6 โรคอันตรายที่มากับ "น้ำท่วม" กันไว้ดีกว่าแก้

6 โรคอันตรายที่มากับ "น้ำท่วม" กันไว้ดีกว่าแก้

6 โรคอันตรายที่มากับ "น้ำท่วม" กันไว้ดีกว่าแก้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใครที่เผชิญกับเหตุการณ์น้ำท่วมบ่อยๆ จะเข้าใจว่าทุกข์แรกที่น้องน้ำจะพามาคือความเสียหาย แต่รู้หรือเปล่าว่าทุกข์ที่สองที่ตามมาติดๆ คือปัญหาสุขภาพนี่แหละ และในตอนนี้ที่กำลังเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ในหลายๆ จังหวัด สวดมนต์อย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะนอกจากปัญหาปากท้องแล้ว ปัญหาสุขภาพก็น่าเป็นห่วงเหมือนกัน วันนี้เราเลยมาชวนทำความรู้จัก 6 โรคอันตรายที่มากับน้ำไว้ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับเรา

6 โรคอันตรายที่มากับน้ำท่วม กันไว้ดีกว่าแก้

  1. โรคฉี่หนู

โรคยอดฮิตสำหรับฤดูฝนและเหตุการณ์น้ำท่วมที่มีน้ำขัง สาเหตุมาจากฉี่ของสัตว์ โดยเฉพาะหนูปะปนมากับน้ำและเข้าร่างกายเราผ่านแผลหรือรอยถลอกของเรา ทำให้ปวดหัวและเป็นไข้หนักได้เลย

วิธีป้องกัน: ไม่ลงไปย่ำในแหล่งน้ำ ถ้าจำเป็นต้องล้างเท้าทำความสะอาดทุกครั้งหลังขึ้นมา

  1. ท้องร่วง

รู้กันดีว่าปัญหาน้ำท่วมทำให้การเดินทางลำบากมากขึ้น ยิ่งปัญหาเกิดนานขึ้น ปัญหาเรื่องอาหารการกินก็จะตามมา ซึ่งรวมถึงความสะอาดและคุณภาพอาหารเช่นกัน โรคนี้จึงมักพบบ่อยในเหตุการณ์นี้ เนื่องจากการอุปโภคบริโภคน้ำที่ไม่สะอาด

วิธีป้องกัน: ดื่มน้ำสะอาดในขวดที่บรรจุมิดชิด ถ้าไม่มีจริงๆ ก็ต้องต้มฆ่าเชื้อก่อนทุกครั้ง

  1. น้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต เป็นอันตรายอีกอย่างที่จะมาพร้อมกับความชื้นของน้ำที่ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี เท้าที่ไม่สะอาดของเราจะเป็นที่อยู่สุดเพอร์เฟกต์สำหรับเชื้อราและเกิดการหมักหมมในที่สุด

วิธีป้องกัน: หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ หากจำเป็นต้องเช็ดให้แห้งรวมถึงรักษาความสะอาดอยู่ตลอดเวลา

  1. ไข้เลือดออก

เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม น้ำที่ขังอยู่รอบๆ บริเวณที่พักเราจะเป็นแหล่งฟักชั้นดีของลูกน้ำยุงลาย ทำให้มียุงเกิดขึ้นจำนวนมากซึ่งจะรวมถึงโอกาสการเกิดโรคไข้เลือดออกเช่นเดียวกัน

วิธีป้องกัน: แก้ต้นเหตุคงยาก เพราะฉะนั้นต้องทายากันยุงทุกครั้ง อย่าพยายามให้ยุงกัดได้ตลอดเวลา รวมถึงเวลานอนก็ควรกางมุ้งเพื่อป้องกันภัยร้ายที่เข้ามาฝากโรคโดยไม่รู้ตัว

  1. โรคเครียด

เมื่อเกิดความเสียหายใครจะไม่เครียดบ้าง แต่ละคนอาจจะเครียดมากเครียดน้อยไม่เท่ากันแล้วแต่ปัจจัย รวมถึงความท้อแท้ เหนื่อยหน่ายกับการต่อสู้วิกฤตที่เกิดขึ้นจนอารมณ์ของเราค่อยๆ ก่อตัวเป็นโรคทางจิตใจได้เหมือนกัน

วิธีป้องกัน: ต้องทำใจ ยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้มีสติ เรียงลำดับความสำคัญที่จะแก้ไขในอนาคต รวมถึงคนรอบข้างก็ต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพราะหากจะผ่านไปให้ได้ก็ต้องช่วยเหลือให้กลับมามีความหวังด้วยกันเสมอ

  1. โควิด-19

ทุกคนต่างรู้ดีถึงความน่ากลัวโรคติดต่อนี้ ด้วยภาวะน้ำท่วมทำให้การเว้นระยะห่างลดลง เกิดการติดต่อง่ายกว่าเก่า และในสถานการณ์ที่ไม่แน่ใจว่าใครมีเชื้อดังกล่าว รวมถึงหน่วยงานยังไม่มีการคัดกรองที่ชัดเจน ก็ต้องเว้นระยะห่างเท่าที่ทำได้และเฝ้าระวังต่อไป

วิธีป้องกัน: หากต้องอยู่กับที่เราไม่มั่นใจควรเว้นระยะห่างให้ได้มากที่สุดอย่างน้อยก็ตามระยะเวลา 14 วันเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และอย่าลืมสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเวลาพบปะกับคนอื่น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook