เตือนภัย “ถุงกระดาษ” ใส่อาหาร อาจปนเปื้อนสารตะกั่ว-สารก่อมะเร็ง

เตือนภัย “ถุงกระดาษ” ใส่อาหาร อาจปนเปื้อนสารตะกั่ว-สารก่อมะเร็ง

เตือนภัย “ถุงกระดาษ” ใส่อาหาร อาจปนเปื้อนสารตะกั่ว-สารก่อมะเร็ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาหารทอดร้อนๆ ใส่ถุงกระดาษรีไซเคิลที่มักมาจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร มักเป็นสิ่งที่เราพบเห็นกันมานานหลายปี และในปัจจุบันกันยังเห็นอยู่ในบางร้าน บางพื้นที่ แม้ว่าจะมีการเตือนและรณรงค์ไม่ให้ผู้ซื้อผู้ขายใช้กระดาษเหล่านี้ในการพับเป็นถุงใส่อาหาร แต่บางแห่งยังคงใช้เพราะต้นทุนต่ำ แม้ว่าจะส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภคก็ตาม

อันตรายจากถุงกระดาษ

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ระบุว่า เมื่อมีอาหารร้อนๆ ใส่อยู่ในถุงกระดาษที่มีลายปรินท์ตัวอักษรหรือลวดลายต่างๆ ขนมประเภททอดน้ำมันจะมีน้ำมันเป็นตัวช่วยละลายสารตะกั่วจากหมึกพิมพ์ให้มาปนเปื้อนในอาหาร เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารตะกั่วเข้าไปสะสมในร่างกายมากๆ อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของไต และกล้ามเนื้อหยุดทำงานจนเป็นอัมพาตได้ 

นอกจากนี้ จากข้อมูลเพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว ระบุว่า อาหารที่มีความร้อน รวมถึงน้ำมันทอดก็สามารถที่จะละลายสารพิษในหมึกพิมพ์ออกมาเกาะติดตัวเองได้ด้วย ไม่ว่าจะแถมสีหมึกพิมพ์ออกมาเป็นลายตัวหนังสือ หรือมาเป็นรอยใสๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ซึ่งสารเหล่านี้ก็เป็นสารก่อมะเร็งด้วย

กระดาษเปล่าสีขาว ใช้ใส่อาหารได้?

ทั้งนี้ อาจจะมีบางคนเปลี่ยนไปใช้กระดาษขาวไม่มีลวดลาย เพราะคิดว่าอันตรายอยู่ที่หมึกพิมพ์ แต่อันที่จริงแล้วกระดาษขาวเปล่าๆ อย่างกระดาษ A4 ในออฟฟิศที่ยังไม่ได้พิมพ์ ก็ไม่ได้ปลอดภัยต่อการนำมาใช้ห่ออาหารเช่นกัน เนื่องจากกระดาษเหล่านี้มีการเคลือบผงสีขาว (white pigments) และสารเรืองแสง (OBAs, Optical brightening agents) ที่สามารถเคลื่อนตัวเข้าสู่อาหาร และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะกระดาษตูดซาละเปาที่มีสีม่วงอมครามเบาๆที่นึ่งจนสารเหล่านี้ผนึกเกาะเข้าสู่แป้งได้

กระดาษห่ออาหาร ต้องเป็นกระดาษ food grade เท่านั้น

กระดาษที่จะนำมาใช้เป็นภาชนะ/หีบห่ออาหาร ควรเป็นกระดาษที่เป็นเกรดอาหาร (food grade) โดยเฉพาะ และไม่ควรใช้กระดาษรียูสใดๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องสัมผัสโดยตรง (direct contact) กับอาหาร และถึงไม่สัมผัสโดยตรงก็ไม่ควรนำมาห่อหุ้มอาหารที่มีความร้อน ความชื้น และน้ำมันออกมาด้วย เนื่องจากสารระเหยบางตัวก็สามารถเคลื่อนตัวผ่านทางไอได้เช่นกัน รวมไปถึงอาจจะปนเปื้อนอาหารมาจากมือหยิบ (จะมีถุงมือกันไว้แล้ว ก็ยังไม่ปลอดภัยอยู่ดี เพราะอย่าลืมว่าถุงมือเอาไว้กันมือเลอะและไม่ให้สัมผัสอาหารโดยตรง แต่ก็เป็นสื่ออย่างดีในการนำพาหมึกพิมพ์และสารอันตรายจากภายนอกถุงเข้าสู่อาหารได้ด้วย)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook