ผู้สูงอายุกับ 5 โรคยอดฮิต!

ผู้สูงอายุกับ 5 โรคยอดฮิต!

ผู้สูงอายุกับ 5 โรคยอดฮิต!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำไมอะไรๆ ก็ผู้สูงอายุ ก็เพราะเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบในอีกไม่กี่ปี และเชื่อได้ว่าเกือบทุกครอบครัวของคนจะต้องมีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ ข้อมูล หรือวิธีการดูแลเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

และเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาเราได้บอกเล่าถึงเรื่อง “แค่ 9 วิธี คุณก็เป็นผู้สูงอายุที่มีความสุขได้” ในวันนี้จึงนำเรื่องเกี่ยวกับ 5 โรคยอดฮิตของผู้สูงอายุมาฝากกัน เพื่อให้คุณหรือคนใกล้ตัวได้สำรวจว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ? จะได้เตรียมพร้อมตั้งรับ! กลุ่มอาการและโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เรียนรู้สาเหตุเพื่อป้องกันการเกิดอาการและโรค รวมทั้งรู้จักวิธีการดูแลรักษาเพื่อบรรเทาและหลีกเลี่ยงการเจ็บปวด

1. เวียนศีรษะ

เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยมากอาการมักเป็นๆหายๆ บางครั้งอาจจะมีอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งสาเหตุของอาการเวียนศีรษะนั้นเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวกับการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย องค์ประกอบไปด้วย อวัยวะทรงตัวในหูชั้นในการมองเห็น ระบบประสาท ตลอดจนสมองน้อยที่ควบคุมการทรงตัว ระบบกล้ามเนื้อ และข้อต่อ

สิ่งกระตุ้นอื่นๆที่ทำให้สูญเสียการทรงตัวเร็วขึ้น

- โรคที่มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันสูง หรือโรคหัวใจ ที่ทำให้เกิดการตีบของหลอดเลือด เลือดจึงไหลไปเลี้ยงอวัยวะทรงตัวหูชั้นในได้ไม่ดี หรือไปเลี้ยงสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวได้ไม่เพียงพอ

- โรคที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทรับความรู้สึก เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวาย ฯลฯ

- โรคที่มีผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ข้อเสื่อม หรือเคยมีกระดูกหักมาก่อน ฯลฯ

- โรคของหูต่างๆ อาจทำให้ผมทำงานแย่ลง เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

- โรคอื่นๆ เช่น โรคต่อมไทรอยด์

 

ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกเวียนศีรษะไม่หาย

- อันดับแรกต้องหาสาเหตุให้พบก่อนว่าเกิดจากอะไร โดยการไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา

- สำหรับผู้ที่มีอาการเดินเซ เวียนศีรษะ ไม่ควรให้นั่งหรือนอนอยู่เพียงอย่างเดียว แต่ควรได้เดินไปทำกิจวัตรประจำวันด้วย แต่ต้องมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และไม่ควรพยุงดวงตลอดเวลา เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเดินเองได้ต่อไป

 

seniors-2

2. โรคกระดูกพรุน

เป็นโรคที่พบในผู้สูงอายุทุกคน อันมีสาเหตุสำคัญจากการทำงานของฮอร์โมนที่ลดลง

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน

- ไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ

- กรรมพันธุ์

- การใช้ยาสำหรับโรคบางอย่างทำให้เกิดการลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น ยาคอร์ติโซน สำหรับโรคไขข้ออักเสบ ยาเฮปาริน สำหรับโรคหัวใจและความดันโลหิต

- การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำ

- ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ดื่มชา หรือกาแฟ ซึ่งมีผลทำให้กระดูกเสื่อมง่าย

- ฮอร์โมนลดลง เช่น ในหญิงวัยหมดประจำเดือน

- ขาดการออกกำลังกาย

- ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดี มีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้

 

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคกระดูกพรุน

- ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร

- เมื่อมีความเจ็บปวดไม่ว่าสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัดหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย

- ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่นปลากระป๋องปลาเล็กปลาน้อยหรือดื่มนมพร่องมันเนยผักผลไม้เป็นต้นมา

- งดดื่มสุราและงดสูบบุหรี่

- หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเอง เช่น ยาลูกกลอน เพราะมันจะมีสารสเตียรอยด์สะสมอยู่จะทำให้กระดูกพรุนโดยไม่รู้ตัว

 

3. โรคข้อเสื่อม

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่กระดูกอ่อนผิวข้อเป็นหลัก โดยมากเป็นตำแหน่งข้อ คือ มีอาการปวดและมักเป็นหลังจากที่มีการใช้ข้อมากกว่าปกติ อาจมีอาการเจ็บด้านใดด้านหนึ่งของข้อได้ หรืออาจมีอาการบวมแดง แต่เมื่อได้พักอาการปวดก็จะลดลงหรือหายไป แต่อาการจะเป็นๆหายๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานข้อนอก จากนี้ยังมีอาการข้อฝืดเกิดขึ้นจากการหยุดการเคลื่อนไหวข้อเป็นเวลานาน เช่น นั่งท่าเดียว นั่งสมาธิและนั่งพับเพียบฟังเทศน์ เป็นต้น

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคข้อเสื่อม

- อายุมากขึ้น

- พันธุกรรมและโรคทางเมตาโบลิค เช่น โรคเก๊าท์

- เป็นโรคที่ทำให้เกิดข้ออักเสบ เช่น โรคข้อ รูมาตอยด์ หรือข้ออักเสบติดเชื้อ

- การได้รับบาดเจ็บของข้อ อาจมีการเคลื่อนไหวข้อซ้ำๆ หรือมีน้ำหนักที่กดทับลงผิดข้อ ก็มีโอกาสเกิดข้อเสื่อมได้

- อาชีพการงานที่มีการใช้นิ้วมือมาก

- ความอ้วน พบว่า คนอ้วนมีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเพศหญิง ซึ่งมักเป็นที่ข้อรับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า เป็นต้น

- กล้ามเนื้อต้นขาเหนือเข่าอ่อนแรงหรือลีบ จะมีโอกาสเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้น

 

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคข้อเสื่อม

- หมั่นออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

- การนั่งส้วมไม่ควรนั่งยอง ควรปรับเปลี่ยนเป็นชักโครก หรือหาม้าสามขา มาคร่อมบนส้วมซึม

- ไม่ควรนั่งกับพื้น หรือทำกิจกรรมที่ต้องก้มเป็นเวลานาน

- หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดหรือที่สูงชัน

- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

- หากมีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วน ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

seniors-3

4. โรคสมองเสื่อม

เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งแก้ไขได้ เช่น เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด หรือ แก้ไขไม่ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์

 

ผู้ที่อาจเป็นโรคสมองเสื่อมจะมีอาการ

มักลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นใหม่ๆ มาไม่นาน ขณะที่ความจำเรื่องเก่าในอดีตยังดีอยู่ ทำสิ่งที่เคยทำเป็นประจำไม่ได้ มักถามซ้ำๆ ในเรื่องที่เพิ่งบอกไป สับสนเรื่องวัน เวลาสถานที่ พฤติกรรม อารมณ์ และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงจากเดิม

จริงอยู่ที่ว่าอาการหลงลืมมากเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุและอาจไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อม แต่หากรู้สึกว่ามีอาการที่น่าสงสัยเหล่านี้ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาทันท่วงที

 

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคสมองเสื่อม

- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

- ระวังการใช้ยาเอง ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้ง และควรนำยาที่รับประทานเป็นประจำไปให้แพทย์ดูเพื่อกันการสั่งยาซ้ำซ้อน

- หมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และเจาะเลือดตรวจหาประวัติและไขมันในเลือดสูง

- ออกกำลังกายเป็นประจำ

- หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดและชะลอภาวะสมองเสื่อม เช่น ดนตรีบำบัด เต้นรำ เล่นเกมฝึกสมอง กลิ่นบำบัด และการออกกำลังกายที่ฝึกความสำพันธ์ของร่างกายและการสั่งงานของสมองซีกซ้ายและขวา

ผู้ดูแลต้องมีความอดทนและมีความยืดหยุ่นกับการดูแลผู้ป่วยโรคนี้เป็นอย่างมาก เพราะผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้จะมีขีดจำกัดหลายด้าน เช่น หิวอาหารไม่เป็นเวลา เดินช้า พูดช้า ตัดสินใจช้าและต้องให้กำลังใจผู้สูงอายุ อย่าดุด่าว่ากล่าวให้ท่านเกิดความท้อแท้และหมดกำลังใจ

 

เทคนิคพัฒนาความจำ

- ตั้งสมาธิกับสิ่งที่ทำและพยายามนึกสร้างภาพในใจเมื่อต้องจดจำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

- เลือกจำเพาะข้อมูลที่สำคัญแล้วที่จำเป็นเท่านั้น

- พกสมุดบันทึกติดตัวตลอดเวลา

 

5. โรคซึมเศร้า

 เป็นอาการเจ็บป่วยทางจิตใจที่สำคัญซึ่งไม่อาจมองข้ามได้ เพราะโรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุหนึ่งของการฆ่าตัวตาย

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า

- การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง

- โรคทางกายบางอย่างการได้รับยาหลายขนานที่ทำให้เกิดอาการเศร้า

- การสูญเสียสิ่งที่มีค่าในชีวิต เช่น คู่ชีวิต หรือการงานโดยการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเป็นหัวหน้าครอบครัว แต่ต้องมาเป็นผู้ตาม เป็นต้น

 

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า

- หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว

- พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในวัยนี้

- ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรก รวมทั้งทำกิจกรรมเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น

- หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook