"วัยทำงาน" ป่วยโรค "ปวดหลัง" มากที่สุด

"วัยทำงาน" ป่วยโรค "ปวดหลัง" มากที่สุด

"วัยทำงาน" ป่วยโรค "ปวดหลัง" มากที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ ได้พบว่าปัจจุบันวัยแรงงานเป็นโรคปวดหลังมากสุด เนื่องจากวิธีการปฏิบัติงานรวมทั้งสถานประกอบการที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของลูกจ้างเป็นส่วนใหญ่


สาเหตุของอาการปวดหลังของวัยทำงาน

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากข้อมูลของคลินิกโรคจากการทำงาน ที่เปิดให้บริการรักษาและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจากการทำงานโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี พบว่ามีผู้เข้ามารับการรักษาส่วนใหญ่ป่วยด้วยในโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดคอ โดยโรคปวดหลังจากการทำงานมี 2 สาเหตุ คือ

  1. จากตัวพนักงานเอง เช่น อายุที่มากมีความเสื่อมของร่างกายทำให้ปวดหลังได้ง่ายกว่าคนหนุ่มสาว โรคประจำตัว เช่น โรคกระดูกสันหลัง หรือน้ำหนักตัวที่มากจะมีโอกาสปวดหลังมากกว่า โดยผู้ชายมีโอกาสปวดหลังได้มากกว่าผู้หญิงจากลักษณะการทำงาน นอกจากนี้ การสูบบุหรี่มีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงที่หลังไม่เพียงพออาจส่งผลให้ปวดหลังได้

  2. จากสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน คือ งานที่ต้องออกแรงมาก ทำให้กระทบต่อกล้ามเนื้อหรือหมอนรองกระดูก ท่าทางเวลายกอาจจะไม่ถูกต้อง เช่น ยกของที่สูงกว่าระดับศีรษะหรือต้องก้มหลังยก อาจจะต้องมีการเอี้ยวไปเอี้ยวมา ส่งผลต่อกล้ามเนื้อและเอ็นทำให้ปวดหลัง รวมทั้งอาจเป็นด้วยสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น การยกของในพื้นที่ที่ไม่เรียบ พื้นที่คับแคบ


ปวดหลัง อาการเริ่มต้นของโรคอันตรายอื่นๆ

ผู้ที่ปวดหลังจากการทำงานร้อยละ 90 มีอาการปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นจะเป็นอาการปวดหลังที่รุนแรง เช่น หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นต้น ซึ่งการรักษานั้นหากอาการไม่รุนแรงมาก การได้ลาพักปฏิบัติงานหรือการกินยา แก้ปวด อาจจะหายเป็นปกติในเวลาที่ไม่นาน

ส่วนรายที่มีอาการรุนแรงมาก อย่างเส้นประสาทอ่อนแรงอาจต้องมีการผ่าตัด วิธีป้องกัน นายจ้างควรจัดสภาพการทำงานให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งมีการแนะนำท่าทางที่ถูกต้องในการยกของ นอกจากนี้อาจต้องใช้เครื่องจักรมาทำงานแทนในงานที่ต้องมีการยกหรือทำงานนั้นตลอดเวลา


ปรับร่างกายระหว่างทำงาน เพื่อลดอาการปวดหลัง

เพื่อลดอาการปวดหลังระหว่างการทำงาน ควรเริ่มจากการเลือกนั่งบนเก้าอี้ และโต๊ะที่เหมาะสมกับการทำงาน ปรับระดับให้วางมือ และคอให้ดี เปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมง และหากมีอาการปวดหลังมาก และเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์

>> 10 วิธีดูแลกระดูกสันหลัง ลดอาการปวดหลังของชาวออฟฟิศ

>> 5 เทคนิคลดอาการ “ปวดหลัง” แบบด่วนๆ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook