"ปวดหลัง" สัญญาณเตือนความเสื่อมของกระดูกสันหลัง

"ปวดหลัง" สัญญาณเตือนความเสื่อมของกระดูกสันหลัง

"ปวดหลัง" สัญญาณเตือนความเสื่อมของกระดูกสันหลัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปวดหลัง สัญญาณเตือนความเสื่อมของกระดูกสันหลัง รักษาได้ไม่ผ่าตัด


อาการปวดหลังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคน ทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น ในปัจจุบันพบมากขึ้นในคนวัยทำงาน ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดคอ ปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ มาจากการที่กระดูกสันหลังอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานานๆ เช่น การนั่งทำงาน หรือ อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่จัดวางไม่เหมาะสมกับสัดส่วน สรีระของผู้ใช้งาน หรือบางรายอาจมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้อง เช่น มีการยกของหนัก หรือบิดคอ บิดหลัง แบบกระทันหัน ซึ่งหากปวดมากอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน


ศ.นพ.เกียรติคุณ เจริญ โชติกวณิชย์ ผู้อำนวยการอาวุโส แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ และอดีตประธานสมาคมโรคกระดูกและข้อของประเทศ ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค (President Asia Pacific Orthopedics Association) กล่าวว่าการรักษาขึ้นอยู่กับอาการ ระยะเวลาที่เป็น และลักษณะความเสียหายของโครงสร้างกระดูก ซึ่งแต่ละคนจะเหมาะกับวิธีรักษาที่แตกต่างกันไป


1. การรักษาแบบประคับประคอง เช่น การทำกายภาพบำบัด การรับประทานยา เพื่อบรรเทาอาการอักเสบหรือปวด เป็นต้น

2. การรักษาโดยการผ่าตัด ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาโดยวิธีอื่นได้ หรือกรณีที่จำเป็นต้องแก้ไขโครงสร้างกระดูก

3. การรักษาแบบหัตถการโดยไม่ต้องผ่าตัด(Spine Intervention) การรักษาโรคปวดหลังโดยไม่ต้องผ่าตัด ในปัจจุบัน แพทย์นิยมใช้ในการรักษาที่มีภาวะกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเสื่อมหรือทรุดตัว ซึ่งมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้


การรักษาโรคปวดหลังโดยไม่ต้องผ่าตัด (Spine Intervention)

ในปัจจุบันแพทย์นิยมใช้ในการรักษาที่มีภาวะกระดูกสันหลัง

1. การฉีดยาเฉพาะที่ (Selective Nerve Root Block) สามารถทำได้ทั้งกระดูกคอ และกระดูกหลัง เช่น ฉีดยาเข้าไปในโพรงรากประสาท หรือฉีดเข้าไปในช่องของอิพิดูรัล( Epidural Steroid Injection) ซึ่งจะช่วยระงับความปวดเฉพาะที่ให้กับผู้ป่วย

2. การใช้คลื่นเสียง (Nucleoplasty) ซ่อมหมอนรองกระดูก ซึ่งเป็นการปล่อยพลังงานอย่างอ่อนไปทำให้ของเหลวลักษณะคล้ายเจล ในกระดูกสันหลังหดตัวลง ทำให้ลดการกดทับเส้นประสาทได้ อาการปวดก็จะลดลง ไม่ต้องวางยาสลบและไม่ต้องนอนรพ.

3. การฉีดสารซีเมนต์เหลว ซึ่งทำหน้าที่แทนกระดูก เพื่อรักษาภาวะกระดูกทรุดตัว(Vertebroplasty) จากกระดูกพรุน ซึ่งเนื้อกระดูกของคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน จะมีลักษณะโปร่ง บางเป็นโพรง และมีช่องว่างอยู่ ซึ่งคนไข้จะเจ็บเวลาเคลื่อนไหว แพทย์จะทำการฉีดสารซีเมนต์ เข้าไปในปล้องกระดูกสันหลังเพื่อเติมช่องทีโปร่งพรุนของกระดูกให้หนาแน่นอย่างเดิม ซึ่งวิธีการทำจะใช้เอ็กซเรย์ชนิดพิเศษ (C – Arm ) ที่ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นภาพกระดูกและการเคลื่อนของสารซีเมนต์ ในขณะฉีดเข้าไป ทางหน้าจอตลอดเวลา เมื่อฉีดเข้าไปซีเมนต์จะทำหน้าที่แทนกระดูก แข็งตัวภายใน 15 นาที ผู้ป่วยก็จะหายปวดในทันทีและมีความปลอดภัยสูง

4. การใส่บอลลูนขยายช่องกระดูกสันหลังที่หักยุบ (Balloon Kyphoplasty) เพื่อลดการโก่งงอของกระดูกสันหลัง แล้วฉีดสารซีเมนต์ตามเข้าไปแทนที่บอลลูน และให้ซีเมนต์ทำหน้าที่แทนกระดูก หลังก็จะตรงขึ้น ท่านที่มีอาการปวด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook