ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยไซส์เล็กๆ ที่ให้ประโยชน์ไม่เล็กตาม
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/1/8537/tumeric.jpgขมิ้นชัน สมุนไพรไทยไซส์เล็กๆ ที่ให้ประโยชน์ไม่เล็กตาม

    ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยไซส์เล็กๆ ที่ให้ประโยชน์ไม่เล็กตาม

    2017-09-29T16:00:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    เรื่องสุขภาพใครว่าไม่สำคัญ นอกจากที่การออกกำลังกายนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง ดูสุขภาพดีแล้ว เรื่องของอาหารการกินก็สำคัญ ไม่ใช่เพียงเนื้อสัตว์ เนื้อปลา หรือผัก แต่สมุนไพรไทยหลายๆ ชนิดก็สามารถนำมาปรุงอาหารให้รสชาติเหมือนผัก แต่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย อย่าง ขมิ้นชัน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่นิยมเอามาประกอบอาหาร โดยเฉพาะในอาหารใต้ ด้วยสีสันที่เป็นสีเหลืองสดสะดุดตา จึงทำให้อาหารดูมีความน่าทาน แต่ยังคงประโยชน์ไว้ได้อย่างครบถ้วน วันนี้ Sanook! Health จะพาไปทำความรู้จักกับเจ้าขมิ้นชันให้มากขึ้น

    • ขมิ้นชัน จัดอยู่ในประเภทเดียวกับ ขิง

    ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน นั้นจัดว่าเป็นพืชล้มลุกที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ ขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะมีสีเหลืองเข้ม ไปจนถึงสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ถิ่นกำเนิดจะอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเรียกในแบบอื่นๆ อีกมาก อาทิ ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น เป็นต้น ทั้งนี้ การเรียกก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละภาค แต่ละจังหวัด ส่วนใหญ่ขมิ้นชันจะนิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหารเพื่อแต่งสี แต่งกลิ่นอาหารให้มีความน่าทาน อาทิ แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น

     ginger-tumericiStock

    • ภายในสีเหลืองเข้มของ ขมิ้นชัน นั้นเต็มไปด้วยประโยชน์

    ขมิ้นชัน นั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น

    • วิตามินเอ
    • วิตามินบี 1
    • วิตามินบี 2
    • วิตามินบี 3
    • วิตามินซี
    • วิตามินอี
    • ธาตุแคลเซียม
    • ธาตุฟอสฟอรัส
    • ธาตุเหล็ก
    • เกลือแร่ต่างๆ
    • เส้นใย
    • คาร์โบไฮเดรต
    • โปรตีน

    ในขณะเดียวกัน ขมิ้นชัน ก็มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยรักษาอาการและบรรเทาโรคต่างๆ ได้หลากหลายชนิดจากการที่ได้ค้นพบประวัติในการนำมาใช้รักษามากกว่า 5,000 ปี

     

    • บริโภค ขมิ้นชัน นั้นไม่ยาก

    สำหรับการเก็บเกี่ยวขมิ้นชันเพื่อนำมาบริโภคนั้นไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เนื่องจากจะทำให้สารที่ประโยชน์ อย่าง เคอร์คูมิน ที่อยู่ในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าขมิ้นชันที่เกี่ยวมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9 - 12 เดือน และเมื่อเก็บมาแล้วต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป อีกทั้งต้องเก็บไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน

    เมื่อเก็บได้เหง้าขมิ้นชันมาแล้ว หากต้องการนำไปรับประทานเพื่อใช้ในการรักษาโรค หรืออาการต่างๆ ควรล้างให้สะอาดและไม่ต้องปอกเปลือก จากนั้นให้หั่นเป็นแว่นบางๆ แล้วนำไปตากแดดประมาณ 2 วัน จึงนำกลับมาบดให้ละเอียด นำไปผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นเม็ดเล็กๆ เท่ากับปลายนิ้วก้อย จากนั้นจึงนำมารับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 - 3 เม็ด ช่วงหลังอาหารและก่อนนอน

    อีกวิธีหนึ่ง คือ การนำเหง้าขมิ้นชันแก่มาขูดเอาเปลือกออก แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำขมิ้นมารับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง แต่หากจะนำขมิ้นชันมาใช้เป็นยาทาภายนอกเพื่อรักษาอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเอาเหง้าขมิ้นชันมาฝนผสมกับน้ำต้มสุก แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง หรือจะนำเอาผงขมิ้นชันมาโรยก็ใช้ได้เช่นกัน

     tumeric-2iStock

    • บริโภค ขมิ้นชัน อย่างไรให้ได้ผลมากที่สุด

    จากการศึกษาข้อมูลบางอย่างของ ขมิ้นชัน พบว่า หากเรารับประทานขมิ้นชันไปตามเวลาที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเปิด หรือเริ่มทำงาน ก็จะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น เราจึงได้นำข้อมูลส่วนนี้มาบอกเพิ่ม จะได้ลองนำเอาไปใช้กัน

    • 03.00 - 05.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ ปอด การรับประทานขมิ้นชันในช่วงนี้จะเข้าไปช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเกิดมะเร็งปอด ซ่อมเสริมทำให้ปอดแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยที่เกี่ยวกับภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก รวมถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังอีกด้วย
    • 05.00 - 07.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ ลำไส้ใหญ่ การรับประทานขมิ้นชันในช่วงนี้จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาที่เกิดกับลำไส้ใหญ่ ซึ่งหากใครเคยรับประทานยาถ่ายมาเป็นเวลานานแนะนำว่าให้ทานขมิ้นชันในช่วงนี้ เพราะตัวขมิ้นชันจะเข้าไปฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ แต่เน้นว่าต้องรับประทานเป็นประจำจึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวช่วยในการขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติ
    • 07.00 - 09.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ กระเพาะอาหาร การรับประทานขมิ้นชันในช่วงนี้จะช่วยแก้ปัญหาโรคกระเพาะที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รวมถึงยังช่วยลดอาการท้องอืด จุกแน่น ปวดหัวเข่า ขาตึง อีกทั้งยังช่วยบำรุงสมองและป้องกันอาการความจำเสื่อมอีกด้วย
    • 09.00 - 11.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ ม้าม การรับประทานขมิ้นชันในช่วงนี้จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาน้ำเหลืองเสีย การมีแผลที่ปาก อ้วนเกินไป หรือผอมเกินไปซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของม้าม นอกจากนี้ก็ยังเข้าไปช่วยลดอาการของโรคเกาต์ ลดอาการของเบาวานได้
    • 11.00 - 13.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ หัวใจ การรับประทานขมิ้นชันในช่วงนี้จะเข้าไปช่วยผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ขมิ้นชันจะเข้าไปช่วยบำรุงให้หัวใจแข็งแรง หากรับประทานเกินเวลา 11.00 น. ไปแล้ว ขมิ้นชั้นก็จะไปออกฤทธิ์ทำงานที่ตับและส่งมาที่ปอดแทน จากนั้นปอดก็จะส่งไปที่ผิวหนัง แต่โดยมากหากขมิ้นชันที่บริโภคมีปริมาณน้อยเกินไป ระหว่างทางที่ส่งอวัยวะต่างๆ ก็จะดึงไปใช้ทำให้ไปไม่ถึงผิวหนัง จึงต้องมีการทาขมิ้นชันเพิ่มบนผิวหนังอีกทีหนึ่ง
    • 15.00 - 17.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ กระเพาะปัสสาวะ การรับประทานขมิ้นชันในเวลานี้จะเข้าไปช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาตกขาวในสตรีได้ อีกทั้งแนะนำว่าให้ดื่มน้ำกระชายในเวลานี้ด้วย เพราะจะช่วยทำให้หูรูดกระเพาะปัสสาวะของเราแข็งแรงมากยิ่งขึ้น หากเป็นไปได้ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในช่วงเวลานี้

     

    เพิ่มเติม หากเรารับประทานขมิ้นชันเลยจากช่วงเวลาที่บอกไปจนถึงเวลานอน ก็จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และเมื่อตื่นนอนในตอนเช้าก็จะทำให้ไม่อ่อนเพลยได้ง่าย รวมถึงช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น

     

    • ขมิ้นชัน ถึงเป็นสมุนไพร แต่ก็มีผลข้างเคียง

    การที่นำเอาขมิ้นชันมาบริโภคเพื่อรักษาอาการ หรือโรคใดก็ตาม หากรับประทานไปเรื่อยๆ จนหายแล้วก็ควรหยุดทาน ถึงแม้ว่าขมิ้นชันนั้นจะมีประโยชน์มาก แต่หากร่างกายได้รับมากจนเกินความต้องการก็อาจกลายเป็นโทษ ทำให้เกิดการแพ้ได้ เช่น ปวดหัว , ท้องเสีย , คลื่นไส้ , นอนไม่หลับ ฉะนั้น หากรับประทานเข้าไปแล้วมีอาการดังกล่าวแนะนำว่าควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นมารับประทานแทน อีกทั้ง ในแถบภาคใต้ยังมีความเชื่อในเรื่องโทษและขมิ้นชันของขมิ้นชันกันว่า การรับประทานขมิ้นชันที่มากและถี่เกินไป แทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ก็อาจจะกลายเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นเสียเอง

     

    อย่างไรก็ตาม อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรับประทานขมิ้นชันนั้นแทบไม่ได้มีความแตกต่างจากการข้างเคียงทั่วไป อย่าง ท้องเสีย ปวดท้อง หรือนอนไม่หลับ เราควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองให้ชัด เพราะอาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่น หรือภาวะของโรคอื่นที่เป็นอยู่เกิดร่วมด้วยกันเป็นได้ แต่ถ้าการรับประทานยาก่อนหน้านี้ไม่มีปัญหา เพิ่งจะมาแสดงอาการหลายหลังจากที่รับประทานขมิ้นชันเข้าไปแล้ว ก็ให้สงสัยเอาไว้ก่อนว่าน่าจะเป็นผลข้างเขียงของขมิ้น โดยที่ยังสามารถรับประทานซ้ำได้ แล้วค่อยๆ ปรับขนาดยาจาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วให้ดื่มน้ำตามมากๆ อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็อาจกลับมาเป็นปกติ

    ขอขอบคุณ

    ภาพ :iStock