4 สาเหตุหลักที่คนไทยเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” มากขึ้น

4 สาเหตุหลักที่คนไทยเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” มากขึ้น

4 สาเหตุหลักที่คนไทยเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” มากขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนไทยส่วนใหญ่จะกลัวกันแต่มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งตับ และอื่นๆ ที่ใกล้เคียง แต่อันที่จริงแล้ว พบว่าคนไทยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่น้อยไปกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ เลย หนำซ้ำยังพบว่ามีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเพศชาย และเพศหญิงอีกด้วย

หากทราบสาเหตุแล้ว อาจพอเข้าได้ว่า ทำไมถึงพบคนไทยเป็นโรคนี้กันมากขึ้นทุกปีเช่นนี้

 

สาเหตุหลักที่คนไทยเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” มากขึ้น

  1. ทานผักผลไม้น้อยลง

จากรายงานผลการสำรวจสุขภาพประชาชนครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2551-2552) โดยสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ซึ่งสำรวจการบริโภคผักผลไม้ในคนไทย พบว่า ประชากรในกรุงเทพมหานคร และภาคกลาง บริโภคผักผลไม้น้อยที่สุดในประเทศ มีประชาชนเพียงร้อยละ 14.5 เท่านั้นที่บริโภคผักผลไม้เพียงพอ คือ ปริมาณ 400 กรัมต่อวันตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก

ในขณะเดียวกัน สถิติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศก็พบสูงสุดในประชากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร และภาคกลางเช่นกัน

 

  1. ทานเนื้อสัตว์ และไขมันสูง

สัมพันธ์กับข้อแรก พฤติกรรมการบริโภคแบบตะวันตก ที่เน้นอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์มาก ทั้งที่ภูมิอากาศบ้านเราก็เป็นเมืองร้อน ไม่จำเป็นต้องทานอาหารพลังงานสูงเพื่อต่อสู้กับอากาศหนาวเย็นเหมือนตะวันตก จึงทำให้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ได้

 

  1. ออกกำลังกายน้อย

พฤติกรรมนั่งอยู่กับที่ ออกกำลังกายน้อย และมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง หรือขยับตัวน้อย เหล่านี้นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อโรคมะเร็งลำไส้

 

  1. พันธุกรรม

พันธุกรรมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากพบว่ามีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่เนิ่นๆ

 

หากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ รับรองว่าความน่าจะเป็นของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็จะน้อยลงไปมากกว่าเดิมแน่นอน อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ หากพบเร็วก็จะทำให้ผลของการรักษาดีขึ้นกว่าเดิมมากเช่นกัน

อ่านต่อ >> มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันได้ด้วยการ “ตรวจคัดกรอง”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook