วิธีเลือกกิน "ปลาส้ม ปลาร้า" ให้สะอาด ปลอด "พยาธิใบไม้ตับ"

วิธีเลือกกิน "ปลาส้ม ปลาร้า" ให้สะอาด ปลอด "พยาธิใบไม้ตับ"

วิธีเลือกกิน "ปลาส้ม ปลาร้า" ให้สะอาด ปลอด "พยาธิใบไม้ตับ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนเลือกกินปลาส้ม ปลาร้า ที่สะอาดถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ช่วยลดโรคพยาธิใบไม้ตับ ส่วนผู้ประกอบการขอให้คำนึงถึงความสะอาดปลอดภัย เลือกวัตถุดิบหรือปลาที่มีคุณภาพ

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามวิถีชีวิตแบบพื้นถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่นิยมบริโภคปลาร้า ปลาส้ม และปลาจ่อมแบบดิบๆ โดยไม่ผ่านความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงให้นานเพียงพอที่ทำให้อาหารสุกอย่างทั่วถึง ยิ่งนำปลาน้ำจืดประเภทปลาเกล็ดมาหมักดองเป็นปลาร้าหรือปลาส้มที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จะยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ที่หลบซ่อนอยู่ใต้เกล็ดปลา ทำให้ผู้บริโภคปลาร้า ปลาส้ม หรือปลาจ่อมสุกๆ ดิบๆ ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ที่ฝังตัวอยู่ในท่อน้ำดีได้ การป้องกันที่ดีจึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินปลาน้ำจืดที่สุกอย่างทั่วถึง ด้วยความร้อน เป็นการกำจัดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงการป้องกัน รักษาสุขภาพและการจัดการอาหารพื้นบ้านให้ถูกสุขลักษณะตามหลักสุขาภิบาลอาหาร


วิธีเลือกกิน "ปลาส้ม ปลาร้า" ให้สะอาด ปลอด "พยาธิใบไม้ตับ"

  1. ในกรณีที่ซื้อแบบบรรจุขวดควรดูเลขสารบบอาหาร (เลข อย.) หากซื้อแบบไม่บรรจุขวด ควรดูว่ามีสิ่งเจือปน และกลิ่นผิดแปลกจากที่เคยกินหรือไม่ โดยเลือกซื้อจากสถานที่จำหน่ายที่น่าเชื่อถือและคุ้นเคย

  2. ก่อนบริโภคทุกครั้งควรนำไปต้มใหม่หรือปรุงด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที เพื่อลดความเสี่ยงพยาธิใบไม้ตับ


สำหรับผู้ประกอบการ ควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

  1. ความสะอาดปลอดภัย เลือกวัตถุดิบหรือปลาที่มีคุณภาพ และมีระยะเวลาในการหมักที่เหมาะสม หากเป็นปลาส้มให้หมักนานมากกว่า 3 วัน ส่วนปลาร้าให้หมักนานมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป

  2. กระบวนการผลิตจะต้องมีเครื่องมือและเครื่องใช้ที่สะอาดมีมาตรฐาน และมาตรการป้องกันการปนเปื้อน

  3. น้ำที่ใช้ในการผลิตจะต้องมีคุณภาพน้ำดื่มตามมาตรฐานของกรมอนามัย

  4. สถานที่เก็บวัตถุดิบต้องสะอาดเป็นสัดส่วน มีการป้องกันการปนเปื้อน

  5. ผู้ปฏิบัติงานต้องมีสุขอนามัยดี


นอกจากนี้ต้องมีการจัดการด้านสุขาภิบาลของสถานประกอบการไม่ให้เกิดปัญหาผลกระทบกับชุมชนในด้านกลิ่น น้ำเสียจากเศษปลา และมีระบบการกำจัดขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาลด้วย เพื่อป้องกันตัวอ่อนพยาธิลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook