict โพตส์ข้อความระบุเรื่องมีผู้ขายยารักษาสิว Acnotin 10 ผ่านเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียกันอย่างแพร่หลาย โดยอวดอ้างสรรพคุณตัวยาว่า สามารถรักษาสิว ลดความมันบนใบหน้า และลดรอยด่างดำให้จางลง ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลข้างเคียงและความอันตรายหลังจากรับประทานยาดังกล่าว

ล่าสุด วันนี้ (16 ต.ค.60)  นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เปิดเผยว่า ห้ามผู้บริโภคสั่งซื้อยา Acnotin 10 ผ่านทางโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์มารับประทานโดยเด็ดขาด เนื่องจากเสี่ยงต่อการได้รับยาไม่มีคุณภาพ และอาจได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาถึงชีวิต โดยยาดังกล่าวเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มวิตามินเอ มีชื่อสามัญทางยา คือ ไอโซเตรทติโนอิน หรือ เรทิโนอิก แอซิด และมีชื่อทางการค้า เช่น Roaccutane (โรแอคคูเทน) , Acnotin (แอคโนติน) , Sotret (โซเทรท) , Isotane (ไอโซเทน) เป็นต้น

โดยยากลุ่มนี้จัดเป็นยาควบคุมพิเศษต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น หากซื้อยาดังกล่าวจากร้านขายยาจะต้องมีใบสั่งแพทย์มาซื้อ และจำหน่ายได้เฉพาะในร้านขายยาที่มีเภสัชกรคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด รวมถึงต้องมีใบอนุญาตขายยา และควรใช้ยาในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูง ส่งผลต่อหญิงมีครรภ์ เพราะจะทำให้เด็กทารกในครรภ์พิการได้ เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ พบความบกพร่องทางสมอง ดังนั้นผู้ที่ได้รับยาจึงต้องคุมกำเนิดก่อนกินยาอย่างน้อย 3 เดือน และคุมกำเนิดตลอดระยะเวลาที่ใช้ยาตัวนี้ในการรักษาสิว เพื่อความปลอดภัยต่อมารดาและทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น ทำให้ริมฝีปากแห้ง ตาแห้ง และห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ผู้ที่มีภาวะวิตามินเอสูงเกินหรือผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง

อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะผ่านเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย สามารถแจ้งมาได้ที่ อย. โดยตรง ทางสายด่วน อย. 1556 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือ สายด่วน บก.ปคบ. 1135

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook