อันตรายจาก "เห็บกัด" แผลบวมแดง มีไข้ หรืออาจเป็นอัมพาตได้

อันตรายจาก "เห็บกัด" แผลบวมแดง มีไข้ หรืออาจเป็นอัมพาตได้

อันตรายจาก "เห็บกัด" แผลบวมแดง มีไข้ หรืออาจเป็นอัมพาตได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เตือนเห็บกัดคนเป็นอันตราย ส่วนใหญ่เห็บอาศัยอยู่กับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขหรือแมว ซึ่งใกล้ชิดกับคน คนจึงมีโอกาสถูกเห็บกัด และเห็บยังเป็นพาหะนำโรคติดเชื้ออีกหลายชนิดด้วย พร้อมแนะวิธีป้องกันและปฏิบัติตนให้ถูกวิธี

อาการเมื่อถูกเห็บกัด

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เห็บมักอาศัยอยู่บริเวณต้นหญ้าสูงๆ หรือเกาะอยู่กับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขหรือแมว ผู้ที่ถูกเห็บกัดมักไม่มีอาการเจ็บ เนื่องจากในน้ำลายของเห็บประกอบด้วยสารที่ทำให้เกิดอาการชาเฉพาะที่ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าถูกกัด ผิวหนังบริเวณที่ถูกกัดพบเป็นตุ่มนูนบวมแดง ในบางรายที่เกิดอาการแพ้อาจพบว่ามีไข้ หรือ ผื่นคันชนิดลมพิษ

วิธีรักษาเมื่อถูกเห็บกัด

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาทำได้โดยคีบเอาเห็บออก โดยใช้แหนบคีบที่ส่วนหัวของเห็บแล้วค่อยดึงขึ้นตรงๆอย่างนุ่มนวล แต่ต้องระวังอย่าคีบบริเวณลำตัวหรือท้องของเห็บ และไม่บิดคีมขณะที่กำลังคีบเพราะจะทำให้ส่วนปากของเห็บยังคงค้างอยู่ในผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่แบบเรื้อรังตามมาได้ หลังจากเอาตัวเห็บออกไปได้แล้ว สามารถรักษาอาการผิวหนังบวมแดงได้ด้วยยาทาลดการอักเสบ ในบางรายที่บวมแดงมากแพทย์อาจพิจารณาใช้การฉีดยาใต้ผิวหนังเพื่อลดอาการ

ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปแล้วอาการที่เกิดจากเห็บกัดมักเป็นเพียงอาการเฉพาะที่ แต่มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหลังถูกเห็บบางชนิดกัด คือ การเกิดอัมพาตจากการถูกเห็บกัด เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว จากนั้นในระยะเวลาไม่นานจะเกิดเป็นอัมพาต ซึ่งภาวะนี้อาจนำไปสู่ภาวะระบบหายใจล้มเหลวที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาการเป็นอัมพาตจากการถูกเห็บกัดนี้ มักเกิดภายในระยะเวลา 4-6 วันหลังโดนกัด อย่างไรก็ดีภาวะนี้จะดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อคีบเอาเห็บออกจากผิวหนังของผู้ป่วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook