ผู้ป่วย "ไมเกรน" ต้องหยุดยาก่อนฉีด "วัคซีนโควิด-19" หรือไม่?

ผู้ป่วย "ไมเกรน" ต้องหยุดยาก่อนฉีด "วัคซีนโควิด-19" หรือไม่?

ผู้ป่วย "ไมเกรน" ต้องหยุดยาก่อนฉีด "วัคซีนโควิด-19" หรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากหลายคนเริ่มทยอยเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 กันบ้างแล้ว แต่อาจยังไม่แน่ใจว่ายาแก้ปวดไมเกรนจำเป็นต้องงดกินก่อนไปฉีดวัคซีนหรือไม่ รวมถึงข้อสงสัยอื่นๆ ที่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 กับการใช้ยารักษาไมเกรน Sanook Health มีคำตอบจาก รศ. ดร. นพ.รนินทร์ อัศววิเชียรจินดา และศูนย์ประสาทศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาฝากกัน

  1. ไม่จำเป็นต้องหยุดยาป้องกันปวดศีรษะไมเกรนเพราะอาจทำให้ปวดศีรษะเป็นถี่ขึ้น ได้แก่
  • ยากลุ่มยากันชัก เช่น Topiramate, Valproic Acid
  • ยากลุ่มต้านแคลเซียม เช่น Flunarizine
  • ยากลุ่มต้านเบต้า เช่น Propranolol
  • ยากลุ่มยาต้านเศร้า รวมทั้งยากลุ่ม SรRI เช่น Sertraline, Fluoxetine
  • ยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ

(ยากลุ่ม SSRI จะยับยั้งปัจจัยส่งเสริมการอักเสบ อาจจะไปลดการสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ยังไม่มีงานวิจัยถึงผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันโดยตรง)

  1. ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้รับประทานเมื่อมีอาการแล้วเท่านั้นโดยยาแก้ปวดดังกล่าว ได้แก่
  • ยา Acetaminophen
  • ยากลุ่ม NSAIDS

ยา Acetaminophen และยากลุ่ม NSAIDs เป็นยาลดการอักเสบ อาจมีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน มีงานวิจัยของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า โดยให้ยา Acetaminophen ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-14 เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ปรากฏว่าไม่มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างมีนัยสำคัญ

  1. ควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของErgotamine และยาในกลุ่มทริปแทนก่อนและหลังการฉีดวัคซีนเนื่องจากมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว
  2. ข้อแนะนำผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรนก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน
  1. อาการผิดปกติทางระบบประสาทชั่วคราวเช่น อาการชา หรืออาการอ่อนแรงเล็กน้อยที่พบได้หลังฉีดวัคซีน เป็นการตอบสนองของร่างกายต่อวัคซีน หรืออาจเกี่ยวข้องกับโรคปวดศีรษะไมเกรนชนิดมีอาการเตือนแต่เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ทางโรงพยาบาลกำลังศึกษาถึงสาเหตุที่แท้จริง

คำแนะนำจากแพทย์

  • หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรง ซึ่งแตกต่างจากอาการปวดไมเกรน หรือมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทอื่น เช่น อาการอ่อนแรงครึ่งซีก ตามัว ชัก ควรรีบพบแพทย์
  • หากมีความกังวลใจในการใช้ยารักษาไมเกรน ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล เพื่อวางแผนในการใช้ยาควบคู่กับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

(วัคซีนโควิด-1 9 มีหลายชนิด แตกต่างกันในการพัฒนาและการผลิต บางชนิดพัฒนาขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook