โรค RSV ติดเชื้อจากการหอมแก้มได้จริงหรือ ?

โรค RSV ติดเชื้อจากการหอมแก้มได้จริงหรือ ?

โรค RSV ติดเชื้อจากการหอมแก้มได้จริงหรือ ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใครที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ของเจ้าตัวเล็ก คงจะเคยได้ยินชื่อโรคนี้กันมาบ้าง "โรค RSV" โดยทราบกันมาอย่างคร่าวๆ ว่าเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส หรือที่เราเคยได้ยินว่าเด็กเล็กติดเชื้อจากการ "หอมแก้ม" จากผู้ใหญ่นั่นเอง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ติดต่อกันได้อย่างที่ได้ยินกันหรือไม่ และมีวิธีป้องกันอย่างไร Sanook! Health หาคำตอบมาให้แล้วค่ะ

โรค RSV คืออะไร?

"RSV" หรือชื่อเต็มว่า "Respiratory Syncytial Virus" คือ เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเด็กเล็ก โดยเชื้อไวรัสอาจทำให้เป็นปอดอักเสบ ทำให้มีเสมหะมาก และทำให้เยื่อบุหลอดลม และทางเดินหายใจต่างๆ บวม จึงทำให้เด็กมีอาการเหนื่อยหอบ และหายใจลำบาก ทำให้มีการสร้างสารคัดหลั่ง อย่าง เสมหะ ออกมาในปริมาณมาก อีกทั้งยังทำให้เกิดการหดตัวของหลอดลมอันเนื่องมาจากการบมของเยื่อบุหลอดลมและทางเดินหายใจ ส่งเสียทำให้เด็กที่เชื้อไวรัส RSV นี้หายใจเร็วและลำบากมากขึ้น

RSV เป็นไวรัสที่ติดต่อกันได้หรือไม่ ?

"RSV" เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น น้ำมูก , น้ำลาย และเสมหะจากการไอ หรือจาม โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสจะได้รับเชื้อจากฝอยละอองไอ หรือจามของผู้ที่ติดเชื้อ โดยอัตราการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส RSV นี้จะอยู่ที่ผู้ติดเชื้อ 1 คน ไปสู่ 1 - 2 คนเท่านั้น การส่งต่อของเชื้อจะไม่ได้มีระยะไกลเหมือนกับการติดต่อของโรคหัด หรือคอตีบที่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจามเพียง 1 ครั้ง ก็อาจแพร่กระจายเชื้อต่อไปได้ประมาณ 7 - 12 คน

ใครที่เสี่ยงเป็นโรค RSV ?

เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุที่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

อาการเริ่มต้นของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV

  • มีอาการหอบ เหนื่อย หายใจได้ลำบากกว่าปกติ
  • มีอาการหายใจครืดคราด มีเสียง
  • เมื่อไอจะมีเสียงดังและมีเสมหะ
  • เกิดเสมหะในลำคอมาก
  • ในเด็กที่มีโรคประจำตัว อย่าง โรคหัวใจ , โรคปอด หรือโรคหอบหืดอยู่แล้ว อาจทำให้เกิดอาการที่หนักจนถึงขั้นหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

แนวทางการรักษาโรค RSV

สำหรับการรักษาในเด็กเล็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV ที่มีอาการอ่อนแอมากๆ อาทิ เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่ป่วยเป็นโรคปอด โรคหัวใจ หรือป่วยเป็นหอบหืดอยู่ก่อนแล้ว เมื่อติดเชื้อรัสชนิดนี้ก็อาจทำให้อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว โดยอาจหยุดหายใจเป็นช่วงๆ หรือการหายใจล้มเหลวจนต้องรีบส่งตัวเข้าไปยัง ICU และจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย ส่วนระยะแสดงอาการของโรคจะอยู่ที่ประมาณ 5 - 7 วัน บางรายที่ติดเชื้อในช่วง 1 - 2 วันแรกจะไม่รุนแรงมาก แต่ในช่วง 3 - 5 วันหลัง อาการของโรคจะรุนแรงมากที่สุด หลังจากนั้นอาการจะทุเลาลงตามลำดับ 

ปัจจุบันในทางการแพทย์ยังไม่ตัวยาที่ช่วยรักษาโรคนี้แบบเฉพาะทาง ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาไปตามอาการที่เป็น ไปจนถึงการดูแลในเรื่องการหายใจและเสมหะ โดยแพทย์จะให้ยาแก้ไอะลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม หรือยาลดไข้ไปตามแต่ละอาการของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาในเรื่องของการหายใจ มีอาการเหนื่อย หรือเริ่มมีออกซิเจนในเลือดอยู่ในระดับต่ำ การรักษาของแพทย์ก็จะอยู่ในรูปแบบของการประคับประคอง อาทิ การให้ยาพ่นขยายหลอดลม การให้สารน้ำทางหลอดเลือด การดูดเสมหะ ไปจนถึงการให้ออกซิเจน ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีการหนักมาก อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและใส่ท่อ อีกทั้งต้องอยู่ในห้อง ICU เพื่อดูอาการจนกว่าจะดีขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนจากไวรัสชนิดอื่นๆ อาทิ เชื้อมัยโคพลาสมา เชื้อไข้หวัดใหญ่ หรือเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับการพิจารณาให้การรักษาของแพทย์ให้ครอบคลุมการการติดเชื้อตามความเหมาะสม

หายจากโรค RSV แล้วกลับมาเป็นอีกได้หรือไม่ ?

เชื้อไวรัส RSV สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่ม A และ B ที่มีความสัมพันธ์กัน แต่เป็นคนละตัวกัน ภูมิต้านที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสในตอนแรกจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อในรอบใหม่ เชื้อตัวใหม่ได้ แต่หากได้รับเชื้อซ้ำกัน อาการก็จะไม่รุนแรงมากเท่ากับครั้งแรก

ป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV ได้อย่างไร

  1. ล้างมือ ทำความสะอาดมือของเรา ก่อนเข้าใกล้ สัมผัส หรืออุ้มเจ้าตัวเล็ก ไม่ว่าจะเป็นลูกของเรา หรือลูกของคนอื่น เพราะส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใหญ่มักไม่ติดเชื้อโรคนี้กัน หากแต่อาจจะบังเอิญสัมผัสเชื้อโรคจากที่ใดที่หนึ่ง แล้วไม่ได้ล้างมือ แล้วมาดูแลเด็กเล็กต่อ ก็อาจทำให้เด็กติดเชื้อจากเรา ทั้งๆ ที่เราแข็งแรงสุขภาพดีก็ได้
  2. หากลูกไม่สบาย ไม่ควรปล่อยให้ไปแพร่เชื้อโรคให้กับเด็กคนอื่นๆ ควรอยู่รักษาตัวให้หาย ให้แข็งแรง ก่อนไปโรงเรียน หรือไปทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ
  3. ควรสอนลูก ไม่ให้คนแปลกหน้าเข้ามาใกล้ หรือมากอด มาหอมแก้ม นอกจากเป็นการป้องกันเชื้อโรคแล้ว ยังป้องกันมิจฉาชีพที่หวังดีได้ด้วย

 

ปัจจุบันยังพบเด็กเล็กที่ติดเชื้อ โรค RSV หลายราย วิธีรักษาคล้ายโรคหวัด คือไม่มียารักษาโดยตรง แต่จะให้ยารักษาตามอาการที่ปรากฏ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่ถ้าจะให้ดีก็ป้องกันไม่ให้เจ้าตัสน้อยติดเชื้อจะดีกว่าค่ะ

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรค RSV

 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก bumrungrad.com, เฟซบุ๊ค Yong Poovorawan
ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook