3 โรคของผมร่วงบางก่อนวัย ที่พบบ่อยที่สุด

3 โรคของผมร่วงบางก่อนวัย ที่พบบ่อยที่สุด

3 โรคของผมร่วงบางก่อนวัย ที่พบบ่อยที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่มีใครอยากผมบางหรือหัวล้าน แต่ก็มีหลายคนที่ประสบปัญหา “ผมร่วง” โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป (หมอโบนัส) หัวหน้าศูนย์โรคเส้นผมและหนังศีรษะ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และแพทย์ประจำคลินิก Absolute Hair Clinic จะมาให้คำตอบเกี่ยวกับสาเหตุของผมร่วงที่พบได้บ่อยมากที่สุดให้ทราบกัน

doctor-hair-2รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป (หมอโบนัส) หัวหน้าศูนย์โรคเส้นผมและหนังศีรษะ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และแพทย์ประจำคลินิก Absolute Hair Clinic

โรคของผมร่วงผมบางก่อนวัย ที่พบบ่อยสุด 3 อันดับแรก คือ

  • โรคผมบางจากพันธุกรรม  (androgenetic alopecia)

พบบ่อยทั้งในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในผู้ชายผมจะเริ่มจากแนวผมด้านหน้าเถิกร่น หรือผมบางบริเวณกระหม่อมด้านหลัง ผู้ชายผมจะเริ่มบางเมื่อเข้าสู่อายุ 30-35 ปี และบางลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น ในผู้หญิงจะเริ่มบางช้ากว่า คือมากกว่า 35 ปีขึ้นไป และจะเริ่มบางชัดในวัยเริ่มหมดประจำเดือนผู้หญิงผมจะร่วงจากบริเวณแสกกลางของศีรษะ คนไข้ส่วนใหญ่จะมีประวัติคนครอบครัวมีภาวะผมบางร่วมด้วย สาเหตุหลักของผมบางจากพันธุกรรม คือ พันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดเป็นยีนเด่น ฮอร์โมนเพศชาย และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่นหนังศีรษะอักเสบ ความเครียด แสงแดด ภาวะทุพโภชนาการ ขาดสารอาหาร หรือวิตามิน เป็นต้น

  • โรคผมร่วงชนิดทีโลเจน เอฟฟลูเวียม (telogen effluvium) 

คือภาวะผมร่วงที่มีเส้นผมระยะ telogen หลุดร่วงมากกว่าปกติอย่างฉับพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วงมากผิดปกติ มากกว่า 100 เส้นต่อวัน หรืออาจสูงถึง 1000 เส้น ลักษณะร่วงทั่วศีรษะ แต่จะเห็นเด่นชัดบริเวณขมับ ในรายที่ผมร่วงไม่มากอาจไม่ทันสังเกต ผมร่วงชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเกิดตามหลังภาวะเจ็บป่วย ไม่สบาย หลังมีไข้สูง เช่น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ ภาวะช็อก ได้รับการผ่าตัดใหญ่ หลังคลอดบุตร ผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างฉับพลัน โรคเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคความผิดปกติของไทรอยด์ หรือฮอร์โมน ภาวะขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน ธาตุเหล็ก หรือโปรตีน มีความเครียดจัด หรือผิดหวังอย่างรุนแรง รวมไปถึง ตามหลังการได้รับยาบางชนิดเป็นต้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการผมร่วงตามหลังสาเหตุเหล่านี้ประมาณ 2-3 เดือน และจะเป็นอยู่นาน 3-6 เดือน ก็จะหายได้เองอย่างสมบูรณ์

  • โรคผมร่วงเป็นหย่อม (alopecia areata)

พบได้ทุกส่วนของร่างกายที่มีผมหรือขน อาจเกิดผมร่วงหย่อมเดียวหรือหลายๆหย่อมรวมกัน หรือผมร่วงเป็นทั้งศีรษะ เรียกว่า alopecia totalis  เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ไปทำลายเส้นผมตัวเอง ผมร่วงชนิดนี้ควรรีบมาพบแพทย์

ผมร่วงมากแค่ไหนถึงจะเรียกว่าผิดปกติต้องปรึกษาแพทย์

3 อาการผิดปกติของผมร่วงที่ต้องปรึกษาแพทย์

  1. ผมร่วงมากกว่าวันละ 70-100 เส้นในคนที่สระผมเป็นประจำเกือบทุกวัน หรืออาจจะร่วงได้มากกว่าวันละ 200 เส้นในคนที่สระผมห่าง 3-4 วันที
  2. ผมหลุดร่วงระหว่างวัน ผมร่วงตอนสระผมหรือเป่าผมในปริมาณไม่มาก จัดว่าเป็นผมร่วงปกติ แต่ผมหลุดร่วงระหว่างวัน ระหว่างทำกิจวัตรประจำวันมากๆ ถือว่าผิดปกติ เช่น บนหมอนหลังตื่นนอนตอนเช้า ทานข้าว ทำครัว นั่งทำงาน เป็นต้น
  3. ผมร่วงเป็นหย่อม ผมร่วงไปจนเปลี่ยนเป็นหย่อมขนาดเล็ก เท่าเหรียญสิบ

ทำอย่างไร ไม่ให้ผมร่วง?

หยุดการทำร้ายเส้นผมด้วยสารเคมี น้ำร้อน การหวีผมขณะผมเปียก นอกจากนี้ยังสามารถรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงเส้นผม เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินดี วิตามินบี 1, 5, 7 (ไบโอติน)เป็นต้น

หากมีปัญหาผมบางขาดร่วงผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และรีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook