กินเค็มเท่าไหน ถึงจะห่างไกลโรคไต?

กินเค็มเท่าไหน ถึงจะห่างไกลโรคไต?

กินเค็มเท่าไหน ถึงจะห่างไกลโรคไต?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“หวานมาก เสี่ยงเบาหวาน เค็มมาก เสี่ยงโรคไต” ประโยคนี้ยังไงก็เป็นความจริงอย่างที่ไม่ต้องสงสัย แต่ที่สงสัยคือ ที่ว่าเค็มมากเนี่ย มากเท่าไรถึงเรียกว่ามาก ลดเค็มไปเท่าไรถึงจะเรียกว่าปลอดภัย Sanook! Health เลยมีข้อมูลของปริมาณของโซเดียม (ที่อยู่ในเครื่องปรุงรสเค็มๆ ทั้งหลาย) ที่เราสามารถทานได้ในแต่ละวัน จากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาฝากกันค่ะ

 

ทำไมโซเดียม (จากเครื่องปรุงรสเค็มๆ) ถึงทำให้เกิดโรคไต?

เพราะรสเค็มที่เราทานเข้าไป จะทำให้ไตต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ให้ระบบอื่นๆ ในร่างกายผิดปกติตามไปด้วย เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น และยังเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ อัมพฤกษ์อัมพาต และหอบหืด เป็นต้น

 

ปริมาณโซเดียมที่เราไม่ควรทานเกินในแต่ละวัน

คนปกติ ไม่ควรทานโซเดียมเกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม

หากเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว ไม่ควรทานเกิน 2,000 มิลลิกรัม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ไม่ควรทานเกิน 1,00-1,500 มิลลิกรัม

ผู้ป่วยโรคไตขั้นวิกฤต ไม่ควรทานเกิน 500 มิลลิกรัม

 

 salts-2iStock

 

ตัวอย่างปริมาณโซเดียม ในอาหารแต่ละชนิด

- บะหมี่น้ำหมูแดง 1 ชาม 1,450 มิลลิกรัม

- ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว 1 จาน 1,352 มิลลิกรัม

- ปลาสลิดเค็ม 1 ตัว 1,288 มิลลิกรัม

- ส้มตำอีสาน 1 จาน 1,006 มิลลิกรัม

- ผัดผักบุ้งไฟแดง 1 จาน 894 มิลลิกรัม

- ข้าวผัดไข่หมู 1 จาน 416 มิลลิกรัม

และปริมาณของโซเดียมจะเพิ่มขึ้นอีก หากคุณปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว ซอสมะเขือเทศ และเครื่องปรุงรสเค็มอื่นๆ เพิ่ม

 

 salts-1iStock

 

นอกจากเลือกทานอาหารรสจืด เช่น อาหารคลีน หรือเลือกร้านที่ไม่ปรุงรสเค็มจัดแล้ว คุณอาจเลือกที่จะทำอาหารทานเอง เลือกเมนูน้ำใสๆ อย่างแกงจืด สุกี้ (น้ำจิ้มน้อย) ผัดผัก (ปรุงรสด้วยน้ำปลาโซเดียมต่ำ) ได้ แต่ข้อควรระวังคือ หากเลือกใช้น้ำปลาโซเดียมต่ำ อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตค่ะ

อ่านต่อ >> เครื่องปรุงโซเดียมต่ำ ดีกับทุกคนจริงหรือ?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook